กรมชลฯเดินหน้าพัฒนาอ่างเก็บย้ำวังโตนดมุ่งแก้ปัญหาภัยแล้งเมืองจันท์

01 ม.ค. 2565 | 16:06 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ม.ค. 2565 | 23:15 น.

กรมชลประทานเดินหน้าพัฒนาอ่างเก็บย้ำวังโตนดมุ่งแก้ปัญหาภัยแล้งเมืองจันทบุรี หลังเจอปัญหาของพื้นที่ มีความราดชันสูง ทำให้น้ำไหลผ่านอย่างรุนแรง 

ความกังวลของคนเมืองจันท์ ต่อปัญหาภัยแล้ง นับวันจะมีทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำอาชีพเกษตร เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติน้ำแล้งที่เกิดขึ้นในทุกๆ ปี แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำ มาใช้ในการเพาะปลูกได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งที่ฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน แต่กลับไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ เพราะด้วยปัญหาของพื้นที่ มีความราดชันสูง ทำให้น้ำไหลผ่านอย่างรุนแรง 
จนบางครั้งกลายทำให้จ.จันทบุรี ต้องเจอปัญหาอุทุกภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ ลุ่มน้ำคลองวังโตนด ที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชเกษตรที่สำคัญ
ทางออกของปัญหานี้ หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชน มีความเห็นตรงกันในการที่จะเสนอให้มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยสำรวจพื้นที่เหมาะสมตลอด 30 ปีที่แล้ว โดยกรมชลประทาน เป็นหน่วยงานเข้ามาดำเนินการศึกษาให้ จนสามารถกำหนดพื้นที่เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ ในพื้นที่คลองวังโตนด ที่มีมิติในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างครบถ้วน ทั้งในด้านเป็นแหล่งน้ำต้นทุน แก้ปัญหาภัยแล้ง แก้ปัญหาอุทุกภัย รวมถึงการฟื้นฟูผืนป่า เพื่อสร้างความสมบูรณ์ในเชิงนิเวศ 

รวมถึงสามารถลดผลกระทบการบุกรุกของช้างป่าในพื้นที่เกษตร ที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง และยังเป็นการส่งเสริมอาชีพใหม่ๆให้เกิดขึ้นเพื่อเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง ให้กับเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น
ในมุมมอง และทัศนะของผู้นำชุมชน โดยนายสมชาย ฐานทอง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) เห็นประโยชน์ของโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะ จ.จันทบุรี เป็นเมืองที่ทำการเกษตร 80-90% ในเขตตั้งแต่ อ.แก่งหางแมว, อ.นายายอาม และ เขาคิชฌกูฏ จนถึงท่าใหม่ ซึ่งมั่นใจว่า จะได้รับผลประโยชน์การพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำทั้งระบบ 4 อ่าง ที่ทำให้กับชุมชนของเราและชุมชนด้านล่าง สามารถเก็บกักน้ำในฤดูฝนที่มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
ขณะที่ นายคูณ คำดี ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโป่งเกตุ หมู่ 1 ต.ขุนช่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ย้ำเรื่องของปัญหาช้างลงมาของพื้นที่เกษตรของชาวบ้าน 

ที่ผ่านมาทำให้เกิดความเสียหาย การมีโครงการอ่างเก็บน้ำที่จะเป็นแหล่งน้ำที่ดีสุด และมีขนาดใหญ่ เพื่อเป็นพี่พึ่งพาในการอุปโภคและบริโภค และสัตว์ป่า อย่างช้างที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ก็เชื่อว่า จะช่วยลดการเข้าพื้นที่เกษตรของประชาชนได้