ศูนย์เฟคนิวส์ถลุงงบปีละเกือบ100 ล้าน คนไทยได้อะไร  

18 พ.ย. 2564 | 15:28 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ย. 2564 | 22:49 น.
2.6 k

ชำแหละโครงสร้าง งบประมาณศูนย์ต้านข่าวปลอม หรือ ศูนย์เฟคนิวส์ ตั้งแต่เปิดถึงปี 2564 ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 188 ล้านบาท พบ 8 ปีตั้งเป้าใช้งบเฉียด 700 ล้านบาท  เพื่อตรวจสอบข่าวปลอม จัดการประชุม สัมมนา สร้างความเข้าใจประชาชน

กรณีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center:AFNC) นำข่าวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจระหว่างวันที่ 14-17 พ.ย.2564 พาดหัวข่าว ทุบหัวลำโพงขึ้นตึกสูง*ขุมทองเชื่อมไชน่าทาวน์-ผนึก 4 ศูนย์กลางธุรกิจ ขึ้นเว็บไซต์พร้อมบอกว่าเป็นข่าวปลอมไม่ต้องแชร์ แต่หลังจากฐานเศรษฐกิจยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวเป็นข่าวจริง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ลบเรื่องดังกล่าวออก

รื้อหัวลำโพงจริง ไม่ใช่เฟคนิวส์ "ฐาน" ไล่ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ทบทวนตัวเอง

ประเด็นนี้สร้างความกังขาให้กับสังคมอย่างมาก พร้อมกับคำถามตามมาเกี่ยวกับการทำหน้าที่และความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส

หน้าเว็บไซต์ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

หน้าที่หลักของศูนย์คือทำหน้าที่สกัดข่าวที่เผยแพร่บิดเบือน โดยมีนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 

 

โครงสร้างบริหารจัดการของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมจะมีระบบ AI ทำหน้าที่จับข้อมูลข่าวจริง และ ข่าวปลอม และ เมื่อระบบ AI จับข่าวแล้วทาง ศปท.ทำหน้าที่ส่งข่าวไปสอบถามยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ทางปลายทาง ก็จะตอบกลับมาข่าวไหนจริง ข่าวไหนบิดเบือน

เมื่อตรวจสอบความคุ้มค่าการใช้จ่ายงบประมาณ จากเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 พบว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้จัดทำรายละเอียดโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti Fake News Center:AFNC) ดังนี้

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นศูนย์รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ เนื้อหา ข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอินเทอร์เน็ตและเดรือข่ายสังคม อันอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อสังคม เศรษฐกิจและความมั่นคงของประชาชน ตลอดจนมีเครื่องมือในการจัดการแก้ไขและเผยแพร่เนื้อหาที่ถูกต้องต่อสาธารณะ
  • เพื่อรับแจ้งข่าวและเบาะแสของข้อมูลเท็จที่เผยแพร่อยู่ในสังคม ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและมีผลกระทบต่อดวามมั่นคงของประเทศ
  • เพื่อนำเสนอ หรือแจ้งเตือนแก่หน่วยงาน และประชาชนถึงข้อมูลอันเป็นเท็จ
  • เพื่อตำเนินงานการบริหารงานข่าวในสังคมดิจิทัล ตลอดจนเครื่องมือในการจัดการ ตั้งแต่ต้นตอข่าวสาร เส้นทางเผยแพร่ ตลอดจนเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  • เพื่อมีบุคลากรพร้อมเครื่องมือในการปฏิบัติงานสนับสนุนด้านการวิเคราะห์เนื้อหาบริหารการข่าว และรับแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่างๆ ภายใต้โดรงการ และดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงประชาชนและสื่อมวลชน
  • เพื่อให้มีช่องทางการสื่อสารโตยตรงกับประชาชน เพื่อแจ้งเตือนเรื่องที่มีผลกระทบต่อสังคมเศรษฐกิจหรือความมั่นดงในวงกว้าง เช่น ภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉินต่างๆ

เมื่อตรวจสอบงบประมาณที่จะนำไปใช้ในการดำเนินโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ ในระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี (ปี 2563 ถึง ปี 2570) โครงการนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 668.621.100 ล้านบาท

ประมาณที่ใช้ในโครงการศูนย์ต่่อต้านข่าวปลอมระยะเวลา 8 ปี

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อดูในรายละเอียดในเอกสารงบประมาณพบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ตั้งแต่เริ่มต้นจัดตั้งศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอมขึ้นมาในปี 2563 จนถึงปีงบประมาณ 2564 ใช้งบประมาณไปแล้ว 188.6367 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีการตรวจสอบข่าวปลอมและประสานงานหน่วยงานต่างๆ และเผยแพร่ข่าวสารที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเวลาไม่เกินกว่า 2 ชั่วโมง ทั้งสิ้น 1,385 ข่าว จัดการประชุม สัมมนา และถ่ายทอดความรู้ความเขาใจให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการต่างๆ ประชาชน ไม่น้อยกว่า  1,000 คน/ปี

 

ขณะที่ปีงบประมาณ 2565-ปีงบประมาณ 2567 ตั้งงบประมาณไว้ปีละ 79.9974 ล้านบาท รวม 3 ปีใช้งบ 239.9922 ล้านบาท มีตัวชี้วัดที่สำคัญ ดังนี้

  • การตรวจสอบข่าวปลอมและประสานงานหน่วยงานต่างๆ และเผยแพร่ข่าวสารที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเวลาไม่เกินกว่า 2 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่า 5,000 ข่าว/ปี  
  • จัดการประชุม สัมมนา และถ่ายทอดความรู้ความเขาใจให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการต่างๆ ประชาชน ไม่น้อยกว่า  1,000 คน/ปี
  • สาธารณชนได้รับความรู้ความเขาใจ้ตลอดจนรบทราบเนื้อหาที่ถูกตองผ่านนช่องทางอินเทอรเน็ตและเครทางสังคม ไม่น้อยกว่า 12 ล้านวิว/ปี

 

ปีงบประมาณ 2568-จบโครงการปี 2570 ตั้งงบประมาณไว้รวมทั้งสิ้น 239.9922  ล้านบาท มีตัวชี้วัดที่สำคัญ ดังนี้

  • การตรวจสอบข่าวปลอมและประสานงานหน่วยงานต่างๆ และเผยแพร่ข่าวสารที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเวลาไม่เกินกว่า 2 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่า 15,000 ข่าว หรือเฉลี่ยปีละ 500 ข่าว 
  • จัดการประชุม สัมมนา และถ่ายทอดความรู้ความเขาใจให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการต่างๆ ประชาชน ไม่น้อยกว่า 3,000 คน หรือเฉลี่ยปีละ  1,000 คน
  • สาธารณชนได้รับความรู้ความเขาใจ้ตลอดจนรบทราบเนื้อหาที่ถูกตองผ่านนช่องทางอินเทอรเน็ตและเครือข่ายทางสังคม ไม่น้อยกว่า 36ล้านวิว หรือเฉลี่ยปีละ 12 ล้านวิว

เอกสารงบประมาณศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

จากข้อมูลทั้งหมดที่ฐานเศรษฐกิจนำมาเสนอคงเป็นคำตอบของคำถามความคุ้มค่าการใช้งบประมาณที่มาจากภาษาของประชาชน ของศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม