สปสช.หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ออกมาเปิดเผยหลักเกณฑ์และขั้นตอนการยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยากรณีแพ้วัคซีนโควิด -19 ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ โดยรายละเอียดข้อมูล-กระบวนการต่างๆทั้งหมดมีดังต่อไปนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง
- ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย หรือ ทายาท
- กรณีไม่มีทายาท ผู้อุปการะที่ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล หรือ ดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการสามารถยื่นคำร้องแทนได้
สถานที่ยื่นคำร้อง
- โรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด -19
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่ (13 เขตทั่วประเทศ)
เอกสารประกอบคำร้อง
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบมรณบัตรของผู้รับบริการกรณีที่เสียชีวิต
- ความเห็นแพทย์ผู้ให้การรักษาและการหยุดพักงาน
ระยะเวลาในการยื่นคำร้อง
- ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย
กระบวนการพิจารณา
- ยื่นคำร้อง
- คณะอนุกรรมการฯภายใต้สปสช.พิจารณาคำร้อง
- ลงมติว่าเห็นชอบที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือหรือไม่ จำนวนเท่าไร
- ในกรณีที่จ่าย สปสช.จะโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 5 วัน หลังจากที่ครณะอนุกรรมการฯมีมติ
- กรณีที่ไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน
อัตราการจ่ายช่วยเหลือเบื้องต้น
- เสียชีวิต /ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 4 แสนบาท
- เสียอวัยวะ / พิการ ไม่เกิน 2.4 แสนบาท
- บาดเจ็บ / บาดเจ็บต่อเนื่่อง ไม่เกิน 1 แสนบาท
แบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือ
- ผู้ได้รับผลกระทบสามารถดาวน์โหลดแแบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโควิด (คลิกที่นี่)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- สายด่วน สปสช. 1330 หรือสอบถามข้อมูลทางไลน์ สปสช. โดยเพิ่มเพื่อนไลน์ สปสช. เพียงพิมพ์ @nhso
อนึ่ง สปสช.ได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 (ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ย. 2564) โดยจ่ายเงินทั้งหมด 674,946,600 บาท มีผู้ยื่นคำร้องเข้ามาทั้งหมดจำนวน 9,809 รายและยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาอีก 1,628 ราย โดยคณะอนุกรรมการระดับเขตได้พิจารณาจ่ายเงินชดเชยแล้ว 6,637 ราย และพิจารณาไม่จ่าย 1,544 ราย เนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์ ในจำนวนนี้อุทธรณ์ 552 ราย
สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินเยียวยาเบื้องต้นจะแบ่งเป็น 3 ระดับตามความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์นั้นๆ โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้
- ระดับ 1 มีอาการป่วยต้องรักษาต่อเนื่อง จ่ายไม่เกิน 1 แสนบาท มีผู้รับเงินเยียวยาแล้ว 5,082 ราย
- ระดับ 2 เกิดความเสียหายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือพิการจนมีผลต่อการดำรงชีวิต จ่ายไม่เกิน 2.4 แสนบาท มีผู้รับเงินเยียวยาแล้ว 137 ราย
- ระดับ 3 กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท มีญาติผู้เสียชีวิตรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว 1,418 ราย