SCGP เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนาม

28 เม.ย. 2564 | 21:05 น.
1.1 k

SCGP ผนึกกำลังพันธมิตร เปิดโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” รณรงค์ให้ผู้บริโภครักสิ่งแวดล้อมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ด้วยการแยกกล่องกระดาษเหลือใช้ ส่งจุดรับ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนทั่วประเทศ

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการประสานงานความร่วมมือกับ 62 องค์กร จัดทำโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อร่วมกันรณรงค์ให้ผู้บริโภคใส่ใจในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้และจัดการกับวัสดุประเภทกระดาษที่เหลือใช้ เพื่อหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่อย่างมีคุณค่า ซึ่งรวมถึงการนำมารีไซเคิลเป็น “เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” นวัตกรรมการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อสังคม ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด 19 และสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยจะรวบรวมกระดาษตั้งแต่ 28 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคมนี้  

SCGP เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนาม

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด 19 ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนเตียงผู้ป่วย นำมาสู่การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดความต้องการเตียงสนามอีกเป็นจำนวนมากเพื่อรองรับผู้ป่วย SCGP จึงได้ออกแบบ “เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล 100% มีน้ำหนักเบาเพียง 14 กิโลกรัม ประกอบและติดตั้งได้สะดวกรวดเร็ว รองรับน้ำหนักในแนวราบได้ 100 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามจากความต้องการเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพีที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงนำมาสู่ความร่วมมือระหว่าง 62 องค์กร เพื่อเปิดจุดรับกล่องกระดาษที่เหลือใช้ นำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี

สำหรับประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในโครงการนี้ สามารถส่งมอบกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ณ จุดรับกระดาษขององค์กรที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 62 แห่ง โดย SCGP จะรวบรวมกลับมายังโรงงานเพื่อนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนต่อไป 

สำหรับองค์กร 62 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 1.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.กรีนสตาร์ 3.กรุงเทพมหานคร 4.คาร์นิวาล ซัพพลาย 5.แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) 6.ฉายา พิกเจอร์ 7.ชิปป๊อป 8.ชีวาทัย 9.ซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ 10.เซ็นทรัล รีเทล 11.เซ็นทรัลพัฒนา 12.เซ็ปเป้ 13.โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล 14.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 15.โตโยต้าบางกอก 16.ที.บี.ที. คอร์เปอเรชั่น 17.ไทยพีเจ้น 18.ไทยฟูจิพลาสติก 19.ไทยสพิริท 20.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 21.ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย 22.บอสสาร์ด (ประเทศไทย) 23.ไปรษณีย์ไทย 24.พานาโซนิค (ประเทศไทย) 25.พีทีจี เอ็นเนอยี 26.เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล 27.แพรคติก้า 28.ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) 29.มูราคามิ แอมพาส (ประเทศไทย) 30.เมืองไทยประกันชีวิต 31.โยโกฮามา รับเบอร์ (ประเทศไทย) 32.โรงพยาบาลสงฆ์ 33.โลตัส 34.วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 35.ศูนย์การค้าคอสโม บาซาร์ เมืองทองธานี 36.ศูนย์การค้าแปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา 37.ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ 38.ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค 39.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม)

40.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโดยสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม 41.สยามเซ็นเตอร์ 42.สยามดิสคัฟเวอรี่ 43.สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ 44.สยามพารากอน 45.สยามพิวรรธน์ 46.สยามมิชลิน 47.สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช 48.แสนสิริ 49.อาหารยอดคุณ 50.อินโนเว็ก โฮลดิ้ง 51.อีโค่ไลฟ์ 52.อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 53.เอ็น.ซี เฮ้าส์ซิ่ง 54.เอ็นทีเอ็น แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) 55.เอสซีจี 56.เอสซีจี เอ็กซ์เพรส 57.เอสซีจีพี 58.แอมเวย์ 59.แอล บี เอส แลบบอเรตอรี่ 60.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ 61.ไอคอนสยาม และ 62.ไฮ-เทค พรีซิชั่น โมลด์ (ไทยแลนด์) 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง