4 บทเรียนปีโควิด รู้ค่าคน ส่งเสริมประสิทธิภาพงาน

06 ก.พ. 2564 | 17:53 น.

แพคริม กรุ๊ป เผย 4 บทเรียน การพัฒนาคนพัฒนางาน พบ ผู้นำรู้คุณค่าคนมากขึ้น ในขณะที่การพัฒนาทักษะใหม่ๆ ถือเป็นจิตสำนึกที่ผู้นำพึ่งกระทำต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบูรณาการการพัฒนาคนเข้ากับเนื้องาน

นางพรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ แพคริม กรุ๊ป ได้เปิดเผยในงาน สัมมนาออนไลน์ “How HR can make a greater impact in the 2nd wave” (HR จะสร้างผลกระทบที่มากขึ้นได้อย่างไร ในคลื่นระลอกสอง) ว่า จากปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยประสบกับวิกฤติการณ์โควิด -19 ตลอดทั้งปี แพคริมได้คุยกับผู้นำองค์กรหลายคน พบว่าหลายองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองมากในปีที่ผ่านมา โดยพบว่ายังมีช่องว่างในด้านของความเร็วของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ยังไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงภายนอกที่เกิดขึ้นในอัตราเร่ง

4 บทเรียนปีโควิด รู้ค่าคน ส่งเสริมประสิทธิภาพงาน

ปีที่ผ่านมาหลายคนแข็งแรงขึ้น หลายองค์กรมีการก้าวกระโดด โดยสรุปมี 4 เรื่องหลักเกี่ยวกับการพัฒนาคน ที่ได้เรียนรู้จากผู้นำองค์กรไทยในปีที่ผ่านมา ดังนี้

1.More Human & Humble 
จากการที่ได้คุยกับผู้นำหลายคน หนึ่งปีที่ผ่านมาสัมผัสได้เลยว่าผู้นำหลายคนเปลี่ยนไปคือ humble ลง และก็เป็นมนุษย์มากขึ้น เพราะเรารู้ว่าเรากำลังอยู่กับโลกที่มันไม่เหมือนเดิมจริงๆ เกิดการเริ่มยอมรับว่า คนเราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง พอยอมรับแบบนั้น มันจะ force ในทางอ้อมให้เราฟังเก่งขึ้น ให้เกียรติคนอื่นมากขึ้น รวมถึงเห็นความสำคัญของทีมเวิร์คมากขึ้น ต้องบูรณาการการทำงานเป็นทีมมากขึ้น ที่สำคัญ คือ ในความเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง คนเราจะยิ่งเห็นใจซึ่งกันและกัน มองเรื่องพื้นฐานของความยั่งยืนมากขึ้น รวมไปถึงการยอมรับและให้คุณค่าในความหลากหลายของความคิดมากขึ้น 

2 People Capability Gap ที่กว้างขึ้น
การยกระดับศักยภาพของคนยังเป็นความท้าทาย แม้ก่อนโควิด จะรู้ว่า people capability มีความท้าทายมากมายในองค์กร สิ่งเหล่านี้อาจจะสั่งสมกันตั้งแต่ในอดีต เพราะดิสรัปชันทำให้หลายทักษะอาจไม่เวิร์ค แต่พอโควิดมา ยิ่งทำให้ช่องว่างนี้ยิ่งใหญ่ขึ้น และไม่แปลกใจเลยที่มันทำให้ people capability building เป็นเป้าหมายสำคัญของผู้นำองค์กร เพราะมันคือความอยู่รอดขององค์กร ความสามารถทางการแข่งขันจริงๆ ขององค์กร และเราพูดถึง การอยู่รอด (survival), ความยืดหยุ้น (resilience) และ  การปรับตัว (adaptability) ซึ่งมันอยู่ที่ขีดความสามารถของแต่ละคน ว่าตามทันคนอื่นหรือเปล่า 

ในขณะเดียวกัน จากบทเรียนที่ได้รับ ทำให้รับรู้ได้ว่า ความอยู่รอดขององค์กร คือ ความอยู่รอดของสังคม การพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้กับบุคลากร ถือเป็นจิตสำนึกตัวหนึ่งของผู้นำ 

3 Soft skills are Power skills
Power skills จะสร้างได้อย่างไร คำว่า soft skills ในอดีตวันนี้เราเรียก Power skills ซึ่งกูรูหรือผู้นำทางความคิดด้านความเป็นผู้นำหรือทรัพยากรมนุษย์ Josh Bersin บอกว่าเรื่องของ พาวเวอร์สกิลเป็นสิ่งที่สำคัญ  ในอดีตเราเรียกซอฟต์

วันนี้องค์กรต้องสร้าง Hard Skills หรือ Technical Skills ควบคู่กัน และต้องอัพเกรดต่อเนื่องตลอดเวลา เพราะ Hard Skills หมดอายุเร็วจากสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม Hard Skillls สร้างได้ง่ายกว่า Power Skills เพราะ Hard Skillls ถ้าสร้างไม่ทัน ก็สามารถซื้อเข้ามาใช้ได้เลย หรือหาพันธมิตร ในขณะที่ Power Skills ต้องอาศัยความมุ่งมั่น อดทนและกระบวนการในการสร้าง แต่สร้างแล้วมันอยู่กับเราตลอดชีวิต เช่น วินัยการวางแผนหรือจัดการเวลา ถือเป็น Soft Skills ตัวหนึ่งที่สร้างแล้วมันติดตัวเราจริงๆ  วันนี้เรายิ่งต้องมีวินัยในการจัดการเวลาของเราให้ดี เห็นคุณค่าของเวลา


อีกตัวหนึ่ง คือ ทักษะการสื่อสาร สร้างแล้วมันอยู่กับตัวเราเอง ทำให้คนของเรา มี adaptability agile มีความอดทนกับอะไรต่างๆ ไม่ยอมแพ้กับอุปสรรค
Power Skills  คือ พื้นฐานของความอยู่รอดของมนุษย์และความสุขของมนุษย์วันนี้ เพราะเมื่อคนเราคิดดีแล้ว มีความแข็งแรงจากข้างในแล้ว เราสามารถเผชิญกับอะไรยากๆ ได้ดีกว่า แล้วพอเวลาเราพัฒนาเทคนิคัลสกิลลงไปมันจะทวีคูณ มันคือพื้นฐานของ human productivity ขีดความสามารถและ ความ resilience ขององค์กร

4 Technology enables scalability
เทคโนโลยีมีความสำคัญมากในวันนี้  เพราะจากผลการสำรวจองค์กรมองว่า คนแค่ประมาณครึ่งหนึ่งของเขา มีขีดความสามารถพอจะรองรับความท้าทายในธุรกิจในวันนี้และในอนาคต นั่นคือโจทย์ใหญ่มาก เราจะสเกล ยกระดับขีดความสามารถของคนภายในเวลาอันสั้น เพราะวันนี้เราแข่งกับเวลา รวมทั้งความท้าทายในเรื่องของงบประมาณ traditional training ซึ่งได้ผลในอดีตแต่ปัญหาในวันนี้ คือ มันไม่สามารถสเกลได้ เพราะต้นทุนสูง จึงจำกัดการทำได้ไม่กี่คน 

วันนี้ในวงการ Learning &Development จึงมีการพูดถึง Capability Academies ปัจจุบันมีลูกค้าหลายเจ้ามาปรึกษาแพคริมทำเรื่องนี้อยู่ หัวใจของเรื่องนี้คือการบูรณาการการพัฒนาคนเข้ากับเนื้องาน ที่เรียกว่า “in the flow of work”  HR กับ BU (business units= หน่วยธุรกิจ) หรือ Line Leaders ต้องไม่มีรอยต่อ ต้องเป็นพาร์ทเนอร์ชิพกัน