ประกันสังคมมาตรา 40 สมัครแล้วได้สิทธิรับผลประโยชน์ทดแทนอะไรบ้างเช็คเลย

13 ส.ค. 2564 | 13:58 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ส.ค. 2564 | 21:11 น.
38.8 k

ประกันสังคมมาตรา 40 เมื่อสมัครเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม หลังขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนได้รับผลประโยชน์ทดแทนอะไรบ้างที่นี่มีคำตอบ

จากกรณีที่ สำนักงานประกันสังคม ได้เปิดให้ผู้ประกันตนอาชีพอิสระ สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 29 จังหวัด รับเงินเยียวยา 5000 บาท ซึ่งกลุ่มอาชีพอิสระนอกเหนือพื้นที่สีแดงเข้ม ประกันสังคมเปิดลงทะเบียนขึ้นเป็นผู้ประกันตนได้เช่นเดียวกัน

 

คุณสมบัติผู้ประกันตนมาตรา 40

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุ 15-65 ปีบริบรูณ์ 
  • เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
  • ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย 00)
  • ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัคร

 

หลักฐานการสมัคร

  • ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว

เงินสมทบมีให้เลือก 3 ทางเลือก

  • ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท รับเงินชดเชยกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
  • ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท รับเงินชดเชยกรณี เจ็บป่วย ทุพลภาพ เสียชีวิต และ ชราภาพ
  • ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท รับเงินชดเชยกรณีเจ็บป่วย ทุพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และเงินสงเคราะห์บุตร

 

ประกันสังคมมาตรา 40 สมัครแล้วได้สิทธิรับผลประโยชน์ทดแทนอะไรบ้างเช็คเลย

สำหรับเงื่อนไขการรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนมาตรา 40 มีดังนี้

 

กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง 30 บาท

    เงื่อนไขการรับสิทธิ
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย
  • รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี

 

กรณีทุพพลภาพ

 

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500 – 1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • ตายก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

         เงื่อนไขในการรับสิทธิ

 

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาทต่อเดือน

 

 

กรณีตาย  

  • ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

    เงื่อนไขการรับสิทธิ
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต

    หมายเหตุ
  • “อุบัติเหตุ” หมายความว่า เหตุที่เกิดโดยไม่คาดดิดเป็นเหตุให้เสียชีวิต เช่น อุบัตเหตุจากการขนส่ง การตกหรือล้ม การจมน้ำ การสัมผัสความร้อนและสิ่งของที่ร้อน การสัมผัสสารพิษ การถูกทำ้ร้าย การดำเนินการตามกฎหมายและการปฏิบัติการสงคราม การสัมผัสสัตว์และพืชมีพิษ ภัยธรรมชาติจากฟ้าผ่า แผ่นดินไหว เป็นต้น
    ** ยกเว้น กรณีอุบัติเหตุ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต

 

กรณีชราภาพ (รับเงินบำเหน็จ)

  • ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด

    เงื่อนไขการรับสิทธิ
  • เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน

 

กรณีชราภาพ (รับเงินบำนาญ)

  • ได้รับบำนาญรายเดือนขึ้นต่ำ 600 บาท/เดือน ตลอดจนเสียชีวิต
  • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) จะได้รับเงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด
  • ได้รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
  • กรณีทุพพลภาพก่อนได้รับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืน

    เงื่อนไขการรับสิทธิ
  • ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)
  • ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
  • ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือน พฤษภาคม 2555

 

เงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จได้แก่ บุคคล ดังต่อไปนี้

  • สามี ภริยา บิดาและมารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่านกัน กรณีไม่มีผู้สิทธิตามข้อ 2.1
  • ให้จ่ายแก่บุคคล ซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ

 

หมายเหตุ หากมีการนำส่งเงินสมทบต่อเนื่องทุกเดือนจะได้รับเงินกรณีชราภาพขั้นต่ำ (ยังไม่รวมผลตอบแทน) หรือดอกเบี้ย 
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

ที่มา: กระทรวงแรงงาน