แม่โจ้เร่งวิจัยสายพันธุ์"กัญชาคุณภาพสูง"

22 มี.ค. 2564 | 15:19 น.

ม.แม่โจ้ ปลูกกัญชาเพื่อวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ที่ให้สารแคนาบินอยด์ ที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ ก่อนเผยแพร่องค์ความรู้ยกระดับเกษตรกร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปลูกกัญชาเพื่อวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ที่ให้สารแคนาบินอยด์ ที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ ก่อนเผยแพร่องค์ความรู้ยกระดับเกษตรกร

ม.แม่โจ้เร่งวิจัยสายพันธุ๋กัญชาที่ให้สารแคนาบินอยด์เพื่อใช้ทางการแพทย์

เร็ว ๆ นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีปลูกกัญชาโครงการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาที่ให้สารแคนาบินอยด์ที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัท อีสเทิร์น สเปคตรัม กรุ๊ป โอกาสนี้นายธนิสร  บุญสูง กรรมการผู้จัดการ บริษัทอีสเทิร์น สเปคตรัม กรุ๊ป จำกัด และทีมงาน  รวมถึงคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี  ณ ศูนย์วิจัยเกษตรใหม่ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ปัจจุบันกัญชาได้รับอนุญาตให้ปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านการแพทย์ภายใต้การกำกับและควบคุมของกฎหมาย  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนางานวิจัยที่มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เข้มข้นมีประสิทธิภาพ มาเป็นเครื่องมือสำหรับยกระดับภาคการเกษตร

นักวิจัยม.แม่โจ้เร่งศึกาาสายพันธุ์กัญชาที้ให้สารแคนาบินอยด์สูง  

วิจัยสายพันธุ์กัญชาที่ให้สารแคนาบินอยด์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

โครงการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาที่ให้สารแคนนาบินอยด์ที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้ร่วมดำเนินการในรูปแบบ PPP ที่มุ่งเน้นวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาบนฐานเศรษฐกิจชีวภาพ และเป็นแหล่งผลิตสายพันธุ์กัญชาที่สามารถเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมของประเทศ ให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ที่สูง ตลอดจนเผยแพร่พันธุ์และองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรและผู้ปลูกที่ได้รับอนุญาต อันจะทำให้เกิดความเข้มแข็งและความมั่นคงของระบบการทำการเกษตร ตลอดจน ยกระดับเศรษฐกิจให้กับทุกระดับต่อไป 

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา  นาเทเวศน์  หัวหน้าโครงการฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมตั้งแต่การเพาะปลูก การจัดการธาตุอาหาร โรคแมลง เทคโนโลยีสำหรับการปรับปรุงสายพันธุ์ การวิเคราะห์ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ ตลอดจนสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกัญชา

ดังนั้นโครงการวิจัยในครั้งนี้จึงได้ดำเนินการคลุมทั้ง 3 ระบบ คือ 1) Indoor สำหรับการทำ speed breeding ในการสร้างพันธุ์แท้ 2) Outdoor และ 3) Greenhouse สำหรับการปรับปรุงสายและทดสอบพันธุ์ที่เหมาะสม ทราบปริมาณสารสำคัญแต่ละชนิด เพื่อการนำไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดทางการแพทย์  และสามารถสร้างสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงตามความต้องการของตลาดได้  เป็นการสร้างแบบมั่นคงทางด้านฐานพันธุรรมของกัญชาไทย ที่นำไปสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต 

นักวิจัยม.แม่โจ้เร่งศึกษาสายพันธุ์กัญชา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง