สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีความน่ากังวล แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะมีแนวโน้มที่ลดลงแต่ยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละวันก็ยังอยู่ในระดับที่สูง สถานพยาบาลที่ใช้รองรับผู้ป่วยติดเชื้อที่ก่อนหน้านี้เกิดวิกฤติเตียงผู้ป่วยไม่เพียงพอส่งผลให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นมาเพื่อใช้รองรับผู้ป่วยหลายแห่งด้วยกันเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนเตียงสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ
"ฐานเศรษฐกิจ" พาไปอัพเดทข้อมูลล่าสุดของ รพ.สนาม และ ฮอสพิเทล (Hospitel) ทั่วประเทศที่ใช้เป็นสถานที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่กันอีกรอบ
กทม.และปริมณฑล (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พ.ค.64)
- เอราวัณ 1 ศูนย์กีฬาสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา บางบอน เขตบางบอน 100 เตียง
-ครองเตียง 73 เตียง
-เตียงว่าง 27 เตียง
- เอราวัณ 2 ศูนย์กีฬาบางกอกอารีนา เขตหนองจอก 400 เตียง
-ครองเตียง 349 เตียง
-เตียงว่าง 51 เตียง
- รพ.เอราวัณ 3 (สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางมด) 400 เตียง
-ครองเตียง 112 เตียง
-เตียงว่าง 230 เตียง
- รพ.ราชพิพัฒน์ เขตทวีวัฒนา รองรับได้ 200 เตียง
-ครองเตียง 193 เตียง
-เตียงว่าง 7 เตียง
- รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน 1,000 เตียง
-ครองเตียง 584 เตียง
-เตียงว่าง 416 เตียง
รวมรองรับผู้ป่วย 2,042 เตียง ครองเตียงแล้ว 1,311 เตียง ยังว่างอยู่ 731 เตียง
- รพ.พระมงกุฎเกล้า 86 เตียง
- รพ.สนามชั่วคราว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในสนามบุณยะจินดา สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดี -รังสิต 200 เตียง
- ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต 470 เตียง
- ปตอ.1 กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (แจ้งวัฒนะ) 200 เตียง
- สนามมวยค่ายบุรฉัตร กองพลทหารช่าง อ.เมือง จ.ราชบุรี 100 เตียง
- สนามกีฬากลาง กรมการทหารช่าง อ.เมือง จ.ราชบุรี 400 เตียง
- โรงพลศึกษา ศูนย์พัฒนาการกีฬา กรมการทหารช่าง อ.เมือง จ.ราชบุรี 120 เตียง
- โรงรถ กองพันทหารช่าง กรมการทหารช่าง อ.เมือง จ.ราชบุรี 120 เตียง
- ศูนย์ฯ 8 (วัฒนาแฟคทอรี 2) จ.สมุทรสาคร 1,000 เตียง
- ศูนย์ฯ 9 (บ.วิท วอเตอร์ฯ) จ.สมุทรสาคร 485 เตียง
- ศูนย์ฯ 10 (สภาอุตสาหกรรม) จ.สมุทรสาคร 485 เตียง
- ศูนย์ฝึกบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จ.ฉะเชิงเทรา 150 เตียง
- รร.การบิน อาคารแผนกฝึก (ทอ.) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 120 เตียง
- สนามกีฬาอินดอร์สเตเดียมหัวหมากและสนามกีฬาแห่งชาติ (นิมิบุตร) 200 เตียง เปิดใช้แล้ว 130 เตียง
- โรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย อ.ปากเกร็ด รองรับผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียว 700 เตียง มี 2 อาคาร ๆ ละ 350 เตียง ครองเตียงแล้ว 250 เตียง
- รพ.สนาม หรือ ศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 10 สภาอุตสาหกรรม หมู่ที่ 1 ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร รับหญิงไทยติดเชื้อไม่แสดงอาการ (กลุ่มสีเขียว) 200 เตียง
- ศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 9 บ.วิท วอเตอร์ ซิสเต็ม ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบ.เดอะ มันนี่ จำกัด หมู่ที่ 1 ต.ท่าทราย อ.เมืองสมุทรสาคร รับดูแลผู้ป่วยชายไทย 400 เตียง
- รพ.สนามแห่งที่ 8 วัฒนาแฟคตอรี่ หมู่ที่ 3 ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร รับผู้ป่วยติดเชื้อแรงงานต่างด้าว
- รพ.สนาม ณ อิมแพค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี นนทบุรี อาคาร 1 และ 2 รองรับผู้ป่วยติดเชื้ออาการไม่รุนแรง (กลุ่มสีเหลือง) ได้อาคารละ 2,000 เตียง
- รพ.สนาม ณ อิมแพค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี อาคาร 3 สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ รองรับได้ 1,200 เตียง
ฮอสพิเทล (Hospitel) จำนวน 5 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พ.ค.64)
- รพ.กลาง(อาคารหอพัก) 44 เตียง ครองเตียง 27 เหลือ 17 เตียง
- โรงแรมเออริเเกนแอพอร์ต 120 เตียง ครองเตียง 90 เหลือ 30 เตียง
- โรงแรมบ้านไทยบูทีค 300 เตียง ครองเตียง 78 เหลือ 222 เตียง
- โรงแรมข้าวสาร พาเลส 90 เตียง ครองเตียง 88 เหลือ 2 เตียง
- อาคารพัชรกิติยาภา ม.นวมินทราชูทิศ 40 เตียง ครองเตียง 29 เหลือ 11 เตียง
รวมรองรับผู้ป่วยได้ 594 เตียง ครองเตียงแล้ว 312 เตียง ยังว่างอยู่ 282 เตียง
ภาคเหนือ
- ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา 1,500 เตียง
- ม.เชียงใหม่ (หอ 5 มช.) 360 เตียง
- รพ.กองบิน 41 รพ.ค่ายกาวิละ และอื่นๆ รวม 3,020 เตียง
- ม.พายัพ ร่วมกับ รพ.แมคคอร์มิก รพ.ปัญญา รร.อะโมราท่าแพ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปรับที่พักนานาชาติให้เป็น ฮอสพิเทลเพิ่มอีก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- อาคารยิมเนเซียม ชาติชายฮอลล์ ภายในสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ใช้รองรับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย อายุ 15-65 ปี
- ม.มหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ 300 เตียง
- ม.ราชภัฏสุรินทร์ จ.สุรินทร์ 60 เตียง
- ม.ราชภัฏอุดรธานี จ.อุดรธานี ที่ หอพักนักศึกษา ในเมือง เตรียมไว้เป็นสถานที่กักตัว จำนวน 3,000 เตียง
- หอพักนักศึกษา วิทยาเขตสามพร้าว จำนวน 500 เตียงหอพักนักศึกษา วิทยาเขตบึงกาฬ จำนวน 186 เตียง
- อาคารอเนกประสงค์ วิทยาเขตบึงกาฬ จำนวน 50 เตียง
ภาคกลาง
- ม.ศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จ.นครนายก ที่ รพ.ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 300 เตียง
ภาคตะวันออก
- ม.ราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ศูนย์บางคล้า 200 เตียง
- อาคาร 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ศูนย์บางคล้า 50 เตียง
- สัมมนาคาร บางปะกงปาร์ค บางคล้า สำหรับเป็นศูนย์พักพิงสำหรับผู้มีความเสี่ยงสูง จำนวน 30 ห้อง
- รพ.สนาม สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม อ.เขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี 232 เตียง
- รพ.สนาม ศูนย์การฝึกหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (เกล็ดแก้ว) อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 320 เตียง
- รพ.สนาม ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 174 เตียง
- รพ.สนามกบินทร์บุรี และในค่ายทหารเขตเมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี 200-300 เตียง
ภาคใต้
- ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช 100 เตียง
- ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 70 เตียง
- อาคารสปอร์ตคอมเพล็กซ์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 150 เตียง ดูแลอาการไม่รุนแรง
- ม.นราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส ที่ รพ.กัลยาณิวัฒนาการุณย์ 30 เตียง และโรงยิมเนเซี่ยมของมหาวิทยาลัยฯ 50 เตียง
- ม.ราชภัฏยะลา จ.ยะลา ที่ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ 60 เตียง และ อาคารกิจกรรมนักศึกษา จำนวน 200 เตียง
- ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ 144 เตียง
- ค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี และ ร.ร.ประจวบสามอ่าว 956 เตียง
- ม.สงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รองรับผู้ป่วยติดโควิดอายุน้อยกว่า 50 ปี ไม่แสดงอาการ 80-100 เตียง
- ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี รองรับได้ 700 เตียง
- ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับจ.ภูเก็ต ใช้พื้นที่ PSU Sports Complex รองรับ 150 เตียง
- ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง อาคารยิมเนเซียม ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองรับ 160 เตียง
- ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดพื้นที่หอพัก 7 จำนวน 70 ห้อง สังเกตอาการผู้มีภาวะเสี่ยง และหอพัก 6 เป็นพื้นที่กักกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์จาก รพ.ปัตตานี
- อาคารสถานีขนส่ง ถ.มหามงคล อ.เบตง จ.ยะลา 50- 70 เตียง
- สำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ขยายเฟส 2 จากเดิมเปิดไป 60 เตียง รองรับได้ 350 เตียง
รพ.สนามสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 เม.ย.64)
- กทม.และปริมณฑล จำนวน 1,701 เตียง คงเหลือ 1,030 เตียง
- ภาคกลาง จำนวน 678 เตียง คงเหลือ 610 เตียง
- ภาคใต้ จำนวน 1,944 เตียง คงเหลือ 1,621 เตียง
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,622 เตียง คงเหลือ 3,381 เตียง
- ภาคเหนือ จำนวน 1,098 เตียง คงเหลือ 295 เตียง
- ภาคตะวันออก จำนวน 315 เตียง
โรงพยาบาลสนาม 3 เหล่าทัพ รวม 14 แห่ง ทั้งหมด 1,979 เตียง มีผู้รักษาอยู่ 641 เตียง คงเหลือเตียงว่าง 1,338 เตียง (ข้อมูล ณ วันที่ 29 เม.ย. 64)
- กองทัพบก เปิดโรงพยาบาลสนาม 9 แห่ง รวม 1,013 เตียง
-เข้ารับการรักษาอยู่ 376 เตียง คงเหลือ 637 เตียง
- กองทัพเรือ เปิดโรงพยาบาลสนาม 3 แห่ง รวม 726 เตียง
-เข้ารับการรักษาอยู่ 156 เตียง คงเหลือ 570 เตียง
- กองทัพอากาศ เปิดโรงพยาบาลสนาม 2 แห่ง รวม 240 เตียง
-เข้ารับการรักษาอยู่ 109 เตียง คงเหลือ 131 เตียง
รพ.สนามเตรียมเปิดเพิ่ม
- รพ.สนาม ที่กองยกกระบัตร กรมพลาธิการทหารบก จ.นนทบุรี 50 เตียง
- สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ เขตทุ่งครุ 400 เตียง
- โกดังสเตเดียมของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) วัดสะพาน 100 เตียง
- รพ.บุษราคัม โดยกระทรวงสาธารณสุข ที่อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี จ.นนทบุรี รองรับ 1,200 เตียง ขยายได้ 5,000 เตียง รับผู้ป่วยโควิดอาการกลุ่มสีเหลือง จาก กทม. พร้อมเปิดกลางเดือนพฤษภาคม
สถาบันอุดมศึกษาที่เพิ่ม-ลดจำนวนเตียง เตรียมพร้อมสถานที่
- ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 470 เตียง
- ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก ที่รพ.พุทธชินราช บึงแก่นใหญ่ เพิ่มจาก 40 เตียง เป็น 100 เตียง
- ม.ราชภัฏลำปาง 800 เตียง
- ม.ทักษิณ จ.สงขลา ที่สำนักส่งเสริม บริการวิชาการและภูมิปัญญาพนางตุง ลดจาก 500 เตียง เหลือ 350 เตียง
- อาคารศูนย์ประชุมอันดามันพรรณราย ม.ราชภัฏภูเก็ต 265 เตียง ระยะแรกรองรับผู้ป่วยได้ 70 เตียง
รพ.สนามที่ปิดให้บริการ
- ม.แม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 1,000 เตียง เริ่มรับผู้สัมผัสเชื้อวันแรกเมื่อ 15 เม.ย.64 และรับผู้มีอาการดีขึ้นจาก รพ.ต่าง ๆ เข้ามา ล่าสุด (ข้อมูล ณ วันที่ 7 พ.ค.64) ได้จำหน่ายผู้ที่มีรักษาหายกว่า 400 ราย คงเหลือในระบบ 19 รายเตรียมส่งต่อเข้าไปพักรักษาตัวที่ สถานพักฟื้นและดูแลสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : MJU Well-beling Hospitech
อัพเดทข่าวที่เกี่ยวข้อง