เปิดข้อมูล สัญญาณร้าย “ภัยแล้ง” หนักสุดรอบ 17 ปี

19 ก.ค. 2563 | 16:54 น.
3.7 k

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เผยข้อมูลการก่อตัวของพายุน้อยที่สุดในรอบ 17 ปี และพบปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก 25 เขื่อนมีน้ำน้อยกว่า 30% แนะกักเก็บน้ำในชุมชนเป็นทางรอด 

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สนน. เปิดเผยภาพและข้อมูลสัญญาณร้าย การเกิดภัยแล้งครั้งประวัติศาสตร์ โดยระบุว่า ปี 2563 พายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกน้อยที่สุด

 

พร้อมกับระบุว่า จากข้อมูลค่าเฉลี่ยพายุในอดีตในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. จะมีการก่อตัวของพายุขึ้นในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกจํานวน 10 ลูก แต่ในปี 2563 นี้ ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบัน(15 ก.ค.63) พบว่ามีการก่อตัวองพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเพียง 2 ลูกเท่านั้น ถือว่าน้อยที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลุ้นพายุเข้า 2 ลูก เติมน้ำเขื่อน

ครม.เคาะงบกลางกว่า 500 ล้านบาทรับมือน้ำหลาก

“เตือนภัยสูงสุด” จีนวิกฤติซ้ำ น้ำท่วม80เมือง 33 ล้านคนลำบาก

สทนช.เตือน 37 จังหวัด 499 ตำบล เสี่ยงท่วมฉับพลัน ก.ค.นี้

 

อีกทั้งจากการคาดการณ์ไปจนถึงช่วงปลายเดือน ก.ค. ก็ยังไม่พบแนวโน้มการก่อตัวขึ้นของพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

เปิดข้อมูล สัญญาณร้าย “ภัยแล้ง” หนักสุดรอบ 17 ปี

ด้าน นายสุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ หรือ สสน. รายงานสถานการณ์ฝนตั้งแต่ต้นปี 2563 มีน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 20% โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมที่เริ่มฤดูฝน แต่ประมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยถึง 30% ทำให้การเกษตรและการเพาะปลูกทำไม่ได้ เพราะประมาณน้ำในเขื่อนหลักน้อยที่สุดในรอบ 17 ปีตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้น้ำต้นทุนมีน้อย และเมื่อปีนี้ปริมาณฝนน้อยทำให้เป็นห่วงสถานการณ์ภัยแล้ง ที่พบว่าในเขื่อนหลัก 25 แห่งมีน้ำน้อยกว่า 30%


 
ในขณะที่อีก 107 วันจะสิ้นสุดฤดูฝน น้ำใน 4 เขื่อนหลักมีเหลือเพียง 747 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ต้องกักเก็บน้ำให้ได้ 11,253 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อให้มีน้ำ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้ใช้เพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคในต้นปี 2564 ผู้อำนวยการ สสน.จึงขอให้ประชาชนร่วมกันกักเก็บน้ำในชุมชนให้มากที่สุดในเดือนกรกฏาคมนี้รวมถึงต้องกักเก็บน้ำในเขื่อนหลัก 

นายสุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

ผู้อำนวยการ สสน.กล่าวด้วยว่า ในปี 2563 พบว่ามีปริมาณฝนน้อยในรอบ 40 ปี และส่งผลมาถึงต้นปีนี้ทำให้มีฝนน้อย ซึ่งการคาดการณ์สถานการณ์น้ำและฝนในปี 2563 จะคล้ายในปี 2538 ที่จะมีน้ำท่วมในภาคกลาง เพราะมีพายุในเดือนสิงหาคม ปีนี้จึงจะมีน้ำท่วมบ้างในบางพื้นที่แต่ไม่รุนแรง เพราะยังมีช่องว่างที่น้ำในเขื่อนยังมีช่องว่าต้องกักเก็บน้ำอยู่อีก 70% จึงต้องการเติมน้ำในเขื่อนอีกมาก และในเขตชลประทาน อาจไม่สามารถปล่อยน้ำให้ประชาชนทำการเกษตรในเดือนกรกฏาคมได้เพราะจำเป็นอย่างยิ่งต้องกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด
 

สสน.ยกตัวอย่างเครือข่ายชุมชน รอดภัยแล้ง เช่นในชุมชนป่าภูป่าภูถ้ำ ภูกระแต อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ที่รอดภัยแล้งปี 2562 และมีน้ำใช้อย่างต่อเนื่อง จากอดีตพื้นที่แล้งซ้ำซาก แต่มีการจัดการน้ำชุมชน ทำให้มีน้ำใช้การเกษตรและมีผลผลิตรอดจากวิกฤตโควิด-19 ด้วย