8 สายด่วนโทรฟรี แก้ปัญหาโควิด แต่ละเบอร์ให้บริการอะไรบ้างเช็คที่นี่

24 ก.ค. 2564 | 17:14 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ก.ค. 2564 | 08:37 น.
28.7 k

8 สายด่วนโทรฟรีวันที่ 25 ก.ค. ให้บริการข้อมูล ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ ให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานงานเจ้าหน้าที่ การหาเตียง สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด 1330, 1323, 1422, 1442, 1646, 1668, 1669 และ1506 แต่ละเบอร์ให้บริการอะไรบ้างตรวจสอบได้ที่นี่

กรณีที่ประชาชนร้องเรียน เรื่องการติดต่อเบอร์สายด่วนเพื่อเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยโควิดที่ต้องรอสายนานและยังมีค่าใช้จ่ายในการโทร จนนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

 

โดยขอความร่วมมือเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์ หรือ Operator ยกเว้นค่าบริการสำหรับการใช้บริการสายด่วน ขอคำปรึกษา และประสานขอเตียงสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 และเลขหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งค่าบริการข้อความสั้นหรือ SMS สำหรับระบบบริหารจัดการผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ที่ต้องกักตัวที่บ้าน

 

ล่าสุด นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)  เปิดเผยว่า บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)หรือ NT,AIS,True,Dtac จะยกเว้นค่าบริการสายด่วน เพื่อรองรับการให้บริการข้อมูล ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ ให้คำปรึกษาแนะนำและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ การหาเตียง สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด จำนวน 8 หมายเลขสายด่วน โทรฟรีได้ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป คือ 1330, 1323, 1422, 1442, 1646, 1668, 1669 และ1506 เพื่อให้การดูแล ป้องกัน แจ้งเตือนและให้ความช่วยเหลือประชาชน ในภาวะสถานการณ์ที่ฉุกเฉินและเร่งด่วน

8 สายด่วน โทรฟรีให้บริการอะไรบ้าง?

  • 1330 สายด่วน สปสช. บริการให้ข้อมูลด้านหลักประกันสุขภาพ(สิทธิบัตรทอง) รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ประสานงานจัดหาเตียงให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 กับสายด่วนกรมการแพทย์ 1668 
  • 1323 สายด่วนกรมสุขภาพจิต ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต 
  • 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค ช่องทาง สอบถามข้อมูล ข้อสงสัย ความรู้ด้านสุขภาพ รวมถึงการแจ้งผู้ที่มีอาการป่วยเข้าเกณฑ์สงสัยป่วยโรคโควิด-19
  • 1646 สายด่วนศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์  กทม.  มีหน้าประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ และเครือข่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางประสานงานจัดส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเข้ารับการรักษา โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับสายด่วน 1668 กรมการแพทย์ และสายด่วน 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
  • 1668 สายด่วนกรมการแพทย์ เป็นสายด่วนเฉพาะกิจเปิดให้บริการทุกวันระหว่างเวลา 08.00 -22.00 น. โดยแบ่งเป็น 4 ทีมหลัก คือ 1. ทีมรับสาย Hotline 1668 จากผู้ป่วยโควิด 19 สอบถามข้อมูลรายละเอียดของผู้ป่วย 2. ทีมข้อมูล มีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลจากทีมงานสายด่วนและทีมประสานงาน วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำฐานข้อมูล สรุปข้อมูลรายวัน 3. ทีมแพทย์ มีทีมแพทย์ประเมินอาการระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของโรค และ 4. ทีมตอบสนองและประสานงาน มีหน้าที่ประสานขอเตียงจากโรงพยาบาลเป้าหมาย (ผ่านศูนย์ส่งต่อโรงพยาบาลราชวิถี กรณีเป็นผู้ติดเชื้อในความรับผิดชอบของกรมการแพทย์ และประสานผ่านศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร กรณีเป็นผู้ติดเชื้อในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลนอกสังกัดกรมการแพทย์) รวมทั้งโทรเยี่ยมติดตามอาการของผู้ป่วย 
  • 1669  สายด่วนศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์  กทม.  มีหน้าประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ และเครือข่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางประสานงานจัดส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเข้ารับการรักษา โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับสายด่วน 1668 กรมการแพทย์ และสายด่วน 1330 สปสช.
  • 1506 สายด่วนสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้บริการตอบข้อสอบถาม ให้คำปรึกษา รวมทั้งรับเรื่องร้องเรียน จากลูกจ้างผู้ประกันตน  กด "6"เป็นเปิดให้บริการเพื่อเป็นช่องทางติดต่อให้กับ"ผู้ประกันตน" ที่ไม่สามารถหาสถานที่ตรวจและสถานพยาบาลเข้ารับการรักษาในกรณีติดเชื้อได้ โดยจะให้คำแนะนำ "ผู้ประกันตน"ที่เข้ารับบริการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 ให้คำปรึกษาการตรวจหาเชื้อโควิด-19