ซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจ 92.7% เชื่อคนไทยช่วยกันแก้วิกฤติโควิดได้

14 ส.ค. 2564 | 14:15 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ส.ค. 2564 | 21:29 น.

ซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจ “มองมุมบวก เสริมพลังประชาชน” พบ 92.7% เชื่อคนไทยช่วยเหลือกัน แก้วิกฤตโควิด-19ได้  92.6% ไม่ต้องการความรุนแรง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง มองมุมบวก เสริมพลังประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ในระหว่างวันที่ 8-13 สิงหาคม 2564 พบว่า

 

ร้อยละ 92.7 พบเห็นคนไทยและทุกภาคส่วนช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.6 พบเห็นคนไทยยังมีความรักความสามัคคี ไม่ต้องการความรุนแรง แต่ต้องการให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดูแลกัน ยามที่คนไทยทั้งประเทศกำลังเป็นทุกข์

 

ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.3 และร้อยละ 80.2 ระบุ ภาคประชาชนและสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นภาคส่วนสำคัญช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งทุนทรัพย์ เครื่องมือแพทย์ ชุดป้องกันโควิด ชุดตรวจโควิด และช่วยเหลือลดความทุกข์ยาก บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

 

ขณะที่ต่างชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และอื่น ๆ ร้อยละ 54.8 ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ เจ้าสัว นายทุน ร้อยละ 51.3 และที่น่าห่วงคือ ภาครัฐ ราชการที่เดินไม่เต็มสูบ จึงสอบตก ได้เพียงร้อยละ 45.4 และ ภาคการเมือง ที่ได้ต่ำสุดคือร้อยละ 34.9 ตามลำดับ

 

อย่างไรก็ตาม ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนละไม้คนละมือ ความรักความสามัคคี เป็นหนึ่งเดียวกันของคนไทย ช่วยกันผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 จากภาคส่วนต่าง ๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.2 ระบุ ความเสียสละพื้นที่ส่วนบุคคล ส่วนกลาง วัด โรงเรียน สถานประกอบการ สร้างโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ ศูนย์พักคอย

 

อื่น ๆ ร้อยละ 89.5 ระบุ จิตอาสา ช่วยเหลือจัดยานพาหนะ ประสานงาน ให้คำแนะนำ และอื่น ๆ ร้อยละ 89.2 ระบุ สนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์ ชุดตรวจ ชุดป้องกันเชื้อโควิด และอื่น ๆ ร้อยละ 87.4 ระบุ การแจกอาหารและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ และร้อยละ 87.0 ระบุ ช่วยกันตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด เชิงรุก

 

นอกจากนี้ ร้อยละ 83.9 ระบุ เป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อมวลชน เสนอข่าวสร้างสรรค์เสริมสร้างความรักความสามัคคี ไม่นำเสนอแต่ความขัดแย้ง ไม่ซ้ำเติมวิกฤตทุกข์ยากของประชาชน ร้อยละ 78.2 ระบุ ช่วยกัน จัดหายาสมุนไพรไทย ร้อยละ 76.4 ระบุ รับซื้อสินค้าเกษตร ช่วยเหลือเกษตรกร ร้อยละ 73.9 ระบุ ช่วยกัน กระจายวัคซีน ร้อยละ 72.5 ช่วยกันจัดหาวัคซีน ร้อยละ 69.3 บริจาคโลหิต และร้อยละ 69.2 มีตู้ปันสุข

 

ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 85.2 กังวลต่อ มาตรการรัฐที่ควบคุมกิจกรรมการทำมาหากินของประชาชนกระทบต่อเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน ร้อยละ 84.9 กังวลต่อ นักการเมืองและขบวนการต่างชาติ ฉกฉวยโอกาส ซ้ำเติมวิกฤตความทุกข์ยากของประชาชนคนไทย ทำลายความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ สร้างความขัดแย้ง ความเกลียดชัง ให้คนในชาติเผชิญหน้ากัน

 

ร้อยละ 81.0 กังวล ม็อบหัวรุนแรง ทำลายเศรษฐกิจ ซ้ำเติมความทุกข์ยาก ปัญหาปากท้องของประชาชน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 ยังเชื่อมั่นว่า ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนละไม้คนละมือ ความรักความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในชาติจะช่วยผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปได้ ในขณะที่ร้อยละ 9.9 ไม่เชื่อมั่น

 

ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ในสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดและการขัดแย้งทางความคิดที่ชักนำสู่ความรุนแรงปัจจุบัน  การเผชิญกับปัญหาสังคม  ภาพรวมประชาชนยังเห็นพลังบวกของความร่วมมือกันของสังคมไทย โดยเฉพาะสถาบันกษัตริย์และภาคประชาชน ยังสนับสนุนเกื้อกูลกันในหลายมิติที่ประชาชนพอใจระดับสูงมาก 

ซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจ 92.7% เชื่อคนไทยช่วยกันแก้วิกฤติโควิดได้

ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นระดับสูงมาก ถึงความรักความสามัคคีของสังคมไทยและเห็นทางออก ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งภาครัฐ ภาคการเมือง ภาคเอกชนและภาคประชาชน ในการร่วมลงแรงจิตอาสา ลงเงิน ลงสถานที่และสิ่งอุปกรณ์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันในกิจกรรมย่อยต่างๆที่ปรากฎสิ่งที่ดีๆเป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจกันและกัน

 

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ในระดับสูง ยังมีความกังวลต่อปัญหาต่างๆ เช่น เศรษฐกิจปากท้อง ที่กิจการถูกปิดไปจากมาตรการควบคุมโรค กระทบต่อรายได้และการเลี้ยงดูครอบครัว และส่วนใหญ่มองว่า  พฤติกรรมการเอาประโยชน์ ไม่จริงใจของนักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล

 

รวมทั้งการสมคบคิดกับต่างชาติ ชักศึกเข้าบ้าน สร้างความขัดแย้งเกลียดชังกัน นำสู่การล้มสถาบัน ด้วยการเผชิญหน้าใช้ความรุนแรงกันจนเกิดเป็นค่านิยมของสังคมประชาธิปไตยไทยและผลิตเยาวชนที่ถูกปั่นหัวมาร่วม  20 ปี โดยไม่รู้ตัว

 

ทางแก้คือ การลดความกังวลเสริมความเชื่อมั่นของประชาชนเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ต้องปรับเปลี่ยนไปพร้อมกัน  โดยเฉพาะการเปลี่ยนมาตรการควบคุมของรัฐที่เน้นปิดกิจกรรมธุรกิจการค้าการขายมาเป็นการควบคุมพฤติกรรมแพร่เชื้อโควิดที่เข้มข้นและนโยบายรัฐบาลที่โปร่งใส ชัดเจน ภายใต้ผลประโยชน์ชาติและชีวิตคนส่วนใหญ่

 

การนำที่เข้มแข็งของผู้นำประเทศและทุกระดับที่สำคัญคือกลไกรัฐที่เดินไม่เต็มสูบ “ต้องเปลี่ยนหัวหน้าหน่วยงาน”  ภาคการเมืองที่รู้กาลเทศะและสร้างสรรค์กว่าที่เป็นอยู่  ภาคธุรกิจที่ต้องเข้ามาช่วยเหลือเจือจุนประชาชนมากขึ้น  ภาคประชาชนที่ต้องตระหนักรู้เท่าทันและติดตามข่าวสารข้อเท็จจริง 

 

ภาคสื่อมวลชนที่ต้องเน้นจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างสูงในสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อน เพื่อมิให้เกิดปัจจัยแทรกซ้อนและที่สำคัญต้องไม่ทำร้ายกันเอง จนโครงสร้างประเทศล่มสลาย

 

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การประเมินสิ่งที่พบเห็น สะท้อนมุมบวก เสริมพลังประชาชน ช่วงวิกฤตโควิด-19 ระดับค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด

 

 ลำดับที่

การประเมินสิ่งที่พบเห็น สะท้อนมุมบวก เสริมพลังประชาชน ช่วงวิกฤตโควิด-19

ร้อยละ

1

พบเห็นคนไทยและทุกภาคส่วนช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19

92.7

2

พบเห็นคนไทยส่วนใหญ่ยังมีความรักความสามัคคี ไม่ต้องการความรุนแรง แต่ต้องการให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดูแลกัน ยามที่คนไทยทั้งประเทศกำลังเป็นทุกข์

 

92.6

 

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาคส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งทุนทรัพย์ เครื่องมือแพทย์ ชุดป้องกันโควิด ชุดตรวจโควิด และช่วยเหลือลดความทุกข์ยาก บรรเทาเดือดร้อนของประชาชน

 

 ลำดับที่

ภาคส่วนต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์

ร้อยละ

1

ภาคประชาชน

89.3

2

สถาบันพระมหากษัตริย์

80.2

3

ต่างชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และอื่น ๆ

54.8

4

ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ เจ้าสัว นายทุน

51.3

5

ภาครัฐ ราชการ

45.4

6

ภาคการเมือง

34.9

 

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนละไม้คนละมือ ความรักความสามัคคี เป็นหนึ่งเดียวกันของคนไทย ช่วยกันผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 จากภาคส่วนต่าง ๆ

 

ลำดับที่

ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนละไม้คนละมือ ความรักความสามัคคี จากภาคส่วนต่าง ๆ

ร้อยละ

1

ความเสียสละพื้นที่ส่วนบุคคล ส่วนกลาง วัด โรงเรียน สถานประกอบการ สร้างโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ ศูนย์พักคอย และอื่น ๆ

 

92.2

2

จิตอาสา ช่วยเหลือจัดยานพาหนะ ประสานงาน ให้คำแนะนำ และอื่น ๆ

89.5

3

สนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์ ชุดตรวจ ชุดป้องกันเชื้อโควิด และอื่น ๆ

89.2

4

การแจกอาหารและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ

87.4

5

ช่วยกันตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด เชิงรุก

87.0

6

เป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อมวลชน เสนอข่าวสร้างสรรค์เสริมสร้างความรักความสามัคคี ไม่นำเสนอแต่ความขัดแย้ง ไม่ซ้ำเติมวิกฤตทุกข์ยากของประชาชน

 

83.9

7

ช่วยกัน จัดหายาสมุนไพรไทย

78.2

8

รับซื้อสินค้าเกษตร ช่วยเหลือเกษตรกร

76.4

9

ช่วยกัน กระจายวัคซีน

73.9

10

ช่วยกัน จัดหาวัคซีน

72.5

11

มีตู้ ปันสุข

69.2

12

บริจาคโลหิต

69.3

 

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลใจของประชาชนต่อเรื่องสำคัญยามวิกฤตโควิด

 

 ลำดับที่

ความกังวลใจของประชาชนต่อเรื่องสำคัญยามวิกฤตโควิด

ร้อยละ

1

กังวลต่อ มาตรการรัฐที่ควบคุมกิจกรรมการทำมาหากินของประชาชนกระทบต่อเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน

 

85.2

2

กังวลต่อ นักการเมืองและขบวนการต่างชาติ ฉกฉวยโอกาส ซ้ำเติมวิกฤตความทุกข์ยากของประชาชนคนไทย ทำลายความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ สร้างความขัดแย้ง ความเกลียดชัง ให้คนในชาติเผชิญหน้ากัน

 

84.9

3

กังวล ม็อบหัวรุนแรง ทำลายเศรษฐกิจ ซ้ำเติมความทุกข์ยาก ปัญหาปากท้องของประชาชน

81.0

 

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นว่า ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนละไม้คนละมือ ความรักความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในชาติจะช่วยผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปได้

 

 ลำดับที่

ความเชื่อมั่นของประชาชน

ร้อยละ

1

เชื่อมั่นว่า ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนละไม้คนละมือ ความรักความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในชาติจะช่วยผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปได้

90.1

2

ไม่เชื่อมั่น

9.9

 

รวมทั้งสิ้น

100.0