การประชุมคณะกรรมการบริหารสถาน การณ์เศรษฐกิจ จากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบศ. ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่วันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย ตามข้อเสนอของทีมปฏิบัติการเชิงรุกทาบทามทั้งบริษัทเอกชนไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างรายได้ การลงทุน และเพิ่มโอกาสการจ้างงานภายในประเทศ
โดยมุ่งเน้นใน 4 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย
1. กลุ่มประชากรโลกที่มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen) ซึ่งรวมถึงนักลงทุนที่มีกำลังซื้อสูงภายใต้โปรแกรม (Elite Flexible Plus Program)
คุณสมบัติในการขอวีซ่า
- ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐในพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือในอสังหาริมทรัพย์ และมีรายได้ส่วนบุคคลขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีทรัพย์สินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- มีประกันสุขภาพจากบริษัทประกันที่ได้รับการรับรอง คุ้มครองค่ารักษา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปตลอดระยะเวลาถือวีซ่า
หลักฐานรับรองคุณสมบัติ
- หลักฐานการลงทุนในประเทศไทย
- หลักฐานแสดงรายได้ส่วนตัว เช่น ใบรับรองเงินเดือน หรือแผนบำนาญจากหน่วยงานต่างประเทศ
- ใบรับรองสถานภาพทางการเงินจากธนาคาร
สิทธิประโยชน์
- อายุวีซ่า 10 ปี
- ได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน (มีสิทธิพิเศษในการทำงานในประเทศไทย เช่น วิทยากร หรือที่ปรึกษาสูงสุด สัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง)
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากต่างประเทศ (รวมทั้งรายได้ที่นำเข้ามาในปีภาษีเดียวกัน)
- คิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ในประเทศไทยในอัตราคงที่ที่ 17%
- สิทธิในการเป็นเจ้าของ / เช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาว (รวมที่ดิน)
2.ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner)
คุณสมบัติในการขอวีซ่า
- ลงทุนขั้นต่ำ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐในพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือในอสังหาริมทรัพย์ และมีรายได้ขั้นต่ำปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมีรายได้ขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- มีประกันสุขภาพจากบริษัทประกันที่ได้รับการรับรอง คุ้มครองค่ารักษา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปตลอดระยะเวลาถือวีซ่า
หลักฐานรับรองคุณสมบัติ
- หลักฐานการลงทุนในประเทศไทย
- หลักฐานการรับเงินบำนาญตลอดช่วงอายุวีซ่า จากกองทุนบำเหน็จบำนาญใด ๆ ของรัฐ, บริษัทประกันที่ได้รับการรับรอง, บริษัทที่ก่อตั้งมานานกว่า 10 ปี
สิทธิประโยชน์
- อายุวีซ่า 10 ปี
- ได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน (มีสิทธิพิเศษในการทำงานในประเทศไทย เช่น วิทยากร หรือที่ปรึกาสูงสุด สัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง)
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากต่างประเทศ (รวมทั้งรายได้ที่นำเข้ามาในปีภาษีเดียวกัน)
- คิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมจากรายได้ในประเทศไทยในอัตราคงที่ที่ 17%
- สิทธิในการเป็นเจ้าของ / เช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาว (รวมที่ดิน)
3.กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Workfrom-Thailand professiona) ไม่จำกัดอายุ, ทำงานให้กับนายจ้างในต่างประเทศ และสามารถทำงานทางไกลจากประเทศอื่นได้, มีรายได้ที่มั่นคงจากต่างประเทศ, มี 2 ประเภทย่อย ได้แก่ (1) ผู้ประกอบอาชีพด้านดิจิทัล (2) พนักงานองค์กรขนาดใหญ่และใกล้จะเกษียณอายุ
คุณสมบัติในการขอวีซ่า
- มีรายได้ส่วนบุคคล (เงินเดือน รายได้จากการลงทุน เป็นต้น) ขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป / ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา / ได้รับเงินทุน Series A
- มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี
- มีประกันสุขภาพจากบริษัทประกันที่ได้รับการรับรอง คุ้มครองค่ารักษา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปตลอดระยะเวลาถือวีซ่า
หลักฐานรับรองคุณสมบัติ
สำหรับ Digital nomad:
- บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
- บริษัทเอกชนที่ดำเนินงานมาอย่างน้อย ปี และมีรายได้รวม > 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
สำหรับ Corporate Program:
- มีประสบการณ์ทำงานกับบริษัทใด ๆ ที่มีรายได้รายปีละ > 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สิทธิประโยชน์
- อายุวีซ่า 10 ปี
- ได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน (มีสิทธิพิเศษในการทำงานในประเทศไทย เช่น วิทยากร หรือที่ปรึกาสูงสุด สัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง)
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากต่างประเทศ (รวมทั้งรายได้ที่นำเข้ามาในปีภาษีเดียวกัน)
- คิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมจากรายได้ในประเทศไทยในอัตราคงที่ที่ 17%
- สิทธิในการเป็นเจ้าของ / เช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาว (รวมที่ดิน)
4.กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ
(High -skilled professional) ไม่จำกัดอายุ, มีประสบการณ์ทำงานและทักษะสูง และจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยให้บริษัทในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ตาม พรบ.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ.2560 หรือ เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัยที่จะเข้ามาทำงานในหน่วยงานรัฐ หรือ เข้ามาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
คุณสมบัติในการขอวีซ่า
- มีรายได้ส่วนบุคคล (เงินเดือน รายได้จากการลงทุน เป็นต้น) ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
- ประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี
- มีประกันสุขภาพจากบริษัทประกันที่ได้รับการรับรอง คุ้มครองค่ารักษา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปตลอดระยะเวลาถือวีซ่า
หลักฐานรับรองคุณสมบัติ มีประสบการณ์การทำงานกับ:
- บริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ หรือ
- บริษัทเอกชนในต่างประเทศ:
- ดำเนินการมาอย่างน้อย 3 ปี
- มีรายได้รวม > 50,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
- มีพนักงานมากกว่า 250 คนหรือประสบการณ์การทำงานวิจัยหรือการสอน
สิทธิประโยชน์
- อายุวีซ่า 10 ปี
- ได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน
- คิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ในประเทศไทยในอัตราคงที่ที่ 17%
- สิทธิในการเป็นเจ้าของ / เช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาว (รวมที่ดิน)
อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวมีรายละเอียดที่ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆหลายประ การที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายละเอียดของแผนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ และนำเสนอ ศบศ. พิจารณาต่อไป
มาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย มีเป้าหมายไว้ 3 ประการ ดังนี้
1. ดึงดูดผู้พำนักระยะยาวกว่า 1 ล้านรายเข้าสู่ประเทศไทย จากกลุ่มเป้าหมายทั้ง4กลุ่มดังกล่าว
2. กระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
3. เสริมสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
- 1 ล้านล้านบาท จากการใช้จ่ายภายในประเทศ คาดว่าผู้พำนักระยะยาวจะใช้จ่ายในประเทศ 1 ล้านบาทต่อปีต่อคนโดยเฉลี่ย
- 8 แสนล้านบาท จากการลงทุนในประเทศ ประมาณจากการลงทุนจากกลุ่มประชากรโลกประมาณ 1 หมื่นคน และกลุ่มผู้เกษียณอายุ 8 หมื่นคน
- 5 แสนล้านบาท จากรายได้ทางภาษีที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ 4 แสนคน
- กระตุ้นเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ ๆ สู่ประเทศไทย และเพิ่มโอกาสการจ้างงานในประเทศไทย
ข่าวเกี่ยวข้อง: