โควิดในไทยสายพันธุ์โอมิครอนกับบทสรุป 4 ข้อเป็นแบบไหน เช็คเลย

21 ม.ค. 2565 | 02:11 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ม.ค. 2565 | 03:58 น.

โควิดในไทยสายพันธุ์โอมิครอนกับบทสรุป 4 ข้อเป็นแบบไหน อ่านครบจบที่นี่ หมอเฉลิมชัยชี้เบาใจเรื่องยอดผู้ป่วยหนัก แต่ห้ามประมาทยอดผู้ติดเชื้อ

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

 

 


โควิด-19 (Covid-19) ของไทยขณะนี้ เบาใจยอดผู้ป่วยหนัก ห้ามประมาทยอดผู้ติดเชื้อ

 

 

สถานการณ์โควิดระลอกที่สี่ หรือระลอกใหม่จากไวรัสโอมิครอน (Omicron) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 1 มกราคม 2565 นั้น

 

 

จะพบตัวเลขสถิติหลายตัวที่น่าสนใจ อันพอจะบอกแนวโน้มหรือทิศทางของสถานการณ์ในอนาคต หลังจากผ่าน 20 วันไปแล้วได้ดังนี้

 

 

ยอดผู้เสียชีวิต 
คงที่ในระดับ 9-19 รายต่อวัน

 

 

ยอดผู้ป่วยหนัก
คงที่ในระดับ 480-583 เตียง

ยอดผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
คงที่ในระดับ 105-158 เตียง

 

 

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทั่วโลก ที่พบว่าผู้ติดโควิดจากไวรัสโอมิครอน มักจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าผู้ที่ติดจากไวรัสเดลตา

 

 

ส่วนยอดผู้ติดเชื้อ( ตรวจ PCR )
ขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วยอัตราเร่งที่ชะลอตัวลง 
จาก 3011 ราย เป็น 8129 ราย

 

 

โควิดในไทย เบาใจเรื่องยอดผู้ป่วยหนัก แต่ห้ามประมาทยอดผู้ติดเชื้อ

 

 

ยอดผู้ติดเชื้อเข้าข่าย ( ตรวจ ATK ) 
ขยับเพิ่มเช่นกัน
จาก 434 ราย เป็น 2170 ราย

 

 

ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อรวม (PCR+ATK)
ขยับเพิ่มขึ้น
จาก 3445 ราย เป็น 10,299 ราย

 

 

ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระบบสาธารณสุข ขยับเพิ่มขึ้น
จาก 32,929 ราย เป็น 82,734 ราย

โดยมีไวรัสโอมิครอนเป็นสายพันธุ์หลักในกรุงเทพ 97% และเป็นสายพันธุ์หลักค่าเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 80%

 

 

กล่าวโดยสรุปสำหรับโควิดระลอกที่ 4 จากโอมิครอน มีลักษณะดังนี้

 

 

  • ไวรัสโอมิครอนเป็นสายพันธุ์หลักแทนสายพันธุ์เดลต้าแล้ว
  • ยอดผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง ประกอบด้วย ผู้ป่วยหนัก ผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิต อยู่ในระดับต่ำกว่าผู้ป่วยโควิดจากเดลต้า
  • ยอดผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ด้วยอัตราเร่งที่ช้ากว่าของต่างประเทศ
  • ยอดผู้รักษาตัวอยู่ในระบบสาธารณสุข มีแนวโน้มที่จะทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

 

 

 

ทำให้การกำหนดหรือปรับปรุงมาตรการต่างๆในการรับมือสถานการณ์โควิด จะต้องใช้ความพยายามและระมัดระวังเป็นอย่างมาก

 

 

เพราะจะต้องประคับประคองมิติทางเศรษฐกิจและมิติทางสังคมให้เดินหน้าต่อไปให้ได้

 

 

แต่จะต้องระมัดระวัง ไม่ให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อระบบมิติสาธารณสุข

 

 

ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบกลับมาที่มิติเศรษฐกิจและสังคมด้วย

 

 

“เบาใจเรื่องยอดผู้ป่วยหนัก แต่ห้ามประมาทยอดผู้ติดเชื้อ"