คลิกประเมิน ความเครียด กับ”หมอเดว”

17 เม.ย. 2563 | 19:45 น.
670

“หมอเดว”เชิญชวนประชาชนคลิกเข้าไปวัดระดับความเครียดของตัวเอง ได้เลยที่ลิงก์ https://qrgo.page.link/DeS7W

ในยามที่ทุกคนทั่วโลก กำลังทำศึกสงครามโรค “โควิด- 19 “รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตีแพทย์ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง หรือที่รู้จักกันดีในนาม “หมอเดว” (กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น และอดีตผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม ได้เชิญชวนประชาชน สู้โควิด-19 ด้วย “ความเครียด” โดยได้จัดทำแบบประเมินความเครียดในสถานการณ์เชื้อไวรัส Covid-19 ในเพจ “บันทึกหมอเดว”เชิญคลิกเข้าไปวัดระดับความเครียดของเราได้เลยที่ลิงก์ https://qrgo.page.link/DeS7W

    คลิกประเมิน ความเครียด กับ”หมอเดว”   

  แบบประเมินความเครียดชุดนี้มีคำถามเพียง 10 ข้อ เมื่อตอบคำถามเสร็จสิ้น จะมีการแปลความหมายระดับคะแนนว่าระดับไหน พร้อมคำแนะนำ การดูแลสุขภาพจิตใจด้วยตนเอง อาทิ ยอมรับเหตุการณ์ด้วยสติ  การเปิดใจยอมรับกับเหตุการณ์ซึ่งจะทำให้ลดความเครียดลงได้ โดยใช้หลัก 2 แบบกล่าวคือ การเปรียบเทียบกับเหตุภัยพิบัติที่แย่กว่า เช่น เหตุการณ์ในประเทศอื่นๆ ที่แรงกว่า

การใช้กลไกทางจิตเพื่อลดแรงกดดันของตนเอง เช่น อาศัยความเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรรม หรือการประสบเหตุทั้งชุมชน สังคมในวงกว้าง ทำให้มีเพื่อนร่วมทุกข์หรือชะตากรรมเดียวกัน

การให้กำลังใจกันและกันต่อสมาชิกทุกคนล้อมรอบตัวเรา  เตรียมความพร้อมร่างกายไว้เสมอ การออกกำลังกาย สม่ำเสมอ พักผ่อน รักษาอารมณ์ ทานอาหารจานเดียวแบบที่ไม่ต้องแบ่งกัน เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอลล์ หรือการล้างมือด้วยสบู่ การหลีกเลี่ยงเดินทางไปในแหล่งชุมชนและการปฏิบัติตัวตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เตรียมช่องทางการติดต่อ บุคคลหรือหน่วยงานที่สำคัญไว้ด้วย

ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ “พัก” การติดตามข่าวสารที่ใกล้ชิดเกินไป ลดการกล่าวถึงเหตุการณ์ความรุนแรงของการระบาด หยุดการดูข่าวบ้างเพื่อลดความวิตกกังวล โดยติดตามวันละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอ

สร้างโอกาสให้ตนเองเพื่อจัดการความเครียด ด้วยกิจกรรมต่างๆเช่น การพูดคุยกับคนที่ไว้วางใจหรือแม้แต่การพูดคุยกับตนเอง ร้องเพลง ฟังเพลง วาดรูป ออกกำลังกาย ดนตรี ศิลปะ สมาธิด้วยเพลง สปาอารมณ์แบบทำเองในพื้นที่ที่ปลอดภัย

ฝึกมองโลกในแง่ดี ปล่อยใจปล่อยอารมณ์ เดินสบายๆในที่ส่วนตัว และฝึกการวางความเครียดนั้นลงด้วยคิดว่าเป็นปัญหาร่วมกันที่ทุกคนกำลังเผชิญ มองบวกว่าเรายังดีกว่าอีกหลายประเทสหลายสังคมที่หนักและรุนแรงกว่านี้

ทั้งนี้ในโลกสังคมออนไลน์ ได้มีการสรุปข้อดีของความเครียดเชิงบวก หรือความเครียดในระดับที่ควบคุมได้ ไว้อย่างน่าสนใจหลายประการ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในภาวะ “ยุคโควิด-19 และในภาวะวิกฤตอื่น ๆ

 

ช่วยเพิ่มแรงบันดาลใจ

จริงอยู่ว่าความเครียดในระดับสูงทำให้คุณรู้สึกอึดอัด ทำให้แรงจูงใจ แรงบันดาลใจต่างๆ ในการใช้ชีวิตลดลง แต่ความเครียดเล็กน้อยถึงปานกลางกลับไม่ส่งผลเช่นนั้น เพราะมันช่วยกระตุ้นให้งานต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ความเครียดที่มาจาก Deadline ในการทำงานช่วยให้เราจดจ่อกับงานได้มากขึ้นเพราะเวลากำลังจะหมดลง หลายคนไม่สามารถสะสางงานที่คั่งค้างให้เสร็จลงได้หาก Deadline ยังไม่ใกล้จะมาถึง  คลิกประเมิน ความเครียด กับ”หมอเดว”

ช่วยยืดหยุ่นในการใช้ชีวิตและเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหา ทั้งยังสร้างความมั่นใจ ทำให้เราเติบโตรวมถึงทักษะต่างๆ ที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตต่อไป

Peter Vitaliano อาจารย์ด้านจิตเวชและพฤติกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันอย่าง กล่าวว่า ความเครียดแบบนี้จะทำให้คนเรามีความมั่นใจมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกถูกคุมคามจากสิ่งต่างๆ รอบตัวน้อยลง และรู้สึกถึงการเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์มากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น Allison Berwald นักสังคมสงเคราะห์ของคลีนิกแห่งหนึ่งที่เมืองนิวยอร์คบอกว่า การใช้ความเครียดในการเผชิญหน้ากับความกลัวหรืออุปสรรคต่างๆ ช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับปัญหามากกว่าที่จะหลีกเลี่ยง และสิ่งที่ได้รับกลับมาก็คือประสบการณ์ที่มากขึ้น สามารถรับมือได้มากขึ้น

 

ช่วยเพิ่มสายสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง

ประโยชน์ของความเครียดที่น่าแปลกใจมากที่สุดคือการได้เพิ่มความสัมพันธ์อันดีกับคนใกล้ตัว ซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุดของการมีสุขภาพดี เราต้องยอมรับว่า การมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง เช่น เพื่อนร่วมงาน มีส่วนช่วยสร้างเกราะป้องกันด้านความเครียดและโรคที่มาจากความเครียด เพราะเมื่อคนเราได้รับความรักและปรารถนาดีจากบุคคลอื่น เราจะรู้สึกแปลกแยกหรือโดดเดี่ยวน้อยลง การได้พูดคุย ระบายกับเพื่อนร่วมงาน ทั้งช่วยกระตุ้นฮอร์โมนแห่งความสุข การได้เปิดใจคุยกันทำให้คนเรารู้สึกดีขึ้นได้ทั้งสองฝ่าย มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งสุขและทุกข์เพื่อให้เราได้รู้ว่า เราไม่ได้เศร้าอยู่คนเดียว แม้จะเป็นความรู้สึกแง่บวกที่มาจากสถานการณ์ที่แสนแย่ก็ตาม

 

“ความเครียด”คือส่วนสำคัญที่ทำให้ชีวิต “มีความหมาย”

จิตแพทย์และนักจิตวิทยา พบว่า ชีวิตที่ปราศจากความเครียดโดยสิ้นเชิงไม่ส่งผลดีใดๆ อย่างเช่น นักศึกษาการศึกษาระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัย  แม้ว่าการเรียนจะแสนเครียด แต่หากผ่านมาได้ ความภูมิใจก็จะเกิดขึ้น และทั้งหมดนี้คือวงจรของการเรียนรู้ที่มีความเครียดเป็นองค์ประกอบ การพยายามขจัดความเครียดออกไปจากชีวิตโดยสิ้นเชิง ก็เท่ากับการละทิ้งความหมายที่แท้จริงของชีวิต และคุณก็อาจไม่รู้สึกภูมิใจกับอะไรเลย

ความเครียดมีผลดีต่อร่างกาย เวลาเครียดร่างกายจะปลดปล่อยสารเคมีในสมองที่ช่วยให้เราตอบสนองต่อความเครียดในระดับต่ำ สามารถกระตุ้นการสารเคมีที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง สมองเกิดความผ่อนคลาย และเกิดขึ้นเมื่อเราออกกำลังกาย หรือที่รู้จักกันว่า “สารสร้างสุข”นั่นเอง++++++++