สนข.เทงบ 34.5 ล.ลุยศึกษาพัฒนา “ตั๋วร่วม”

05 พ.ย. 2563 | 13:43 น.
571

สนข.เดินหน้าศึกษาโครงการพัฒนาระบบตั๋วร่วม 34.5 ล้านบาท หวังบริหารแนวทางโครงการฯ มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง จ่อร่างกฎหมายตั๋วร่วม คาดพัฒนาระบบหัวอ่านไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2564

นางวิไลรัตน์  ศิริโสภณศิลป์  รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงงานสัมมนาโครงการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมครั้งที่ 1 ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมงาน ว่า กระทรวงคมนาคม และ สนข. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มอบนโยบายให้ดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งมวลชนโดยใช้บัตรโดยสารใบเดียวสามารถเดินทางได้ทุกระบบขนส่งและสนับสนุนให้ประชาชนเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากรถยนต์ส่วนบุคคลมาสู่ระบบขนส่งมวลชน เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ระบบขนส่งมวลชนเบื้องต้นจะศึกษาโครงการฯ ราว 20 เดือน (กันยายน 2563-เมษายน 2565) คาดว่าจะสามารถพัฒนาระบบหัวอ่าน ไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2564

 

นางวิไลรัตน์  กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา สนข. ได้เตรียมนำระบบตั๋วร่วมและค่าโดยสารร่วมมาประยุกต์ใช้งาน โดยได้ดำเนินโครงการศึกษาและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ประกอบด้วย 1.โครงการศึกษาการใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน และการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการรายได้ (ปี 2552) ซึ่งเป็นการศึกษาวางแผนเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วมที่เหมาะสมสำหรับใช้กับระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และสามารถใช้ร่วมกับระบบการจ่ายเงินอื่น ๆ ได้ ตลอดจนศึกษาถึงแนวทางในการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการรายได้ (Clearing House) ซึ่งจะเป็นศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสารและจัดสรรรายได้แก่ผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนแต่ละราย ตลอดจนผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่เข้ามาร่วมกับระบบตั๋วร่วม

2.โครงการศึกษาพัฒนาระบบค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบและการเชื่อมต่อ (ปี 2553) ได้ศึกษาถึงโครงสร้างค่าโดยสารร่วม(Common Fare) และรูปแบบของค่าโดยสารที่เหมาะสมสำหรับประยุกต์ใช้ร่วมกับตั๋วโดยสารร่วมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

3.โครงการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (Program Management Services: PMS) (ปี 2560) เป็นการดำเนินการศึกษาออกแบบระบบตั๋วร่วมระบบการเชื่อมโยงข้อมูล และระบบของศูนย์การบริหารจัดการรายได้ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการสนับสนุน สนข.ในการคัดเลือกผู้จัดทำ และควบคุมงานการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง

และ 4.โครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) (ปี 2560) เป็นการจัดทำระบบการเชื่อมโยงข้อมูลและระบบบริหารจัดการรายได้จากค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนที่จะร่วมกับระบบตั๋วร่วม โดยได้พัฒนาระบบบัตรแมงมุม เพื่อให้สามารถนำมาใช้เป็นตั๋วร่วมของระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานในการบริหารศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง ที่ดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในการใช้งาน "บัตรแมงมุม" จึงยังพบปัญหาบางประการในการเข้าร่วมระบบอีกทั้งหน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ ยังไม่ได้มีการเจรจาเชิงธุรกิจในการกำหนดและประกาศใช้โครงสร้างอัตราค่ำโดยสารร่วม (Common Fare) ซึ่งจะใช้เป็นอัตราค่าโดยสารสำหรับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่เข้าร่วมในระบบตั๋วร่วม

 

ทั้งนี้ สนข. จึงได้จัดทำโครงการแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลการบริหารจัดการตั๋วร่วมให้สมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีแนวคิดในการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาระบบตั๋วร่วมและรูปแบบการชำระเงินประเภท Open-loop System บนพื้นฐานการใช้ Account BasedTicketing (ABT) และการรองรับระบบ EMV ในการชำระค่าโดยสาร รวมถึงการใช้งานและชำระเงินกับบริการอื่น ๆ นอกภาคขนส่ง (Non-Transit) ได้

สนข.เทงบ 34.5 ล.ลุยศึกษาพัฒนา “ตั๋วร่วม”

 

สำหรับการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมในครั้งนี้ จะนำผลลัพธ์หลักที่สำคัญที่ได้ไปใช้เพื่อการดำเนินงานในอนาคต ได้แก่ 1.แนวทาการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตั๋วร่วมของประเทศไทย ให้รองรับการชำระคำโดยสารด้วยบัตรแมงมุม บัตร MRT Pus บัตร MRT บัตร Rabbit และบัตรอื่นๆ ในรูปแบบ Account BasedTicketing (BT) ตลอดจนในอนาคตสามารถพัฒนาจากระบบ Closed -(oop เป็นบริการบนระบบ Open-loop สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในอนาคต รวมถึงการใช้งานและชำระเงินกับบริการอื่นนอกภาคขนส่ง (Non-Transit)

2.กลไกหรือแผนการกำกับดูแลการบริหารงานระบบตั๋วร่วมที่ชัดเจน และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางการติดตามประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาระบบและการใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพในระยะยาว

3.นโยบายและระบบโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม (Common Fare) ของระบบขนส่งมวลชน ที่สามารถดึงดูดให้มีผู้มาใช้งานระบบขนส่งมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนค่าธรรมเนียมของระบบตั๋วร่วมที่เป็นธรรมแก่ผู้ให้บริการ และไม่เป็นภาระแก่ผู้ใช้บริการ

4.รูปแบบเงินทุนและกลไกด้านการเงินของภาครัฐในการชดเชยรายได้จากค่าโดยสารร่วม และสนับสนุนการพัฒนาและการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

5.ร่างกฎหมายในการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ.....)

 

อย่างไรก็ตามเป้าหมายพัฒนาระบบตั๋วร่วมในระยะแรกนั้น คือต้องการเชื่อมต่อระบบจัดเก็บค่าโดยสารของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบได้ เพื่อรองรับการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแมงมุม บัตร MRT Plus บัตร MRT และบัตร Rabbit และในระยะต่อไป และมุ่งพัฒนาระบบตั๋วร่วมและรูปแบบการชำระเงินแบบ Open-loop บนพื้นฐานการใช้ Account Based Ticketing หรือ ABT รวมถึงการรองรับระบบ EM ในการชำระคำโดยสาร ตลอดจนการใช้งานและชำระเงินกับบริการอื่นนอกภาคขนส่งได้ในอนาคต

 

อ่านข่าว “ตั๋วร่วม” ส่อล่ม หลังบีทีเอส-MRT อัพข้ามระบบไม่ทัน 1 ต.ค.นี้ 

อ่านข่าว ตุลาคมนี้ ได้ใช้ ตั๋วร่วม รถไฟฟ้า