ชัดแล้ว ประกันสังคมมาตรา39 โอนเงินเยียวยา 5000 บาทวันที่ 23 ส.ค.นี้

13 ส.ค. 2564 | 20:30 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ส.ค. 2564 | 18:14 น.
15.5 k

ชัดแล้ว ประกันสังคมมาตรา 39 สำนักงานประกันสังคม พร้อมโอนเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตน 13 จังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้ม วันที่ 23 ส.ค.ย้ำโอนผ่านพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชนเท่านั้น

จากกรณีที่ สำนักงานประกันสังคม ได้โอนเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 13 จังหวัด ระหว่างวันที่ 4-9 ส.ค. และ วันนี้ 13 ส.ค. สำนักงานประกันสังคมได้โอนเงินเยียวยาให้กับกลุ่มตกหล่นราว 2 แสนคน รับเงินเยียวยา 2,500 บาท

 

ล่าสุด นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ สำนักงานประกันสังคมโอนเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 39 ในพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 13 จังหวัด ซึ่งมีผู้ประกันตนอยู่จำนวน 1.7 ล้านคน ส่วนอีก 16 จังหวัด ให้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน

โฆษกสำนักงานประกันสังคม ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ประกันสังคมได้โอนเงินเยียวยาสำเร็จ 92% ที่เหลือยังโอนไม่สำเร็จประมาณ 8% ซึ่ง ประกันสังคม ได้โอนเงินเยียวยาให้กับกลุ่มตกหล่นในวันนี้ (13ส.ค.) เหตุผลที่ไม่สามารถโอนเงินได้ เนื่องจากผู้ประกันตนไม่ได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน

 

“นอกจากผู้ประกันตนไม่ผูกบัตรประชาชนกับพร้อมเพย์แล้ว ประเด็นที่ประกันสังคมพบอีกสาเหตุ คือ ผู้ประกันตนมาตรา 40  ชื่อ และ นามสกุล ไม่ถูกต้อง ทำให้ ไม่สามารถโอนเงินสำเร็จ”

 

นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมกำลังขยายโอนเงินเยียวยาจาก 1 ล้านคนต่อวัน ขยายเพิ่มเป็น 1.5 ล้านคนต่อวัน ซึ่งขณะนี้นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมตรีว่การกระทรวงแรงงานกำลังหาทางขยายการโอนเงินเข้าบัญชีเพิ่มเติม

คุณสมบัติผู้ประกันตนมาตรา 39

  • ลาออกจากการเป็นพนักงานเอกชนแล้ว
  • เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
  • ส่งเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน
  • ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
  • จ่ายเงินสมทบ 432 บาท/เดือน

กลุ่มผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 39 ใน 13 จังหวัด

  • กรุงเทพฯ
  •  นนทบุรี
  • นครปฐม
  •  ปทุมธานี
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสาคร
  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  •  สงขลา
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • พระนครศรีอยุธยา

จะได้รับการโอนวันที่ 23  สิงหาคม 2564  ผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับเงินเยียวจากประกันสังคมจะต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กับเลขบัญชีธนาคาร.

 

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม