ทส.-วพน. 14-15 รักษ์โลก คืนป่า รักษาทะเล

04 มี.ค. 2563 | 08:30 น.
อัปเดตล่าสุด :04 มี.ค. 2563 | 18:24 น.

จากหน้าที่ความรับผิดชอบ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่ต้องดูแล สงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน ในปี 2561 จึงได้จัดทำโครงการ “ป่าในเมือง สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย” เพื่อให้คนไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ใกล้แหล่งชุมชน เป็นที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่ง ทส. ได้เปิดพื้นที่เหล่านี้มาแล้ว 105 แห่ง และหนึ่งในนั้นคือ ป่าชายเลน ทุ่งโปรงทอง ปากน้ำประแส จังหวัดระยอง ซึ่งปีที่แล้ว ได้รับผลกระทบจากพายุปาบึก ทำให้แนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นพังเสียหาย

ในปีนี้ ทส. จึงได้ร่วมมือกับ ผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 14-15 (วพน.14-15)  จัดทำโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในเมืองจังหวัดระยอง “มหัศจรรย์ป่าชายเลน ทุ่งโปรงทอง ปากน้ำประแส” พร้อมทำกิจกรรม “ทส.วพน.14-15 รักษ์โลก คืนป่า รักษาทะเล”

ทส.-วพน. 14-15 รักษ์โลก คืนป่า รักษาทะเล

ทส.-วพน. 14-15 รักษ์โลก คืนป่า รักษาทะเล

 

กิจกรรมในครั้งนี้ มี “วราวุธ ศิลปอาชา” รัฐมนตรีว่าการ กระทรวง ทส. เป็นประธาน และยังมี “จตุพร บุรุษพัฒน์” ปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “โสภณ ทองดี” อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง “ปริญญา โพธิสัตย์” รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง “ไชยรัตน์ เอื้อตระกูล” นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำประแส รวมทั้งประชาชนชาวปากน้ำประแส อีกกว่า 600 คน ร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลน 1,000 ต้น ปล่อยเต่าทะเล 49 ตัว และปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปูทะเล 1,999 ตัว เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน ซ่อมแซมแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นที่เสียหาย และเพิ่มปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำในป่าชายเลนให้สมบูรณ์มากขึ้น

“อภิชัย เอกวนากุล” ผู้อำนวยการสำนักงานอนุรักษ์ป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล่าว่า พื้้นที่แห่งนี้ยังมีความโดดเด่นที่ Walk Way ระยะทาง 2,100 เมตร ซึ่งเป็นทางเดินชมป่าในเมืองบนเส้นทางที่สวยงามด้วยพันธุ์ไม้โปรงทอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนที่ดีของคนในชุมชน

ทส.-วพน. 14-15 รักษ์โลก คืนป่า รักษาทะเล

ทส.-วพน. 14-15 รักษ์โลก คืนป่า รักษาทะเล

ทส.-วพน. 14-15 รักษ์โลก คืนป่า รักษาทะเล

กิจกรรมที่จัดทำขึ้นเป็นส่วนหนึ่งที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทำหน้าที่ดูแล เรื่องการปลูกป่า และติดตามผล ฟื้นฟู ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วนคือ การปลูกป่าตามแผนงาน และการร่วมปลูกป่ากับหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่นเดียวกับการร่วมกับ วพน.14-15 ในครั้งนี้ กรมทรัพย์ได้จัดทำโครงการป่าในเมือง 30 แห่ง 24 จังหวัด ที่เปิดไปแล้วมี 20 แห่งใน 16 จังหวัด บนพื้นที่กว่า 1.7 หมื่นไร่ ที่จะต้องขยายการทำงาน และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อทรัพยากร ธรรมชาติที่สมบูรณ์ และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

 

หน้า 24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,544 วันที่ 30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ทส.-วพน. 14-15 รักษ์โลก คืนป่า รักษาทะเล