ศบค.เผยข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ

20 ต.ค. 2564 | 15:00 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ต.ค. 2564 | 01:04 น.
801

ศบค.เผยความคืบหน้าการประชุม วางแผน แนวทางการเปิดประเทศ ข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ 3 ปัจจัย ย้ำเปิดประเทศ ประชาชนต้องปลอดภัย ระบบสาธารณสุขรองรับได้ เมื่อต้องใช้แผนเผชิญเหตุ เผยยังจะมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง

20 ต.ค.64 พญ.สุมนี วัชรสินธิ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. ณ โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ช่วงหนึ่งถึงการประชุมวางแผน แนวทางทางการเปิดประเทศจากหน่วยงานต่างๆเมื่อวันจันทร์ที่ 18 ต.ค.64 ว่า ได้ข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้ ข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ ประกอบด้วย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ

1.ปัจจัยที่เป็นมาตรการทางสาธารณสุข

2.ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับภาคเศรษฐกิจ แบ่งเป็น การท่องเที่ยว และการที่มาทำธุรกิจในประเทศ

3.ปัจจัยความสอดคล้องกับมาตรการเข้า-ออกประเทศอื่นๆ

ศบค.เผยข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ

หลักเกณฑ์เข้าราชอาณาจักรไทย

รูปแบบการเข้าประเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. การเข้าสถานที่กักกันตามที่ราชการกำหนด ไม่ว่าจะไทยหรือต่างชาติ วัคซีนไม่ครบ ไม่จำกัดประเทศ ไม่ว่าจะ 7 วัน 10 วัน หรือ 14 วัน แล้วแต่กรณี

2. การเข้าพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว ตามเงื่อนไขที่กำหนด วัคซีนครบ ไม่จำกัดประเทศ โดยพื้นที่ต้องมีความพร้อม เช่น ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน สถานการณ์การระบาดที่ควบคุมได้ และระบบสาธารณสุขในพื้นที่รองรับได้

3. การเข้าราชอาณาจักร โดยไม่กักตัว วัคซีนครบไม่จำกัดประเทศ ในเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ศบค.เผยข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ

พญ.สุมนี กล่าวว่า ส่วนคุณสมบัติของผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยที่เคยมีการชี้แจงไว้แล้วจะต้องเป็นผู้ที่นอกจากฉีดวัคซีนครบแล้ว มีผลตรวจยืนยันไม่พบเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง มีการทำประกันสุขภาพอย่างน้อย 50,000 เหรียญสหรัฐ และเมื่อมาถึงประเทศไทยแล้ว จะต้องมีการตรวจ RT-PCR ซ้ำ ในวันแรกที่มาถึงทันที และเมื่อผลการตรวจเป็นลบจึงจะเดินทางต่อไปได้

ศบค.เผยข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่า สำหรับการประชุมเพื่อรองรับการเปิดประเทศ ยังจะมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง เพราะจะต้องมีการวางแผน รอบคอบ ประณีต ในการ เปิดประเทศ โดยเป้าหมายหลัก ถึงแม้เปิดประเทศไปแล้ว ประชาชนจะต้องมีความปลอดภัย และระบบสาธารณสุข สามารถรองรับเมื่อต้องใช้แผนเผชิญเหตุหรือสถานการณ์อะไรก็ตาม ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ทั้งนี้ จะมีการรายงานผลการประชุมเป็นระยะ

ฉีดวัคซีนแล้ว 67.58 ล้านโดส

สำหรับจำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 19 ต.ค. 2564) รวม 67,587,102 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 19 ตุลาคม 2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 994,781 โดส

  • เข็มที่ 1 : 474,097 ราย
  • เข็มที่ 2 : 485,263 ราย
  • เข็มที่ 3 : 35,421 ราย

ศบค.เผยข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ

  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 38,611,193 ราย (คิดเป็น 53.6% ของประชากร)
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 26,959,785 ราย(คิดเป็น 37.4% ของประชากร)
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 2,016,124 ราย(คิดเป็น 2.8% ของประชากร)

พญ.สุมนี กล่าวว่า เป้าหมายการฉีดวัคซีนในเดือนตตุลาคม ตั้งเป้าหมายไว้ว่า อย่างน้อย 50% ในระดับจังหวัด และในพื้นที่ COVID Free Area อย่างน้อย 70% สำหรับกลุ่ม 608 ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ เพิ่มความครอบคลุมในได้อย่างน้อย 80%

ศบค.เผยข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ

กลุ่มที่เป็นเป้าหมายสำคัญในขณะนี้ คือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา อายุ 12-17 ปี เพราะในช่วงนี้เราใกล้จะเปิดเทอมกันแล้ว ผลการฉีดวันนี้ 1.3 ล้านโดส ราว 1 ใน 4 ของความต้องการจากความสำรวจในระบบที่มีประมาณ 4.5 ล้านโดส สำหรับการให้ทยอยให้วัคซีนไปที่พื้นที่ ขณะที่การกระจาย วัคซีนจากส่วนกลาง 4.5 ล้านโดส เข็มแรก ได้ลงไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว

ศบค.เผยข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ

"ขอให้ผู้ปกครอง ติดตามข่าวสาร และติดตามประกาศจากหน่วยบริการ สถานพยาบาล ที่ขึ้นทะเบียนฉีดวัคซีนให้บุตรหลานของท่านไปฉีดวัคซีนตามนัด เนื่องจากการให้วัคซีนไปในพื้นที่เป็นการทยอยส่ง เพราะฉะนั้น วันเวลาการนัดฉีด อาจจะไม่ใช่วันเดียวกัน โรงเรียนเดียวกันอาจจะคนละวัน ขอให้ผู้ปกครองติดตามให้ดีว่าได้รับการนัดหมายฉีดวันใด"

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่า นอกเหนือจากการฉีดวัคซีนในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา เรายังต้องไปดูการครอบคลุมใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีทิศทางแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและยังพบผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง เมื่อดูผลการฉีดวัคซีนพบว่า ความครอบคลุม เข็มแรก ที่เกิน 50% ได้แก่ ยะลา และใกล้ 50% ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี สงขลา

สำหรับ กลุ่ม 608 ใน 4 จังหวัดภาคใต้ พบว่า มีการเร่งระดมฉีดเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยจังหวัดที่ฉีดเกือบจะครอบคลุม 70% แล้ว ได้แก่ ยะลา สงขลา นราธิวาส ส่วน ปัตตานี กำลังใกล้ความครอบคลุมเกือบ 50%

ศบค.เผยข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศ