สมาคมการตลาดฯแนะพลิกแพลงกลยุทธ์รับมือผู้บริโภคกลายพันธุ์

28 ส.ค. 2564 | 12:36 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ส.ค. 2564 | 20:10 น.

สมาคมการตลาดฯ ชี้ทางรอดฝ่าวิกฤติโควิด แนะนักการตลาดจะต้องกลายพันธุ์ พลิกแพลงกลยุทธ์ปรับโมเดลทางธุรกิจเรับกับสภาวะพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรับตัวและกลายพันธุ์ไปแล้ว

นายอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมการตลาดนักการตลาดกลายพันธุ์เพราะนักการตลาดจะต้องกลายพันธุ์มีการพลิกแพลงกลยุทธ์หรือโมเดลทางธุรกิจเพื่อจะรับกับสภาวะของพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรับตัวและกลายพันธุ์ไปแล้ว

 

ปีนี้ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิดกลายพันธุ์ ทำให้ภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัวรอบที่ 2 รอบที่ 3 จนถึงปัจุบันยังไม่สามารถคาดเดาว่าสภาวะข้างหน้าจะเป็นอย่างไรบ้าง ล่าสุดสมาคมการตลาดจัดกิจกรรมก้าวต่อไปในโลกการตลาดกับธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิด-19 เพื่อให้ธุรกิจกลับไปยืนหยัดหลังการเปิดประเทศได้


แม้ว่าสถานการณ์ปัจุบันยังหนักหนาสาหัสกับโควิดระลอกล่าสุดอยู่ แต่ก็ยังมีข่าวดีที่ทางภาครัฐมีแนวโน้มที่จะคลายล็อก แต่ก็ยังวางใจไม่ได้หนทางข้างหน้ายังมีแต่อุปสรรคและความไม่แน่นอนสูงมากๆเพราะฉะนั้นเราจะรับมือกับมันยังไงจะปรับตัวกับมันยังไง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทางสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยได้จัดระดมสมอง CMO จากองค์กรชั้นนำของประเทศซึ่งเป็นสมาชิกที่อยู่ในทำเนียบของMAT CMO Council มาแชร์ทัศนะและประสบการณ์ภายใต้การระดมสมองออนไลน์ที่เรียกว่า unlock the rock down ว่ามุมมองของโควิดละรอบที่ผ่านมาแต่ละธุรกิจมีการปรับตัวอย่างไร

ทางด้านของ บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) ได้แชร์ประสบการณ์ว่าสภาวะโควิด สภาพล็อกดาวน์และความไม่แน่นอนในแง่ของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายสูงมากและใช้เวลาในการตัดสินใจนาน มีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยสูงและผู้บริโภคนอกจากจะมีความเป็นคอนซูเมอร์แล้วก็ยังมีความเป็นโปรซูเมอร์ด้วย เพราะจะมีส่วนในการเลือกสินค้าด้วยตัวเองสูงมากๆ

 

นอกจากนี้ผู้บริโภคเริ่มใส่ใจและมองหาแบรนด์ที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเป็นมนุษย์ที่เป็น incentive เข้ามาแก้ปัญหา pain point ผู้บริโภคจะให้ความสนใจและให้ความสำคัญมากๆ

 

ด้านบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) แชร์ว่า ช่วงโควิดนักท่องเที่ยวหายไปทั้งหมด MBKต้องลุกขึ้นมาพลิกโมเดลธุรกิจใหม่โดยเจาะตลาดผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งจะเห็นMBKรูปแบบใหม่ที่เจาะตลาดคนไทยเป็นหลักในไม่มีเดือนข้างหน้า เพราะMBKมองว่าคงจะใช้เวลาพอสมควรที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศจะกลับมา เมื่อถึงเวลานั้น MBK ก็อาจจะมีการปรับตัวอีกรอบนึงที่จะรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และในระหว่างนี้ MBK มีการทำการตลาดที่เป็นการช่วยพันธมิตรร้านค้าที่อยู่ในห้างให้มีแพลตฟอร์มในการขายทางด้านออนไลน์

 

ส่วนบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด เองก็มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆมาตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ work from home มากขึ้น เพราะคนอยู่บ้านนานๆมักมีความเครียด AIS ได้พัฒนา content โดยจับมือกับพันธมิตรระดับโลกนำ Disney+ Hotstar เข้า มาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค รวมทั้งปรับเปลี่ยนภายในองค์กรเพื่อนำพนักงานขายที่อยู่ตามช็อปมาขายออนไลน์โดยสนับสนุนอุปกรณ์ที่ใช้ในการขายออนไลน์

 

 

ทางด้าน บจก.เอส แอล อาร์ ที เปิดเผยว่าsizzler ธุรกิจร้านอาหารที่ต้องพลิกตัวมากสมควร หลังจากไม่สามารถให้บริการนั่งทานในร้านได้ ก็พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็น grab and go และสุดท้ายก็คือทำเรื่องของคลาวด์คิดเช่น ซึ่งเป็นการแชร์ระหว่างร้านอาหารที่อยู่ในเครือทั้งหมดในหลายๆแบรนด์ไม่ว่าจะเป็น sizzler Bonchon  swensen's Dairy Queenหรือ pizza company ซึ่งปกติแต่ละเชนที่อยู่ในเครือเดียวกันจะต่างคนต่างอยู่ แต่ไคร'ซิส ทำให้ทุกแบรนด์ในบริษัทเดียวกันมาทำงานด้วยกันได้

 

ส่วนมาม่าของบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)  ซึ่งน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับอย่างสูงจากผู้บริโภคในช่วงวิกฤตนี้ยังต้องปรับตัวมากมาย มีการค้าขายทางด้านออนไลน์มากขึ้น และเห็นเทรนด์ใหม่ๆจากการที่ผู้บริโภคหันไปบริโภคบะหมี่ซองมากกว่าแบบถ้วยในช่วง covid  ซึ่งทำให้ต้องกลับมาปรับตัวในภายในองค์กรมากขึ้นไปอีก

 

 บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท consult ทางด้าน e-commerce ก็มีการเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจโดยเข้ามาช่วยเหลือในการทำแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ทั้งที่ไม่เคยทะแบบนี้มาก่อน แต่เมื่อมีโควิดเกิดวิกฤติก็สามารถที่จะพลิกโมเดลธุรกิจใหม่ๆขึ้นมาทำอะไรใหม่ๆได้ในเวลาอันรวดเร็ว

 

ด้านของธุรกิจ B2B อย่าง บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)   ได้นำประสบการณ์มาช่วยเหลือผู้ค้า พันธมิตรให้อยู่รอดไปด้วยกัน พร้อมๆกับการใส่ใจดูแลบุคลากรของตัวเองให้มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับภาวะวิกฤตให้ผ่านไปได้ และมีการพัฒนาทักษะพนักงานอย่างต่อเนื่อง 

 

“สุดท้ายต้องวิเคราะห์ว่าวิกฤตจะต้องหยุดและจะต้องผ่านพ้น เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีมุมมองที่ว่าธุรกิจหลังวิกฤตมันจะเป็นยังไง ไม่ใช่คิดแค่ว่าจะรับมือยังไงในช่วงวิกฤติอย่างเดียว เราต้องมองภาพข้างหน้าด้วยเพื่อที่เราจะสามารถทานฟอร์มไปรองรับสภาวะที่อยู่หลังวิกฤติและอีกอย่างที่เราพูดเสมอคือจะเป็น new normal หรือจะเป็น now normal แต่มุมมองต่อนี้คือ diverse normal ก็คือสภาวะของความไม่แน่นอนมันมีอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นมันไม่มีทางnormalแน่ๆ ธุรกิจที่มี my set แบบที่ไม่รองรับสภาวะที่ไม่มีความไม่แน่นอนสูงก็จะมีความท้าทายอยู่เสมอ”

 

ทางบริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด มองว่าทางด้านเกษตรเองก็มี young Smart Farmerมากขึ้น และการสื่อสารการตลาดและกิจกรรมทางการตลาดเราพบว่าเกษตรกรในต่างจังหวัดใช้ออนไลน์มากขึ้นมากจากที่ผ่านมาที่เคยมีเกษตรกรใช้ออนไลน์เพียง 9% แต่ตอนนี้มีเกษตกรใช้ออนไลน์ในการขายมากคง70% ซึ่งมีความน่าสนใจมากๆ

 

สุดท้ายบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ก็มองว่าสภาวะของโควิดการ work from home การที่ผู้บริโภคไม่ออกไปจับจ่ายใช้สอยเรื่องของ delivery service หรือการสั่งซื้อทางอีคอมเมิร์ซมันบูมมากๆ เพราะฉะนั้นภาคโลจิสติกส์ก็เป็นภาคสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้  ไปรษณีย์ไทยได้พูดมีการคอลาเบทกับ jwd และแฟลช มาเป็นโซลูชั่นใหม่แทนที่จะเป็นคู่แข่งกันทำ 

 

จากมุมมองของ CMO Council  ที่ตรงกันว่าไม่ว่าจะมีความไม่แน่นอนอย่างไรหรือมีภาวะที่เป็นอุปสรรคอย่างไร วิกฤตอย่างไรทุกคนจะต้องสู้ต่อไปเพื่อให้ผ่านพ้นไป และจะต้องมีการปรับตัวสิ่งที่เคยทำก็ต้องปรับตัวไปหาสิ่งใหม่ๆแล้วก็มีภาพที่แล้วก็มีภาพที่ติว่าสุดท้ายวิกฤตจะต้องผ่านไปได้และเราจะไปยืนยันอย่างเข้มแข็งในอนาคต ทางสมาคมฯ ได้สรุปออกมาเป็น 10 วิธีรับมือในยุคผู้บริโภคกลายพันธ์ดังนี้

 

  • การทำการตลาดอย่างรับผิดชอบ
  • คิดใหม่ เปิดใจให้กว้างและปรับเปลี่ยนเป็น
  • ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อขยายฐานลูกค้าและหากลุ่มลูกค้าใหม่
  • ใส่ใจฐานลูกค้าเดิม หาวิธีดึงลูกค้าเก่าให้กลับมา
  • เสริมสร้างและพัฒนาทักษะให้กับบุคลากร
  • พัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆและ scale up ขึ้นมาปรับให้ง่ายขึ้น
  • ทดลองในสิ่งที่ไม่เคยทำและปรับองค์กรตัวเอง
  • วางกลยุทธ์สำหรับอนาคต
  • ศึกษา consumer behavior เพื่อปฏิรูปและค้นหาหนทางแก้ไขปัญหาเพื่อตอบโจทย์
  • ธุรกิจจะต้องเชื่อบรรเทาปัญหาและความทุกข์ที่เกิดขึ้นในสังคม