อาการติดเชื้อโควิดเบื้องต้น พร้อมขั้นตอนเมื่อทราบผลควรทำอย่างไรเช็คเลย

13 ก.ย. 2564 | 17:09 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.ย. 2564 | 01:08 น.
10.3 k

อาการติดเชื้อโควิดเบื้องต้น พร้อมขั้นตอนเมื่อทราบผลตรวจติดเชื้อโควิด 19 ประชาชนและผู้ประกันตนควรเตรียมตัวอย่างไรเช็คเลย

จากกรณีที่การแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 จำนวนตัวเลขยังสูงต่อเนื่อง ล่าสุดวันนี้ 13 ก.ย. จำนวนยอดติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นรวม 12,583 ราย มาจาก ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 12,420 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 163 ราย ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 1,365,893 ราย  เสียชีวิตเพิ่ม 132 ราย หายป่วย 16,304 ราย กำลังรักษา 132,113 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 1,220,732 ราย 

 

 

ล่าสุด สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) สังกัดกระทรวงแรงงาน ได้โพสต์ข้อความว่า อาการติดเชื้อโควิด และ เมื่อทราบผลตรวจติดเชื้อต้องทำอย่างไรบ้างนั้น “ฐานเศรษฐกิจ” มีคำตอบจากบรรทัดถัดจากนี้

สำหรับคนติดเชื้อ COVID-19

เมื่อทราบผลตรวจว่า... ติดเชื้อ #โควิด19 ควรทำอย่างไร?

  • เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน เอกสารยืนยันผลตรวจโควิด
  • โทร 1330, 1668, 1669 เพื่อแจ้งเรื่องเข้ารับการรักษา แจ้งรายละเอียดและเบอร์โทรศัพท์ของตนให้หน่วยงานที่รับเรื่อง
  • หรือ กรอกข้อมูลใน แอดไลน์ @sabaideebot (สบายดีบอต)
  • งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด (ฝ่าฝืนมีโทษผิดพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 มาตรา 34)
  • หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้
  • สวมใส่แมสก์ตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัว

 

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ระลอกใหม่)

ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับความรุนแรงมาก

  • มีไข้ (ไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง)
  • ไอแห้ง
  • ไอมีเสมหะ
  • ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บคอ
  • ปวดหัว
  • จมูกไม่ได้กลิ่น
  • อ่อนเพลีย

อาการทางผิวหนัง

  • มีผื่นแดงลักษณะคล้ายตาข่ายหรือเส้นใยเล็กๆ
  • มีจุดเลือดออก
  • มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
  • บางรายมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
  • เกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
  • สายพันธุ์ระลอกใหม่ ส่งตรงจากอังกฤษ

 

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19

  • เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)
  • ผู้สูงอายุ
  • คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
  • คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
  • คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)
  • ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
  • ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
  • ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น

 

 

อาการติดเชื้อโควิดเบื้องต้น พร้อมขั้นตอนเมื่อทราบผลควรทำอย่างไรเช็คเลย

11 ข้อปฏิบัติ ขณะรอรถมารับไป รพ.

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะ 11 วิธีดูแลตัวเองอยู่บ้าน เมื่อติดโควิด 19 ก่อนเข้า รพ. ในกรณีที่จำเป็นต้องดูแลตัวเองท้าน ในขณะที่รอการรับการรักษาที่ รพ. ได้แก่

  • กักตัวในห้องแยกจากผู้อื่น ไม่อยู่กับใคร ในห้องแอร์ หากจเป็นต้องอยู่ห้องกับใครให้เปิดหน้าต่างไว้ให้อากาศถ่ายเท
  • สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่ออกมานอกห้องหรือต้องเข้าใกล้ผู้อื่น
  • แยกของใช้ อุปกรณ์รับประทานอาหาร และแก้วน้ำ ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • แยกขยะ แยกการใช้ห้องน้ำ (ถ้าแยกไม่ได้ ใช้เป็นคนสุดท้ายและล้างห้องน้ำหลังใช้ทุกครั้ง)
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือถูกมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังขับถ่าย
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุด สะอาด ตามหลักโภชนาการ ทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
  • ทำจิตใจให้สบาย ลดวิตกกังวล
  • สั่งสินค้า Delivery มาอย่าลืมใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
  • เมื่อใช้ลิฟต์ พกปากกา ไม้ลูกชิ้น เป็นที่กดลิฟต์ ไม่ยืนพิงลิฟต์หรือสัมผัสลิฟต์
  • หากมีอาการป่วย เกิดขึ้นใหม่ หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้ติดต่อสายด่วน 1669 , 1668 , หรือโหลดแอปฯ EMS 1669 เพื่อกดเรียกรถพยาบาลกรณีฉุกเฉิน
  • กรณีอยู่บ้านหรือคอนโด กรุณาแจ้งนิติบุคคล

เตรียมพร้อม เมื่อต้องไปอยู่ "รพ.สนาม"

สำหรับการเตรียมพร้อมเพื่อไปอยู่ รพ.สนาม มีข้อแนะนำในการเตรียมข้าวของเครื่องใช้ ดังนี้ 

  • เสื้อผ้า จำนวน 4-5 ชุด หรือพอดีกับจำนวนที่เข้าพัก 14 วัน
  • ของใช้ในกิจวัตรประจำวัน เช่น สบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า แปรงสีฟัน
  • ของใช้จำเป็นอื่น ๆ โดยเฉพาะผ้าอนามัยสำหรับผู้หญิง
  • ยารักษาโรคประจำตัว
  • ข้อมูล ประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิม(ถ้ามี)
  • โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ สำหรับติดต่อหอผู้ป่วยในการสื่อสารขณะรักษาตัว
  • สามารถนำกระติกน้ำร้อนมาเองได้

 หากมีข้อสงสัยใด ๆ สอบถามได้ที่โรงพยาบาลที่ท่านไปรับการรักษา หรือสายด่วนโทร. 1422 หรือ 1668.

 

ที่มา: สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)