กระทรวงสาธารณสุข ตอบ 20 คำถามอย่างละเอียด ไขข้อสงสัย “วัคซีนโควิด-19”

22 เม.ย. 2564 | 17:24 น.
1.9 k

กระทรวงสาธารณสุข ตอบ 20 คำถาม ไขข้อสงสัย “วัคซีนโควิด-19” แบบหมดเปลือก

จากกรณีที่การแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 กระทรวงสาธารณสุข ได้หามาตรการป้องกันและเร่งจัดหาวัคซีนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19  ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข ได้นำเข้าวัคซีน และ ได้ฉีดวัคซีน ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนไปแล้ว (28 ก.พ. - 21 เม.ย. 2564) รวม 864,840 โดส ใน 77 จังหวัดไปแล้ว แต่ก็ยังมีคำถามว่า วัคซีนโควิด19 ที่นำมาฉีดนั้นปลอดภัยต่อร่างกายหรือไม่

เพื่อเป็นการคลายข้อสงสัยต เรื่องวัคซีนโควิด กระทรวงสาธารณสุข ได้ตอบ 20 คำถาม ไขข้อสงวัยวัคซีนโควิด19 รายละเอียดดังนี้

Q1 : การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนใด?

คำตอบ :  ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนจากบริษัทผลิตวัคซีนรายใดพัฒนาได้ครบทุกขั้นตอน แต่มีการขึ้นทะเบียน และ ได้รับอนุญาตให้ใช้แบบกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Authorization : EUA) เนื่องจากเห็นว่าหากรอครบทุกขั้นตอนจะทอดเวลาให้เนิ่นช้าออกไปการแพร่ระบาดจะส่งผล ทั้งเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก

Q2: วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนทั่วโลกมีกี่ชนิด? ในไทยรับรองให้ใช้แล้วกี่ชนิด?

คำตอบ : ปัจจุบันวัคซีนโควัด-19 ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตให้ใช้แบบกรณีฉุกเฉิน (EUA) มีทั้งหมด 13 ชนิด ในนี้มี 3 ชนิดที่ได้รับการรับรอง EULจาก องค์การอนามัยโลก (WH0) ได้แก่ วัคซีนไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค แอสตร้าเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้แบบฉุกเฉินแบบมีเงื่อนไข ( Emergency Conditional Approval) โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. ของไทยมี 3 ชนิด ได้แก่ แอสตร้าเซนเนก้า ซีโนแวค และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน)

Q3 : การอนุญาตให้ใช้แบบ EUA, ได้รับการรับรอง EUL จาก WHOและการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไข คืออะไร?

คำตอบ:  Emergency Use Authorization (EUA) เป็นการอนุญาตให้ใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉินโดยหน่วยงานควบคุมกำกับของแต่ละประเทศ โดยพิจารณาจากผลการทดสอบวัคซีนในมนุษย์ (อาจมีผลเฟส 3แล้ว หรือไม่ก็ได้) ให้สามารถใช้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายในประเทศนั้นๆได้ Emergency Use Listing (EUL) เป็นการประเมินวัคซีนในภาวะฉุกเฉินทางกระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถใช้วัคซีนได้ในวงกว้างเนื่องจากระบบควบคุมกำกับของบางประเทศอาจไม่มีความพร้อม และไม่มีมาตรฐานเพียงพอ จึงให้ใช้การอ้างอิงจาก EUL โดยการประเมินจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญของ WHO การขึ้นทะเบียนฉุกเฉินแบบมีเงื่อนไข (Emergency Conditional Approval) อย.ของไทยใช้นั้น เป็นการพิจารณาจากผลการพัฒนาวัคซีนในทุกขั้นตอนและอนุญาตให้สามารถใช้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายในประเทศนั้นๆ ได้ โดยจะมีการเก็บผลการใช้วัคซีน และมีการ่รายงานต่อหน่วยงานควบคุมกำกับอย่างเคร่งครัด

Q4 : การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ได้อย่างไร?

คำตอบ : วัคซีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน หรือ เรียกว่าแอนติบอดี้ เพื่อคุ้มกันร่างกายจากเชื้อโควิด-19 เป็นกลไกการทำงานเช่นเดียวกับวัคซีนชนิดต่างๆ ที่จะคุ้มกันร่างกายจากโรคที่ผลิตวัคซีนขึ้นมาป้องกันโรคนั้นๆโดยเฉพาะ

Q5 : รับวัคซีนแล้วจะป้องกันร่างกายจากเชื้อโควิด-19 ได้ 100% หรือไม่?

คำตอบ : ปัจจุบันไม่มีวัคซีนประเภทใดป้องกันโรคได้ 100% ไม่ว่าจะเป็นโควิด-19 หรือโรคอื่นๆ ประสิทธิผลของวัคซีนจะมีลดหลั่นกันไป ดังนั้นแม้รับวัคซีนแล้วก็ยังมีโอกาสป่วยอีกได้

Q6 : เมื่อไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% ประชาชนควรฉีดวัคซีนหรือไม่ ?

คำตอบ : ประชาชนควรได้รับวัคซีน เพราะแม้ไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% แต่ช่วยลดโอกาสของการป่วย ลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราการเสียชีวิต รวมดถึงลดโอกาสการแพร่เชื้อให้บุคคลอื่น

Q7 : โอกาสรับเชื้อที่น้อยลงหลังรับวัคซีน ทำให้กลับไปใช้ชีวิตปกติได้หรือไม่ ?

คำตอบ : WHO ระบุว่าขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนที่สามารถป้องกันร่างกายมนุษย์จากเชื้อโควิด-19 รวมถึงประสิทธิผลของวัคซีนต่อเชื้อโรคแต่ละสายพันธุ์ จึงมีข้อแนะนำว่าแม้จะได้รับวัคซีนแล้วประชาชนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัดทั้งการสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง ลดการรวมกลุ่ม ล้างมือ บ่อยๆ

Q8 : สรุปได้ไหมว่าวัคซีนของผู้ผลิตรายใดปลอดภัยที่สุด?

คำตอบ: ไม่สามารถสรุปได้โดยการเปรียบเทียบ โดยวัคซีนแต่ละชนิดมีผลข้างเคียง เช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ แต่ประการสำคัญ คือ ก่อนได้รับอนุญาตให้ใช้วัคซีนทุกชนิด ผ่านการทบทวนข้อมูลความปลอดภัยโดยครบถ้วน และรอบคอบเมื่อเห็นว่าผลของวัคซีนมีประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียง WHO จะให้การรับรองและหน่วยงานที่กำกับด้านคุณภาพของแต่ละประเทศ ก็จะอนุญาตให้ใช้

Q9 : บุคคลใดบ้างที่ไม่ควรฉีดวัคซีน ?

คำตอบ:ผู้ที่มีประวัติการแพ้วัคซีนชนิดอื่นมาก่อน เป็นข้อควรระวังที่ต้องให้หมอผู้ที่จะอนุญาตให้ฉีดวัคซีนพิจารณาประวัติของการแพ้ที่ผ่านมาว่า มีอาการแพ้เป็นลักษณะใด รุนแรงหรือไม่ แล้วชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงที่ตามมากับประโยชน์จากการได้รับวัคซีน

Q10 : หากเคยเป็นผู้ป่วยติดเชื้อมาแล้วยังต้องรับวัคซีนให้ครบโดสหรือไม่?

คำตอบ : WHO ให้คำแนะนำว่ายังต้องรับวัคซีนให้ครบโดส เนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาแน่ชัดว่ากับผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว วัคซีนโดสเดียวจะส่งผลต่อการสร้างภูมิต้านทานอย่างไร ขณะเดียวกันก็ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาที่วัคซีนที่รับไปว่าจะสามารถจะปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคนานเพียงใด

Q11: ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายการฉีดวัคซีนหรือไม่ ?

คำตอบ  : กรณีวัคซีนที่รัฐเป็นผู้จัดหาตามนโยบายของรัฐบาล ประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการรับวัคซีน แต่ประชาชนแต่ละกลุ่มจะได้รับการจัดลำดับให้เข้าถึงวัคซีนในช่วงเวลาแตกต่างกัน เช่นกลุ่มที่ได้รับก่อนในช่วงแรกได้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในด่านหน้าที่ต้องสัมผัสกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยที่ต้องสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ผู้สูงอายุ ส่วนประชาชนทั่วไปจะเริ่มได้รับวัคซีนในเดือน มิ.ย. เป็นต้นไป ที่วัคซีนล็อตใหญ่เข้ามา

Q12 : ชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยสามารถรับวัคซีนหรือไม่ ?

คำตอบ : สามารถรับวัคซีนได้แต่ต้องจัดอยู่ในกลุ่มประชากรที่ถูกจัดลำดับความสำคัญว่าต้องได้รับวัคซีน เนื่องจาวัคซีนมีจำนวนจำกัดและจะทยอยส่งเข้ามายังประเทศไทย โดยวัคซีนจะถูกจัดสรรให้กับกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการควบคุมการระบาดของโรคก่อน

Q13 : วัคซีนที่ขึ้นทะเบียนในไทยรับมือกับไวรัสที่กลายพันธ์ได้หรือไม่?

คำตอบ : ขณะนี้วัคซีนที่กระจายฉีดให้ประชาชนในไทย 2 ชนิดหลัก กรณีของวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า ข้อมูลการวิจัยระบว่ามีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ์ได้ 70.4% ส่วนไวรัสที่ยังไม่มีการกลายพันธุ์ป้องกันได้ 81.5%

ส่วนซิโนแวค ข้อมูลการวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 3 ซึ่งดำเนินการในบุคลากรทางการแพทย์ในบราซิลที่มีการกลายพันธ์ของไวรัส พบว่ามีประสิทธิภาพป้องกัน 50.7% ถือว่าผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลก ขณะที่ป้องกันติดเชื้ออาการปานกลางจนถึงรุนแรงได้ 83.7% และป้องกันการติดเชื้ออาการรุนแรงได้ 100%

Q14: วัคซีนที่รัฐจัดหาจะเพียงพอหรือไม่ ?

คำตอบ : วัคซีนที่รัฐจัดหาจะอยู่ที่ประมาณ 63-70 ล้านโดส จะครอบคลุมประชาชนประมาณ 31-35 ล้านคน (คนละ 2 โดส) และมีอีกประมาณ 10ล้านโดส ครอบคลุม 5 ล้านคน เป็นวัคซีนทางเลือกที่เอกชนจะเป็นผู้นำเข้ารวม 2 ส่วนแล้วครอบคลุมประชาชน 40 ล้านคนซึ่งเพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่

Q15 : วัคซีนที่รัฐจัดหาจำกัดอยู่เพียง 2 ยี่ห้อ คือ แอสตร้าเซนเนก้า และ ซิโนแวคหรือไม่?

คำตอบ: ไม่ได้จำกัดอยู่เพียง 2 ยี่ห้อนี้เท่านั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการเจรจาโดยต่อเนื่องกับบริษัทผู้ผลิตหลายรายที่ประเมินแล้วว่าผ่านมาตรฐานที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยได้ แต่เวลานี้มีข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต เนื่องจากมีความต้องการใช้วัคซีนสูงจากทั่วโลก

Q16 : แผนการนำเข้าวัคซีนของประเทศไทย?

คำตอบ : วัคซีนที่รัฐจัดหาเจรจาแล้วขณะนี้มี ประมาณ 63.6 ล้านโดส แยกเป็นวัคซีนซิโนเวค ซึ่งจัดหาแบบเรงด้วนมาใช้ก่อน 2.5 ล้านโดส ซึ่งขณะนี้ส่งมอบแล้ว 2 ล้านโดส จะมีการส่งมอบอีก 5 แสนโดสปลายเดือน เม.ย. วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 61.1 ล้านโดส จัดหาเร่งด่วนเดือน มี.ค. 117,500 โดส และจะทยอยเข้ามายังประเทศไทยทั้งหมดภายในปีนี้ (1)เดือน มิ.ย.6 ล้านโดส (2) เดือน ก.ค.-พ.ย. เดือนละ 10 ล้านโดส และ (3 )เดือน ธ.ค.5 ล้านโดส

Q19 : การดำเนินการฉีดวัคซีนในไทยถือว่าล่าช้าหรือไม่?

คำตอบ : การฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายเป็นไปตามแผน โดยทยอยฉีดตามจำนวนวัคซีนที่เข้ามา ข้อมูล ณ วันที่ 17 เม.ย. มีการกระจายวัคซีนไปยังหน่วยบริการทั่วประเทศประมาณ 1 ล้านโดส ทยอยฉีดแก่กลุ่มเป้าหมายระยะแรกแล้ว 608,521 โดส แยกเป็นเข็มแรก 526,706 โดส และเข็มที่ 2(ครบตามเกณฑ์) ซึ่งใช้เวลาห่างจากเข็มแรกประมาณ 3 สัปดาห์ 81,815โดส โดยปริมาณผู้รับวัคซีนจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัคซีนที่เข้ามาและจัดสรรไปยังหน่วยบริการ

Q20 : ประชาชนทั่วไปที่ประสงค์รับวัคซีนสามารถติดต่อช่องทางใด?

คำตอบ: เมื่อวัคซีนทยอยเข้ามาในประเทศตามแผนการจัดหา ภาครัฐจะกระจายวัคซีนไปยังประชาชนผ่านฐานข้อมูลของส่วนต่างๆ ทั้ง สาธารณสุข มหาดไทย แต่ประชาชนที่ประสงค์จองเข้ารับวัคซีนด้วยตนเองสามารถดำเนินการผ่านไลน์ Official Account 'หมอพร้อม' โดยการสมัครเป็นเพื่อนกับไลน์หมอพร้อม กรอกข้อมูลต่างๆ ตามขั้นตอนและลงทะเบียนรับวัคซีนได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 64 เป็นต้นไป โดยภาครัฐจะสื่อสารทั้งเรื่องของวัน เวลา สถานที่การรับวัคซีนผ่านช่องทางดังกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง