ศบค.จ่อถกยกระดับ Test&Go คุมเข้มเปิดประเทศ สกัดโอมิครอน

20 ธ.ค. 2564 | 16:22 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ธ.ค. 2564 | 03:42 น.
993

พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ เผย ที่ประชุมศบค.ชุดเล็ก จ่อ ถกยกระดับ  Test & Go คุมเข้มเปิดประเทศ สกัดโอมิครอน เพื่อเสนอที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่

วันที่ 20 ธ.ค.64  พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยรองโฆษก ศบค. แถลงตอนหนึ่งถึงยกระดับ มาตรการ Test & Go ยกระดับการเปิดประเทศ หรือ การบริหารจัดการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศว่า  ต้องมีการปรับอย่างแน่นอน โดยศบค.ชุดเล็ก จะพิจารณา เพื่อเสนอพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผู้อำนวยการศบค.พิจารณาในที่ประชุมศบค.ว่าจะมีการยกระดับอย่างไรบ้าง 

พญ.สุมนี กล่าวด้วยว่า อีกทั้งเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ยังมีกรณีที่ตรวจไม่พบผลเป็นบวกก่อนเดินทาง เมื่อมาถึงไทยผลก็ยังเป็นลบ แต่เมื่อออกจากระบบวันที่ 3- 4 ถึงมีอาการ และตรวจพบผลเป็นบวก ดังนั้น การเข้าประเทศแบบ Test & Go ต้องมีการจัดการให้ตรวจจับได้มากขึ้น อาจต้องปรับระบบไปเป็นการติดตามการตรวจแบบ RT-PCR หรือต้องกักตัวเป็นระยะเวลาเพิ่มขึ้น ส่วนจะใช้เวลาเท่าไหร่ คงต้องติดตามมาตรการต่อไป   

พญ.สุมนี  แถลงอีกว่า สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ว่า องค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยข้อมูลการแพร่ระบาดเชื้อโอมิครอนในปัจจุบันกระจายไปแล้ว 89 ประเทศ และมีการระบาดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในระยะเวลา 3 วัน ขณะที่สถานการณ์ประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐอเมริกามีการระบาดแล้ว 36 รัฐ  ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการประกาศล็อกดาวน์ช่วงเทศกาลคริสมาสต์ และปีใหม่ ประเทศฝรั่งเศส งดรับนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักร 

พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้ช่วยรองโฆษก ศบค.

สำหรับตัวเลขการเดินทางเข้าราชอาณาจักร หากเปรียบเทียบการเดินทางเข้าในเดือนพฤศจิกายน มีทั้งสิ้น 133,061 คน ขณะที่เดือนธันวาคม ตั้งแต่วันที่ 1-19 ธ.ค. มีทั้งสิ้น 160,445 คน และภาพรวมผู้ติดเชื้อในส่วนนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยในเดือนพ.ย.มีผูเติดเชื้อ 0.13% เดือนธ.ค.มีผู้ติดเชื้อไปแล้ว  0.22%  โดยผู้เดินทางเข้าประเทศวันที่ 19 ธ.ค.มีทั้งสิ้น 13,664 คน พบผู้ติดเชื้อ 42 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเทสต์ แอนด์ โก 24 ราย ระบบกักตัว 11 ราย และระบบแซนด์ บ็อกซ์ 7 ราย 

ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อทั้ง 42 ราย มาจากสหราชอาณาจักรมากที่สุด 9 ราย รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา 6 ราย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย ซึ่งทั้ง 42 ราย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ การตรวจเชื้อแบบ RT-PCR มีความจำเป็น และการกักตัวเพื่อสังเกตมีความสำคัญอย่างมาก

ศบค.จ่อถกยกระดับ Test&Go คุมเข้มเปิดประเทศ สกัดโอมิครอน

พญ.สุมณี กล่าวว่า ขณะที่การพบเชื้อโอมิครอนในประเทศไทย ที่มีรายงานเพิ่มเติมวันนี้ เป็นคลัสเตอร์ที่รายงานจากสาธารณะสุขจังหวีดนทบุรี เชื่อมโยงไปถึงจังหวัดปทุมธานีพระนครศรีอยุธยา นครราขสีมา กทม. โดยรายเอียดเป็นผู้เดินทางไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ทั้งสิ้น 31 ราย ช่วงต้นเดือน ธ.ค. โดยเดินทางกลับถึงไทย วันที่ 15 ธ.ค. ตรวจพบเชื้อวันที่มาถึง 14 ราย มีเชื้อโอมิครอน 6 ราย เชื้อเดลตา 8 ราย ตรวจพบเชื้อเพิ่มเติมอีก 2 รายในวันที่ 19 ธ.ค.

 

และตรวจพบเชื้อเพิ่มอีก 2 ราย ในวันที่ 20 ธ.ค.โดย 4 รายหลังอยู่ระหว่างรอการยืนยันสายพันธุ์  ทำให่กลุ่มนี้พบผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 18 ราย นอกจากนี้ยังพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ที่เป็นคู่สามีภรรยาจากประเทศไนจีเรีย ที่เดินทางเข้าไทยวันที่ 26 พ.ย. ก่อนการประกาศมาตรการห้าม8 ประเทศกลุ่มเสี่ยงจากทวิปแอฟริกาเข้าประเทศ โดยทั้งคู่เขาสู่ระบบแซน ด์ บ็อกซ์ โดยวันที่ 4-7 ธ.ค. สามีชาวโคลัมเบีย มีอาการไข้ เจ็บคอ จึงตรวจหาเชื้อแบบ ATK ผลเป็นลบ แต่ยังคงมีอาการจึงตรวจแบบRT-PCR ในวันที่ 7 ธ.ค. ผลเป็นบวก จึงเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 

ศบค.จ่อถกยกระดับ Test&Go คุมเข้มเปิดประเทศ สกัดโอมิครอน

จากนั้นวันที่ 10 ธ.ค.ภรรยาชาวไทย ได้ไปตรวจแบบ RT-PCR ผลเป็นบวกเช่นกัน ซึ่งวันเดียวกันนั้น การตรวจหาสายพันธ์ุของสามียืนยันเป็นโอมิครอน และมีการสอบสวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 1 ราย ผลตรวจ RT-PCR เป็นลบ และสัมผัสเสี่ยงต่ำ 83 ราย ทั้งหมดไม่มีอาการใดๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามอาการทั้งหมด โดยหญิงรายดังกล่าวถือเป็นการติดเชื้อภายในประเทศรายแรก 

ขณะเดียวกัน ยังมีคลัสเตอร์ จ.นราธิวาส 3 ราย เป็นผู้เดินทางกลับมาจากประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่ประเทศตะวันออกกลาง เข้าประเทศทางสนามบินภูเก็ต ในระบบเทสต์ แอนด์ โก โดยเป็นเป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 1 ราย สายพันธุ์เดลตา 3 ราย และมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 4 ราย สัมผัสเสี่ยงต่ำ 126 ราย ทั้งหมดอยู่ระหว่างกักตัวตรวจอาการ นอกจากนี้ ยังมีการรายงาน จากสำนักงานควบคุมโรค เขต 11 เป็นผู้เดินทางเข้าประเทศที่สนามบินภูเก็ต เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 4 ราย และสนามบินสมุย วันที่ 15-16 ธ.ค. 3  ราย ที่มีทั้งชาวต่างชาติ และคนไทย โดยทั้ง 7 รายตรวจแบบRT-PCR พบเป็นบวกตั้งแต่วันแรกที่มาถึง และยืนยันเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ทั้ง 7 คน

ศบค.จ่อถกยกระดับ Test&Go คุมเข้มเปิดประเทศ สกัดโอมิครอน

พญ.สุมณี กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิดในประเทศไทย ระหว่างเดือนเม.ย.ถึงวันที่ 19 ธ.ค. พบว่ามากที่สุดยังเป็นสายพันธุ์เดลตา68.67% สายพันธุ์อัลฟา 29.79% เบตา 1.41% และโอมิครอน 0.13% หากดูเฉพาะสัปดาหที่ผ่านมาวันที่ 11-19 ธ.ค. จะพบว่าสายพันธุ์เดลตา 96.61 % สายพันธุ์โอมิครอน 3.26% และจากการสุ่มตรวจ1,595 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบเป็นเดลตา 96.61% โอมิครอน 3.26% 

และหากแยกย่อยในพื้นที่กทม.จะพบว่าเป็นเดลตา 81.1% โอมิครอน 18.3% และในส่วนภูมิภาค เป็นเดลตา 98.6% โอมิครอน1.3% โดยกาาคาดการณ์การระบาด กรณีคนในประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันเลย ผู็ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา1 คน  แพร่เชื้อได้ 6.5 คน สายพันธุ์โอมิครอน 1 คน แพร่เชื้อได้ 8.5 คน แต่จากข้อมูลผู้ติดเชื้อโอมิครอน ผู้ป่วยหนักและนอนโรงพยาบาลไม่สูงกว่าเดลตา

โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อมูลว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะเพิ่มภูมิคุ้มกันเชื้อโอมิครอนได้มากขึ้น สรุปแล้วสถานการณ์สายพันธุ์โอมิครอนในไทย คล้ายกับสถานการณ์โลกที่พบผู้ติดเชื้อมากขึ้น ผู้ติดเชื้อทุกรายในประเทศไทย ยังผูกโยงกับผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ โดย 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อที่ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ เป็นสายพันธุ์โอมิครอน