CRG เปิดเกมรุกชิงแชร์สนาม ฟู๊ดเดลิเวอรี่ โค้งสุดท้าย

17 ส.ค. 2564 | 15:34 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ส.ค. 2564 | 22:59 น.

เซ็นทรัล เรสตอรองส์หรือ CRG ขนทัพแบรนด์อาหารกลุ่มธุรกิจ Thai & Chinese Cuisine “ไทยเทอเรส อร่อยดี เกาลูน ส้มตำนัว” งัดกลยุทธ์การตลาดแบบนิวนอร์มอลลงสนามเดลิเวอรี่โค้งสุดท้ายปี 64

นายธนพล ธรรพสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่ม Thai & Chinese Cuisine บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2561 มูลค่าตลาดร้านอาหารอยู่ที่ 4.1แสนล้านบาท เติบโตต่อเนื่องในปี 2562 ที่มูลรวมอยู่ที่4.3แสนล้านก่อนจะเติบโตลดลงจากภาวะโควิดในช่วงปี 2563 ที่มูลค่ารวมเหลือเพียง 4แสนล้านเท่านั้น สำหรับปี 2564 นี้ คาดว่าจะมีการขยายตัว1.4-2.6% หรือมูลค่า4.10-4.15 แสนล้านบาท

CRG เปิดเกมรุกชิงแชร์สนาม ฟู๊ดเดลิเวอรี่ โค้งสุดท้าย

สำหรับร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบจะมีผลกระทบค่อนข้างมาก  จากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ที่มีผลให้สภาพแวดล้อมธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวเพื่อรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ทั้งจากมาตรการการควบคุมการระบาดของภาครัฐ  และกำลังซื้อของผู้บริโภคซึ่งก็ได้รับผลจากการปรับตัวของการจ้างงานเช่นเดียวกัน

CRG เปิดเกมรุกชิงแชร์สนาม ฟู๊ดเดลิเวอรี่ โค้งสุดท้าย

อย่างไรก็ตาม Thai & Chinese Cuisineปี 2563 ที่ผ่านมาสามารถทำยอดขายได้อยู่ที่ประมาณ 270 ล้านบาทจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ประมาณ 330 ล้านบาท มีจำนวนสาขาทั้งหมด 36 สาขา

CRG เปิดเกมรุกชิงแชร์สนาม ฟู๊ดเดลิเวอรี่ โค้งสุดท้าย

สำหรับปี2564นี้ ตั้งเป้าหมายยอดขายประมาณ 300 ล้านบาท ผ่านมาครึ่งปี สามารถทำยอดขายที่ประมาณ 140 ล้านบาท เหลืออีกประมาณ 160 ล้านสำหรับ 6 เดือนที่เหลือซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะบรรลุเป้าหมายในสถานการณ์ที่มีการล็อกดาวน์ มีการห้ามรับประทานในร้าน ต้องเดลิเวอรี่เท่านั้น 

 

ในขณะเดียวกันก็ยังขยายสาขาเพิ่มขึ้นจาก 30 กว่าสาขากลายเป็น 67 สาขาและคาดว่าภายสิ้นปีนี้จะแตะ 80 สาขาได้ 

 

 สำหรับแผนงานครึ่งปีหลังบริษัทมีการปรับโครงสร้างของThai & Chinese Cuisineให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ในปี 2020 สัดส่วนของลูกค้าที่นั่งทานในร้านอาหารและซื้อกลับบ้านสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 70% ต่อ 30% แต่ปีนี้สัดส่วนเดลิเวอรี่สูงถึง 80% และไดน์อินเพียง 20%

ดังนั้น ซีอาร์จี ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างของการบริหาร และปฏิบัติงาน มุ่งเน้นในการบริหารจัดการในแต่ระบบให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น 

CRG เปิดเกมรุกชิงแชร์สนาม ฟู๊ดเดลิเวอรี่ โค้งสุดท้าย

1.      แผนการบริหารจัดการต้นทุน มุ่งเน้นบริหารจัดการ อาทิ พัฒนาทักษะพนักงาน ( Multi-Function) โดยดึงศักยภาพของพนักงานให้สามารถทำได้หลายหน้าที่, วัตถุดิบ มีการบริหารจัดการต้นทุน ควบคุมการสูญเสีย  รวมไปถึงการจัดหาพื้นที่ทำ Delivery และการเจรจาค่าเช่าที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการต้นทุนและการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

2.      กลยุทธ์การตลาด รุกต่อเนื่อง เพื่อให้แบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภค ทุกคนล้วนมีประสบการณ์เคยสั่งอาหารจากร้านมาทาน รู้สึกประทับใจ ผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โดยทำการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งเน้นหนักให้ขับเคลื่อนด้วยดาต้า (Data – Driven Everything) ซึ่งลูกค้าที่สั่งออนไลน์อาหารมีมากกว่า 90% ทั้งช่องทาง Google trend, Tiktok, Twitter เป็นต้น

 

3.   เลือกใช้ผู้นำเทรนด์ เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคคนรุ่นใหม่ รับรู้จากสื่อออนไลน์ ดังนั้นการสื่อสารเมนูใหม่ๆ ผ่าน KOLs, Food Influencer มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง

 

4.      โปรโมชั่นส่งเสริมการขาย แบรนด์ TCC เน้นเรื่องความแตกต่าง โปรโมชั่น ราคา และภาพลักษณ์ของสินค้า เข้าถึงลูกค้ามากที่สุด

CRG เปิดเกมรุกชิงแชร์สนาม ฟู๊ดเดลิเวอรี่ โค้งสุดท้าย

นอกการปรับโครงสร้างของการบริหารงานระบบแล้ว  ในส่วนของพื้นที่ร้าน และทำเลที่ตั้งร้าน ทางกลุ่มก็ได้ปรับเพื่อให้เหมาะกับสัดส่วนการขายและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งในภาพรวม มีการแบ่งสัดส่วนช่องทางการจัดจำหน่ายเอาไว้อย่างชัดเจนทั้ง  ช่องทาง การนั่งทานที่ร้านและซื้อกลับบ้าน ( Dine In & Take away ) และ เดลิเวอรี่ (Delivery)

 

ในปี 2563  การนั่งทานที่ร้านและซื้อกลับบ้าน มีสัดส่วนที่ 70 % ขณะที่ปี 2564 ปรับลดสัดส่วนลงมาที่ 60 % ด้านช่องทางการขาย เดลิเวอรี่ ในปี 2563 มีสัดส่วน 30 % ส่วนในปี 2564 อยู่ที่ 40 %

 

ทั้งนี้ ในภาพรวมของการขาย เป็นไปเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบของสาขาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของภาพรวมธุรกิจอาหาร การควบคุมการระบาดโควิด-19  และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้เวลาทำงานและอยู่ที่บ้านมากกว่า สำหรับจำนวนสาขา ปัจจุบันมีทั้งสิ้น  67 สาขา ทุกสาขาตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  แบ่งเป็น แบรนด์ไทยเทอเรส มีจำนวน  17 สาขา  อร่อยดี  33 สาขา  เกาลูน  10 สาขา ส้มตำนัว  7 สาขา นอกจากนี้ ยังมี แบรนด์ โตเกียว โบวล์  (Tokyo Bowl) ซึ่งเป็น Virtual Brand อีก 50 สาขา

CRG เปิดเกมรุกชิงแชร์สนาม ฟู๊ดเดลิเวอรี่ โค้งสุดท้าย

“เดลิเวอรี่จะเติบโตอย่างมากต่อจากนี้ โดยเป็นการโตได้มากเป็นเท่าตัว ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการปรับตัว และการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ ๆ เช่น Fantastic 4 การสั่งอาหารที่ทำได้ครบจบในแอปเดียวแบบ 4 in 1 นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเมนู Take away และเน้นสัดส่วนการขายเดลิเวอรี่มากขึ้น เพิ่มโลเคชั่นหาพื้นที่ Cloud Kitchen รองรับการขายเดลิเวอรี่ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง

 

รวมถึงการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยดาต้า (Data - Driven Everything) ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ โดยเฉพาะออนไลน์มากกว่า 90% เช่น Google trend,Tiktok,twitter เป็นต้น

CRG เปิดเกมรุกชิงแชร์สนาม ฟู๊ดเดลิเวอรี่ โค้งสุดท้าย

นอกจากการพัฒนาระบบหลังบ้าน และ เพิ่มขีดความสามารถในแนวรุกของตลาดออนไลน์แล้ว อีกอาวุธสำคัญในช่วงครึ่งปีหลังมาจากแบรนด์ใหม่ล่าสุด “ส้มตำนัว” ที่จะเข้ามาเสริมทัพแบรนด์ในกลุ่มและขยายฐานลูกค้าให้หลากหลาย โดยเน้นสัดส่วนการขายนช่องทางดลิเวอรี่เป็นหลัก

 

จากกลยุทธ์ขยายธุรกิจที่ต้องเร่งขยายตัวให้ทันกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจอาหารที่เปลี่ยนไป ในอีกด้าน CRG ได้ให้ความสำคัญกับการเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์เพื่อสังคม ล่าสุด เปิดโครงการ Meal for You จัดส่งอาหารปรุงสุก 3 มื้อทุกวัน จากร้าน “อร่อยดี” และแบรนด์อื่น ๆ ให้ผู้ป่วยสีเขียวที่กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ในรัศมี 10  กม. ของโรงพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผ่านแกร็บเอ็กซ์เพรส

 

รวมถึงบริการที่เรียกว่า Food For Hero ส่งต่อความสุข ความอร่อย ให้ทีมแพทย์ พยาบาลด่านหน้า ด้วยเมนูราคาเริ่มต้น 39 บาท และรับส่วนลดสูงถึง 10%

 

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นายธนพล กล่าวสรุปว่า ทุกแบรนด์ต้องเร่งปรับตัว และปรับกลยุทธ์ให้รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขยายช่องทางการขาย โมเดลใหม่ เช่น บริการเดลิเวอรี่ รวมถึงการพัฒนาเมนู ราคา และโปรโมชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค