ทิพยประกันภัย สืบสาน นวัตกรรมศาสตร์พระราชา

11 เม.ย. 2564 | 17:09 น.
อัปเดตล่าสุด :27 เม.ย. 2564 | 16:13 น.

 

ทิพยประกันภัย สืบสานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา นำคณะครูอาจารย์ร่วมกิจกรรม “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 12” ต้นกำเนิดปลานิลจิตรลดา ท่องพาสาน แลนด์มารค์ใหม่เมืองสี่แคว สักการะเทพเจ้าเมืองปากนํ้าโพ เรียนรู้วิถีเกษตรผสมผสาน มูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดนครสวรรค์ ส่งต่อการเรียนรู้วิถีใหม่สู่เยาวชนคนรุ่นใหม่

นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิพยประกันภัย ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา เพื่อนำมาต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมทางด้านการศึกษาให้กับเยาวชน โดยนำคณะครูอาจารย์จากทั่วประเทศรวม 300 กว่าคนจาก 151 สถาบัน ร่วมโครงการ “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา” ในรูปแบบ Edutainment : ทุกที่คือการเรียนรู้ ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ผสานการท่องเที่ยววิถีชุมชน และเวิร์กชอป ผ่านนวัตกรรมบอร์ดเกม เป็นการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิถีใหม่ในสถาบันการศึกษา ชุมชน และครอบครัว

ทิพยประกันภัย สืบสาน นวัตกรรมศาสตร์พระราชา

ทิพยประกันภัย สืบสาน นวัตกรรมศาสตร์พระราชา

ทิพยประกันภัย สืบสาน นวัตกรรมศาสตร์พระราชา

โครงการ “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา” ครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 12 ตอน “ต้นกำเนิดปลานิลจิตรลดา ท่องพาสาน แลนด์มารค์ใหม่เมืองสี่แคว สักการะเทพเจ้าเมืองปากนํ้าโพ เรียนรู้วิถีเกษตรผสมผสาน มูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดนครสวรรค์” ซึ่งมีคณะครูอาจารย์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากทั่วประเทศ 30 คน ร่วมเรียนรู้ และร่วมกิจกรรมถอดบทเรียน

กิจกรรมครั้งนี้ ได้ลงพื้นที่โครงการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา หนองกรด จ.นครสวรรค์ ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ 25 ไร่ จัดตั้งเป็นศูนย์สาธิต และให้บริการวิชาการเกษตร โดยจัดทำเป็นแปลงปลูกพืชแบบผสมผสาน รวมทั้งเป็นสถานที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชให้กับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ได้เข้ามาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 หน้า 23 ฉบับที่ 3,668 วันที่ 8 - 10 เมษายน พ.ศ. 2564