“โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้” ทำความรู้จัก “สารสไตรีนโมโนเมอร์”

05 ก.ค. 2564 | 16:42 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ก.ค. 2564 | 00:52 น.
9.2 k

เปิดข้อมูล “สารสไตรีนโมโนเมอร์” ที่รั่วไหลออกมาจากเหตุการโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ บ.หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ยังมีความกังวลต่อสารดังกล่าว ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพเเละทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

จากเกิดเหตุ ระเบิดโภายในโรงงาน หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด เป็นโรงงานผลิตโฟมและเม็ดพลาสติก ตั้งอยู่เลขที่ 87 ซอยกิ่งแก้ว 21 ม. 15 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ กลางดึกเมื่อคืนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการระเบิดของถังบรรจุเคมีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ไฟลุกท่วมเจ็บนับสิบ เพลิงไหม้วอด

“โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้” ทำความรู้จัก “สารสไตรีนโมโนเมอร์”

ขณะเดียวกัน แรงระทำให้บ้านเรือนเสียหายเป็นวงกว้าง เบื้องต้นมีบ้านเรือนเสียหาย 70 หลัง บาดเจ็บ 15 ราย และรถยนต์เสียหาย 15 คัน

“โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้” ทำความรู้จัก “สารสไตรีนโมโนเมอร์”

“ฐานเศรษฐกิจ” รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสารสไตรีนโมโนเมอร์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเมล็ดพลาสติก มาให้ทำความรู้จักกันจากข้อมูลที่เรียบเรียงโดย น.อ.วัชรินทร์ เครือดำรงค์ รอง จก.วศ.ทร  และ จาก นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ดังนี้ 
 

สารสไตรีนโมโนเมอร์ คืออะไร 
สารสไตรีนโมโนเมอร์ เป็นของเหลวใสและข้นเหนียว สูตรทางเคมี C8H8 , CAS #. 100-42-5 น้ำหนักโมเลกุล 104.16 ถ้าสารมีอุณหภูมิ 31°C (88°F) ขึ้นไป จะติดไฟและกลายเป็นสารอินทรีย์ระเหยง่าย หากถูกเผาไหม้จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO) จำนวนมากอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ 

แหล่งที่พบในธรรมชาติ
 สไตรีนที่ใช้ในอุตสำหกรรม ส่วนใหญ่เป็นสารปิโตรเคมีที่ได้จากการขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจากใต้ทะเล 
โดยทั่วไปจึงไม่พบอยู่ในสภาพแวดล้อมปกติ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอาจพบมีการปนเปื้อนโรงงานอุตสาหกรรมสู่สิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น อากาศ ผิวดิน ได้ในบางพื้นที่ 

อุตสาหกรรมที่ใช้
 1. เป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำมันแก๊สโซลีน (Gasoline) เพื่อแยกชนิดน้ำมัน
2. ใช้เป็นสารโมโนเมอร์ (Monomer) ในกระบวนกำรผลิตโพลีสไตรีน (Polystyrene) ซึ่งเป็นโฟมชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่ำงแพร่หลาย เช่น ใช้ทำจานข้าว กล่องข้าว โฟมโพลีสไตรีนเป็นของแข็ง ย่อยสลายยาก แต่ไม่ก่อพิษต่อมนุษย์ในสภาวะปกติ นอกจากโฟมนั้นถูกความร้อนหรือไหม้ไฟจะกลับกลายเป็นสไตรีนดังเดิมและก่อพิษได้
3. ใช้เป็นสารตั้งต้นหรือสารโมโนเมอร์ (Monomer) ในกระบวนกำรผลิตโคโพลีเมอร์ (copolymer) เช่น พลาสติกทนความร้อน Acrylonitrile – butadiene – styrene (ABS) และ Styrene – acrylonitrile
copolymer (SAN) และยางสังเคราะห์ Styrene – butadiene rubber (SBR)

การใช้งาน
1. ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์ และพลาสติก เรซิน สี ฉนวนที่เป็นโฟม
2. ใช้ผลิตพลาสติกกับสารอื่น เช่น Acrylonitrile- butadiene- styrene plastics
3. ใช้ทำกระเป๋าแบบแข็ง Acrylonitrile- styrene plastics
4. ใช้ในชิ้นส่วนรถยนต์และของใช้ในบ้านและบรรจุภัณฑ์
 

ผลต่อสุขภาพ
1. เป็นสารระเหย แม้อยู่ในน้ำหรือดิน การปนเปื้อนในดินอาจนำไปสู่น้ำใต้ดินเพราะสารนี้ไม่ค่อยจับตัวกับดิน
2. ถ้าหายใจเข้าไป จะเกิดการระคายระบบทางเดินหายใจ และคอ ปวดศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และมึนเมา
3. ถ้าได้รับสารปริมาณสูง จะชักและเสียชีวิตได้
4. การหายใจเข้าไปในระยะนานๆ แม้ว่าความเข้มข้นต่ำจะทำให้อาจมีอาการทางสายตา การได้ยินเสื่อมลง และการตอบสนองช้าลง
5. ส่วนผลในระยะยาวนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ถ้าเข้าตา จะเคืองตา
6. ถ้าถูกผิวหนัง จะรู้สึกระคายผิว ถ้าสารซึมเข้าผิวหนังจะมีอาการเหมือนหายใจเข้าไป ทำให้ผิวแดง แห้ง แตก

หลักการปฐมพยาบาล

  1. ผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผิวหนัง ให้ล้างผิวหนังบริเวณที่ถูกสารเคมีโดยใช้น้ำสะอาดล้างให้มากที่สุด เพื่อให้เจือจาง ถ้าสารเคมีเป็นกรดให้รีบถอดเสื้อผ้าออกก่อน
  2. ผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้ไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว 
  3. ผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีในการสูดดม ให้ย้ายผู้ที่ได้รับสารไปที่อากาศบริสุทธิ์ ประเมินการหายใจ และการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ทำการ CPR

กรณีเกิดเพลิงไหม้
กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ระบุใน คู่มือการจัดการสารเคมีอันตรายสูง ทั้งกรณีเพลิงไหม้เล็กน้อย และกรณีเพลิงไหม้รุนแรง ดังนี้ 

กรณีเพลิงไหม้เล็กน้อย
ใช้ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ โฟม (Regular foam) หรือฉีดน้ำเป็นฝอย
กรณีเพลิงไหม้รุนแรง

  1. ใช้ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ หรือโฟมดับเพลิง และให้ฉีดน้ำเป็นฝอยเพื่อหล่อเย็นให้กับถังเก็บ
  2. ห้ามใช้น้ำฉีดไปยังบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้โดยตรง เพราะจะทำให้เกิดการกระจายตัวของเพลิงมากขึ้น
  3. หากกระทำได้ให้เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุที่ยังไม่เสียหายออกจากบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้
  4. ให้รายงานแจ้งเหตุ และปฏิบัติตามแผนตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
  5. แจ้งเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ไปยังโรงงานข้างเคียง เพื่อป้องกันเหตุหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเพลิงไหม้
  6. ในกรณีที่ยังไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ให้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นต้น เพื่อขอความช่วยเหลือในการควบคุมสถานการณ์

“โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้” ทำความรู้จัก “สารสไตรีนโมโนเมอร์”