แม่โจ้-มช.ปั้น ชาวนา4.0สร้างเกษตรแม่นยำ ขยายผล‘ข้าวลำไอออน’

24 ก.ย. 2563 | 11:20 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ย. 2563 | 18:42 น.

เร่งยกระดับเกษตรกรภาคเหนือสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ม.แม่โจ้จับมือ 3 บริษัทเทคโน โลยีเครือข่าย ปั้นนวัตกรรมการเกษตรแม่นยำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขยายผลวิจัยข้าวพันธุ์ใหม่ เพื่อป้อนตลาดอย่างเจาะจง

เร่งยกระดับเกษตรกรภาคเหนือสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ม.แม่โจ้จับมือ 3 บริษัทเทคโน โลยีเครือข่าย ปั้นนวัตกรรมการเกษตรแม่นยำ มช.ขยายผลวิจัยข้าวพันธุ์ใหม่ เพื่อป้อนตลาดอย่างเจาะจง  
    

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงนี้สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ขับเคลื่อนแผนงานเพื่อยกระดับภาคเกษตรของภาคเหนือสู่เป้าหมายสมาร์ทฟาร์มเมอร์อย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จับมือ 3 บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีเครือข่าย ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมการเกษตรแม่นยำลดความเสี่ยงให้เกษตรกร  ด้านมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ขยายผลงานวิจัยข้าวพันธุ์ใหม่ “มช.-ราชบุรี” โมเดล พัฒนาข้าวลำไอออน ที่ป้อนตลาดอย่างเจาะจง  
    

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Modern Agriculture Innovation Center - Maejo university) ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ 3 บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีและระบบเครือข่าย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ให้ภาคการเกษตร และสังคมดิจิตอลหรือที่เกี่ยวข้อง 
  แม่โจ้-มช.ปั้น ชาวนา4.0สร้างเกษตรแม่นยำ ขยายผล‘ข้าวลำไอออน’    

ผศ.ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความเป็นนักปฏิบัติ ที่สะสมภูมิปัญญาความเชี่ยวชาญทางด้านการเกษตร ต่อยอดสู่เกษตรนวัตกรรม smart farm  และเกษตรสมัยใหม่ พร้อมยกระดับระบบเกษตรกรรมของประเทศ ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ตลอดห่วงโซ่มูลค่าภาคการเกษตร อาทิเช่น ระบบอุปกรณ์ IoT ทางการเกษตร ระบบแอพพลิเคชั่นเพื่อการสนับสนุนการทำการเกษตร (Decision support system) AI ทางการเกษตร และ ระบบเครื่องจักรกลอัตโนมัติทางการเกษตร ความร่วมมือนี้จะช่วยให้งานวิจัยและพัฒนาโซลูชั่น ตลอดจนแพลต ฟอร์มต่างๆ สนับสนุนระบบการทำฟาร์มสมัยใหม่ ที่มีความเหมาะสมกับบริบทเกษตรกรรมของไทย อันจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการยกระดับระบบเกษตรกรรมไทยให้สามารถไปสู่เป้าหมาย เกษตรกรรม 4.0 ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
แม่โจ้-มช.ปั้น ชาวนา4.0สร้างเกษตรแม่นยำ ขยายผล‘ข้าวลำไอออน’     

นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสมุ่งมั่นสร้าง Ecosystem ในทุกภาคส่วน จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำ Digital Infrastructure พร้อมด้วยเทคโนโลยี NB-IoT มาสนับสนุนงานวิจัย และพัฒนานวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ด้านการบริหารจัดการและดูแลฟาร์ม ความสามารถในการควบคุมผลผลิตให้มีประสิทธิ ภาพสูงสุด พร้อมการเรียนรู้และสัมผัสกับ Digital Economy ที่เอื้อต่อภาคธุรกิจแบบครบวงจร พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือให้เติบโตไปด้วยกัน 
แม่โจ้-มช.ปั้น ชาวนา4.0สร้างเกษตรแม่นยำ ขยายผล‘ข้าวลำไอออน’  

แม่โจ้-มช.ปั้น ชาวนา4.0สร้างเกษตรแม่นยำ ขยายผล‘ข้าวลำไอออน’    

ขณะที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานการวิจัยทางด้านข้าวเพื่อพัฒนาเกษตร กรรมและบุคลากร กับสภาเกษตรจังหวัด 15 จังหวัด ในการพัฒนา “ข้าวสายพันธุ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมข้าวไทย4.0” เพื่อให้ชาวนาผู้ปลูกข้าวใน มช.-ราชบุรี โมเดล ที่มีรายได้อย่างต่ำ 10,000 บาท/ไร่ เน้นการตลาดนำการผลิต ดูแลชาวนาสมาชิกแบบครบวงจร และควบคุมคุณภาพข้าวตลอดการผลิต ด้วยการปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ ผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดดี และมีตลาดรองรับแน่นอน
    

หลังประสบผลสำเร็จในการวิจัยที่อุตรดิตถ์และราชบุรี โดยข้าวปรับตัวได้ดี ให้ผลผลิตสูง เป็นที่พึงพอใจของชาวนาผู้เพาะปลูก และมีคุณภาพเมล็ดดี เป็นที่พึงพอใจของผู้ประกอบการข้าวในท้องถิ่น และชาวนาที่ดูงานพึงพอใจและต้องการขยายพื้นที่ไปเพาะปลูก ข้าวลำไอออน 3 สายพันธุ์ ได้แก่
แม่โจ้-มช.ปั้น ชาวนา4.0สร้างเกษตรแม่นยำ ขยายผล‘ข้าวลำไอออน’     

1) ข้าวหอมเพื่อการบริโภค (มช 10-1 หรือ FRK-1) : เป็นข้าวเจ้าหอมพื้นอ่อน ไวต่อช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 124 วัน (โดยวิธีปักดำ) ค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการบริโภค มีการยอมรับของผู้บริโภคใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในแง่ของสี, รสชาติ และเนื้อสัมผัส แต่จะนุ่มและคงสภาพความนุ่มนานกว่าแม้เมื่อเก็บไว้จนเย็นแล้ว และยังมีระดับสารหอม 2AP สูงถึง 6.55 ppm สูงกว่าระดับสารหอม 4.74 ppm ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 
    

2) ข้าวเพื่ออุตสาหกรรมแป้ง (ศฟ 10-5 หรือ MSY-4) : เป็นข้าวเจ้าหอมอ่อนพื้นแข็ง ไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 122 วัน ค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีสารหอม 2AP ระดับ 0.79 ppm เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมแป้งและการแปรรูปเป็นเส้นขนมจีน
    

3) ข้าวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ (ศฟ 10-7 หรือ OSSY-23) : เป็นข้าวเจ้าพื้นแข็ง ไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 122 วัน ค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีปริมาณโปรตีน 10.3% มีปริมาณไขมัน 3.6% เหมาะทำเป็นอาหารสัตว์ เช่น หมูและไก่ หรือทำเป็นข้าวพาร์บอยล์ (parboiled rice)
    

ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์นี้กำลังจะได้รับการออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตาม
พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    

สภาเกษตร 15 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจนบุรี กำแพง เพชร ชัยนาท ปทุมธานี ปราจีนบุรี จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย อยุธยา อ่างทอง และจังหวัดอุตรดิตถ์ 

แม่โจ้-มช.ปั้น ชาวนา4.0สร้างเกษตรแม่นยำ ขยายผล‘ข้าวลำไอออน’

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 17 ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,612 วันที่ 24-26 กันยายน พ.ศ.2563

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสว.เร่งปั้น"SMEs"เกษตรรุกตลาดจีนต่อเนื่อง

สยามกลการ ยามาฮ่า ลุยธุรกิจ "เฮลิคอปเตอร์พ่นยาฆ่าแมลง" รับ เกษตรยุค 4.0

เปิดศูนย์เรียนรู้สมาร์ทฟาร์มพอเพียง

UPOV 1991 ไม่น่ากลัว เกษตรกรไทยไม่ต้องกังวล