“TPI” โชว์ผลงาน ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้  

25 ธ.ค. 2563 | 14:07 น.
2.8 k

“TPI” โชว์ผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโควิด-19  ทั้ง “อาหารเสริม-น้ำยาบ้วนปาก-น้ำยาเช็ดพื้น”  ดึงมหิดล-จุฬาฯ ร่วมการันตี

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ทำให้หลายหน่วยงานต่างคิดค้น พัฒนาเพื่อหาวิธี ป้องกันและฆ่าเชื้อโรค รวมถึงเครือทีพีไอ (TPI)  ที่ล่าสุดได้วิจัย “ทีพีไอ ซูเปอร์แคลเซียม พีเอช12”  (TPI Super Calcium PH12)” สำหรับใช้ปรับปรุงดินเพาะปลูกพืช และพบว่าสามารถกำจัดเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ “ไวรัสโควิด-19” ซึ่งอยู่ในตระกูลอาร์เอ็นเอไวรัสได้จริง

 

นายกล้าพันธุ์ เหงากุล ที่ปรึกษาด้านเกษตรอินทรีย์ บริษัท ทีพีไอชีวะอินทรีย์ จำกัด เปิดเผยว่า ทีพีไอได้ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์หลายชนิดไปให้ห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทดสอบ โดยหน่วยงานที่รับทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับสัตว์จะเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

 

1.ผงโรยคอกสัตว์เท้ากีบ “ไมโครมน็อค" (Microme Knox) ซึ่งต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ทีพีไอ ซูเปอร์แคลเซียม พีเอช12 สำหรับใช้ปรับปรุงดินเพาะปลูกพืช

2.น้ำยาเช็ดพื้นผิว “ไมโครมน็อค โซลูชั่น" (Microme Knox Solution)

3.น้ำยาบ้วนปาก “แปรงตัง มารี โรส เมาธ์วอช ไลท์" (Printemp Marie Rose Mouthwash Light) ซึ่งมี 2 กลิ่น คือกลิ่นมินท์กับกลิ่นขิง และกลิ่นขิง

4.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมและวิตามินซีจากธรรมชาติ “ไบโอน็อค"(Bio Knox) เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้มีผลกำจัดเชื้อโควิด-19 ได้จริง

 

บริษัทได้รับผลยืนยันประสิทธิภาพของการกำจัด RNA Virus และ DNA Virus โดยได้รับการยืนยันจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากผลการทดลองกับสัตว์เลี้ยงต่างๆ ตั้งแต่ ไก่ สุกร โค แพะ แกะ สุนัข และแมว ทางห้องปฏิบัติการ R&D ของบริษัทฯ จึงได้ปรับปรุงสาร TPI Super Calcium PH12 ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นเหมาะสมกับการใช้บริโภคกับมนุษย์ และส่งให้คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วิเคราะห์

“TPI” โชว์ผลงาน ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้  

ได้แก่ น้ำยาบ้วนปากแปรงตัง มารีโรส (PRINTEMP MARIE ROSE MOUTH WASH) ซึ่งมี 2 กลิ่น คือ กลิ่นมิ้นท์ และกลิ่นขิง และผลิตภัณฑ์ไบโอน็อค (Bioknox) ชนิดผงสำหรับละลายน้ำดื่มฆ่าเชื้อโรค และน้ำยาเช็ดพื้นผิวไมโครโซลูชั่น (Microme Knox Solution) ทั้งหมดมีผลกำจัดเชื้อโรคโควิด-19 ได้จริงและไม่เป็นอันตราย ขณะนี้พนักงานทีพีไอ รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวร่วมแสนคนก็ได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปแล้ว และได้รับผลดีโดยไม่ปรากฏว่ามีผู้ติดโรคโควิด-19 เลย

 

ขณะที่ ศ.(กิตติคุณ) ดร.โสภณ เริงสำราญ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งว่าด้วย “เชื้อตระกูลอาร์เอ็นเอไวรัส ไม่สามารถอยู่ในสภาวะที่เป็นด่างจัดได้” ซึ่งไวรัสตระกูลอาร์เอ็นเอนี้มักเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์และสัตว์ ทำให้ทางทีพีไอนำงานวิจัยนี้ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด

 

ศ.(กิตติคุณ) ดร.ประกิตติ์สิน สีหนนทน์ อาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการต่อยอดงานวิจัยนี้ว่า การที่ปศุสัตว์หลายชนิด เช่น สุกร โค กระบือ มักพบปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นเชื้ออาร์เอ็นเอไวรัสเช่นกัน ทำให้ทางทีพีไอพัฒนาผลิตภัณฑ์ไมโครมน็อค เป็นผงโรยตามคอกสัตว์หรือโรยที่แผลของสัตว์ โดยผ่านการทดสอบสรรพคุณจากห้องปฏิบัติการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนนำไปให้เกษตรกรทดลองใช้แล้วพบว่าได้ผลดี

 

“ลักษณะโครงสร้างของอาร์เอ็นเอไวรัส มันจะประกอบด้วยเบส (Base) แล้วก็จะมีน้ำตาลไรโบส (Ribose) แล้วก็ประกอบไปด้วยฟอสเฟต (Phosphate) โครงสร้างยูนิตเล็กๆ ซึ่งแต่ละยูนิตเราเรียกว่านิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ฉะนั้นสายของอาร์เอ็นเอก็จะประกอบไปด้วยนิวคลีโอไทด์หลายยูนิตด้วยกัน แล้วปรากฏว่างานวิจัยมันพิสูจน์พบว่าความเป็นด่างมันทำลายตัวฟอสเฟต ซึ่งเป็นตัวที่เชื่อมนิวคลีโอไทด์ของแต่ละตัวออกได้ เพราะฉะนั้นไวรัสก็โดนทำลาย”

 

ทีพีไอสนใจว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่จะใช้ทำอะไรกับสถานการณ์นี้ได้บ้าง และได้นำผลิตภัณฑ์หลายชนิดไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ ผลิตภัณฑ์ไมโครมน็อค โซลูชั่น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกับไมโครมน็อคแต่เป็นรูปแบบน้ำ พบว่าสามารถฆ่าเชื้อกลุ่มโคโรนาไวรัส รวมถึงโควิด-19 ได้เกือบ 100% เหมาะสำหรับใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับเช็ดหรือฉีดพ่นสิ่งของต่างๆ ซึ่งในช่วงที่เริ่มมีสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ใหม่ๆ เจ้าของหรือผู้รับผิดชอบอาคารสถานที่ต่างๆ มักนิยมซื้อน้ำยาจากต่างประเทศที่มีราคาสูง ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ไมโครมน็อค โซลูชั่นนั้นราคาถูกกว่า

“TPI” โชว์ผลงาน ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้  

เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปาก แปรงตัง มารี โรส ในการทดลองในห้องปฏิบัติการก็พบว่าสามารถฆ่าเชื้อโคโรนาไวรัส รวมถึงโควิด-19 ได้เช่นกัน ซึ่งคล้ายกับที่ประเทศเยอรมนี ที่มีการนำน้ำยาบ้วนปากหลายยี่ห้อมาทดลองในห้องปฏิบัติการ แล้วพบสามารถลดจำนวนเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่พบมากในน้ำลายได้ จึงเหมาะสำหรับทันตแพทย์ที่ต้องทำงานกับช่องปากของผู้ป่วย

 

ไมโครมน็อคยังถูกนำมาต่อยอดเป็น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไบโอน็อค มีลักษณะเป็นผงชงดื่มกับน้ำ ซึ่งในตอนแรกตนก็ไม่กล้าดื่ม กระทั่งทราบว่า ประธานทีพีไอ คือ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ก็ดื่มเครื่องดื่มนี้เช่นกัน ทำให้ตัดสินใจลองดื่มบ้างเพราะเห็นว่าปลอดภัย ไบโอน็อคยังมีส่วนผสมของขิงซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แม้ยังไม่มีผลพิสูจน์ว่าสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยวิธีการดื่ม แต่การดื่มไบโอน็อคเป็นประจำจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้สุขภาพแข็งแรง อันเป็นหนทางลดความเสี่ยงจากการป่วยจากโรคติดต่อได้

 

ด้าน ศ.ดร.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทีพีไอได้ส่งตัวอย่าผลิตภัณฑ์มาให้ทดสอบ ซึ่งรวมถึงไบโอน็อคด้วย โดยในห้องปฏิบัติการเวลานั้นมีตัวอย่างเชื้อ SARS-CoV-2 หรือไวรัสโควิด-19 อยู่พอดี จึงได้นำผลิตภัณฑ์มาใส่รวมกับเชื้อแล้วทิ้งไว้ พบว่าเพียงไม่กี่นาทีเชื้อไวรัสดังกล่าวก็ตายแล้ว เท่ากับว่าไบโอน็อคมีส่วนผสมบางอย่างที่สามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ อย่างไรก็ตาม ย้ำว่าเป็นเพียงการทดสอบในหลอดทดลองเท่านั้น

 

ขณะที่นายสันธาน ชัยพันธ์วิริยาพร รองผู้จัดการใหญ่ (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้นำทีพีไอ ซูเปอร์แคลเซียม พีเอช12 ไปทดลองใช้แก้ไขปัญหาการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ อาทิ ในพื้นที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เลี้ยงโคที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ต้องเผชิญกับโรคดังกล่าวบ่อยครั้ง หลังทดลองใช้งานจริงเป็นเวลา 2 ปี พบว่าสามารถยับยั้งการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยจากเชื้อดังกล่าวได้

“TPI” โชว์ผลงาน ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้  

โดยโรคปากเท้าเปื่อยเกิดจากอาร์เอ็นเอไวรัสชนิดหนึ่งในกลุ่มที่ 4 ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับเชื้อโคโรนาไวรัสที่กำลังระบาดอยู่ในจีนและอีกหลายประเทศขณะนี้  โดยวิธีการใช้คือแบบผงฉีดพ่นไปตามพื้นคอก บาดแผลของสัตว์ที่ติดเชื้อ รวมถึงซากสัตว์ที่ติดเชื้อแล้วล้มตาย อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้นยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะใช้กับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ได้หรือไม่ เพราะเป็นเชื้อชนิดใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

สวทช. “บิ๊กคลีนนิ่ง” อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ แบบล้ำ ๆ ด้วยหุ่นยนต์และนวัตกรรมไทย

ผลงานเด่น อว. ปี 63 "วัคซีนโควิด-ดาวเทียม"

“เทวินทร์” : วัคซีนโควิด-19 ของคนไทย เพื่อคนไทย