อนาคตชาวนาไทย “ลดเงินอุดหนุน แลกแบ่งข้าวจีทูจี”

28 พ.ค. 2564 | 11:00 น.
อัปเดตล่าสุด :28 พ.ค. 2564 | 18:49 น.
989

ผ่าอนาคตชาวนาไทย หลัง “ยุคโควิด-19”  “ปราโมทย์” ผวารัฐลดพื้นที่ปลูกข้าว หลังส่งออกพ่ายคู่แข่งยับ แนะลดเงินอุดหนุน แลกแบ่งเค้กข้าวจีทูจี

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดตัวเลขการส่งออกรข้าวไทย 4 เดือนแรก  (มกราคม-เมษายน 2564)  ได้เพียง 1.45 ล้านตัน ซึ่งถือว่ากว่าเป้าที่ควรอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านตัน ทำให้ไทยอยู่ลำดับที่ 4 รองจากอินเดีย เวียดนาม ปากีสถาน สาเหตุที่ข้าวไทยส่งออกได้น้อยลง ปัจจัยหลักยังคงเป็นเรื่องของราคาที่ไทยสูงกว่าคู่แข่ง ค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น  ค่าเงินบาท  แต่อย่างไรก็ดี  เชื่อว่าจากทุกหน่วยงานที่ได้แก้ไขปัญหาตู้คอนเทรนเนอร์ เชื่อว่าการขนส่งจากนี้จะคล่องตัวมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อต่อการส่งออกข้าวไทยในครึ่งปีหลัง เป้าส่งออกจะอยู่ที่ 6 ล้านตันข้าวสาร

 

ปราโมทย์ เจริญศิลป์

 

จากกรณีดังกล่าวนี้ นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  อนาคตของชาวนาไทย หลัง "ยุคโควิด-19"  รัฐบาลควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่าหลงทาง ตามข้าราชการที่เคยเสนอ ลดพื้นที่ปลูกข้าวจากข้อเท็จจริงไทยส่งออกข้าวต่อเนื่อง จากเคยนำเงินเข้าประเทศเกือบสองแสนล้าน วันนี้เหลือไม่ถึงแสนล้าน แน่นอนสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยได้เชิญกูรูวงการข้าวตลอดห่วงโซ่อุปทาน จัดเสวนาออนไลน์ผ่าน zoom แล้ว

 

“สาเหตุปัญหาเดิมๆ สินค้าของเราในตลาด Mass Market  ราคาสูงกว่าคู่แข่ง โดยข้าวขาว "พื้นแข็ง" ถูกอินเดียแย่งตลาดไป และก่อนหน้านี้ ข้าวขาว"พื้นนุ่ม" โดนเวียดนามชิงแชร์ไปเป็นเจ้าตลาดเรียบร้อยโรงเรียนลุงโฮจิมินห์  ไปแล้ว ส่วนข้าวหอมมะลิ กัมพูชา และ เวียดนาม ก็แย่งตลาดในสหรัฐอเมริกา เพราะปัจจุบัน คุณภาพ ข้าวไทยไม่แตกต่างกันนัก จากผลการทำทดสอบ (Blind test)

 

นายปราโมทย์ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลเดินหน้าลุยสุดซอย สนับสนุนทุกภาคส่วนให้สามารถนำเงินเข้าประเทศ สร้างโซลูชั่น "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" เน้นผลลัพธ์มากกว่า KPI หรือมากกว่าอันดับโลกของไทย ควรจะ เริ่มตั้งแต่ด้านการผลิต กระทรวงเกษตรฯ จะต้องส่งเสริมแนวคิดทฤษฎีจอมปลวก การรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิต โดยเฉพาะเรื่องการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อย่างแท้จริง

 

จากปัญหาต้นทุนข้าวเปลือก ตั้งแต่ ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าหนึ่งตัน ในขณะที่คู่แข่งขันเครมไว้ 1.5 ตันต่อไร่ ปัญหาเมล็ดพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ทำให้ผลผลิตขาดความสมบูรณ์  และ ระบบปฏิบัติการไม่เอื้ออำนวยทำให้ความชื้นของผลผลิตสูง  ปัญหาข้าวเปลือก "ปนรวม" (หลายพันธุ์ข้าวรวมกัน) จากพ่อค้าคนกลาง ผู้รวบรวมข้าวจากชาวนา ส่งเสริมระบบการผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ ในการผลิตแบบมีมาตรฐานใบรับรอง ด้วยนิยาม "ทำดีได้ไปต่อ" ทดแทนการใช้ "เงินอุดหนุนสร้างจูงใจ"

 

อนาคตชาวนาไทย

 

นายปราโมทย์ กล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดผ่าตัดใหญ่ ระบบงานวิจัยและ พัฒนาพันธุ์ข้าวให้ทันนานาประเทศ สร้างสรรค์สายพันธุ์ใหม่ หรือ พัฒนาต่อยอดสายพันธุ์เดิม ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และ ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรค   รื้อกฎหมายเก่า อำนาจซ้ำซ้อนของหน่วยงานราชการ ยุบย้ายควบรวมเพื่อบูรณาการให้รวดเร็วทันโลก สร้าง Smart Governor เคียงข้าง Smart Farmersสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในนิยามของผู้ผลิตวัตถุดิบในอุตสาหกรรมข้าวคุณภาพดี  สนับสนุนลดต้นทุน การผลิต นา (เมล็ดพันธุ์, เครื่องจักร),  น้ำ(ระบบหมุนเวียน) , นวัตกรรม (เทคโนโลยี)

 

"ด้านตลาด" การเชื่อมโยงตลาดตลอดห่วงโซ่ให้สมบูรณ์นั้น กระทรวงพาณิชย์จะต้องดึงผู้ส่งออกให้เข้าร่วมโครงการด้วยเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร และโรงสีเพื่อที่จะมีผู้ซื้อข้าวต่อที่แน่นอนตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนการส่งเสริมพาณิชย์ข้าวทั้งตลาดภายใน และ ตลาดส่งออก

 

พร้อม การสนับสนุนการรับซื้อข้าวเปลือก ชนิดต่างๆของโรงสี แบบต่อเนื่องครบวงจร ตามโครงการที่รัฐให้การส่งเสริม เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและร่วมมือกันตลอดห่วงโซ  การสนับสนุนจากลดต้นทุนการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ทั้ง ทางบก ทางทะเล และทางอากาศ  กระตุ้นให้เกิดความต้องการบริโภค ในตลาดภายในประเทศ เช่น ชุมชนช็อปชุมชน แอพคนละครึ่ง ภาคเกษตร เป็นต้น และ กระทรวงพาณิชย์ ต้องเพิ่มแรงจูงใจให้ กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับสิทธิ์ การส่งมอบข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี)