สภาการหนังสือพิมพ์ฯ เตือน 3 สื่อ ละเมิดจริธรรม

11 ต.ค. 2562 | 16:00 น.
2.6 k

คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีมติตักเตือนเว็บไซต์ และหนังสือพิมพ์ ที่เผยแพร่ข่าวละเมิด ข้อบังคับจริยธรรม 3 ฉบับ พร้อมรับรอง หนังสือพิมพ์ส่องใต้ รายปักษ์ จ.สตูล เป็นสมาชิกใหม่

 

วันนี้(11ต.ค.62) เว็บไซต์สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ http://www.presscouncil.or.th เปิดเผยว่า นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส รองประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ คนที่ 1 เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 9 ครั้งที่ 10/2562 ว่า ที่ประชุมรับทราบผลการจัดทำแนวปฏิบัติและคู่มือของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤตที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งครอบคลุมสถานการณ์วิกฤติ อาทิ สถานการณภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคและภัยสุขภาพ อุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรง สถานการณ์จลาจล หรือก่อการร้าย

สำหรับเรื่องเพื่อพิจารณา ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่คณะกรรมการจริยธรรม พิจารณาเสร็จแล้ว ประกอบด้วย 1.เรื่องที่เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ถูกร้องเรียน กรณีการนำเสนอข่าว “วัยรุ่นทิ้ง ระเบิด 3 นร. เก็บมาเล่นตูมสนั่นมือขาด” โดยที่ประชุมคณะกรรมการฯมีมติให้ตักเตือนเว็บไซต์ไทยรัฐ ออนไลน์ ตามที่คณะกรรมการจริยธรรมเสนอ เนื่องจากพบว่า การนำเสนอข่าวดังกล่าวเป็นการละเมิด ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ข้อ 13 หนังสือพิมพ์ต้องเสนอข่าวโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิทธิมนุษยชนของเด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งต้องไม่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์ หรือโศกนาฏกรรมอันเกิดแก่เด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีอัตลักษณ์แตกต่างในสังคม และข้อ 15 หนังสือพิมพ์พึงละเว้นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีเพื่อประโยชน์สาธารณะรวมทั้งยังละเมิดแนวปฏิบัติสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เรื่อง การเสนอข่าว ความคิดเห็น และ ภาพเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2561 ข้อ 2. การเสนอข่าว ความคิดเห็น และภาพเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน 2.1 ต้องไม่เปิดเผยชื่อ ชื่อสกุล ภูมิลาเนาที่อยู่ของเด็กและเยาวชน รวมทั้งชื่อ ชื่อสกุล และภูมิลาเนาที่อยู่ของ บิดา มารดา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน รวมทั้งสิ่งที่ทาให้รู้หรือสามารถรู้ถึงตัวเด็กและเยาวชนได้ นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ลบข่าวดังกล่าวออกจากระบบข้อมูลด้วย

เรื่องที่ 2 เว็บไซต์เดลินิวส์ ถูกร้องเรียนกรณีการนำเสนอข่าวและภาพ คลิปหลุดนักการเมืองกับนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการฯ มีมติให้ตักเตือนเว็บไซต์เดลินิวส์ พร้อมทั้งให้ลบข่าว ดังกล่าวออกจากระบบข้อมูลด้วย เนื่องจากพบว่า การเสนอภาพข่าวดังกล่าว เป็นการละเมิดข้อบังคับว่าด้วย จริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ข้อ 13 หนังสือพิมพ์ต้องเสนอข่าวโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิทธิมนุษยชนของเด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งต้องไม่เป็นการซ้าเติมความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมอันเกิดแก่เด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีอัตลักษณ์แตกต่างในสังคม ข้อ 14 หนังสือพิมพ์ต้องไม่เสนอภาพข่าวที่อุจาด ลามกอนาจาร หรือน่าหวาดเสียวโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของสาธารณชนอย่างถี่ถ้วน และข้อ 15 หนังสือพิมพ์พึงละเว้นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่ กรณีเพื่อประโยชน์สาธารณะ

เรื่องที่ 3 เป็นเรื่องที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ถูกร้องเรียนกรณีการนำเสนอภาพโฆษณา “เน็ตฟลิกซ์” หุ้ม ปกหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุข้อความว่า “พื้นที่โฆษณา” ประกอบกับเนื้อหาที่ใช้ในการโฆษณามีลักษณะ เป็น “เฟคนิวส์” หรือข่าวลวง อันอาจทำให้ผู้บริโภคสื่อหลงเชื่อว่าเป็นข่าวที่เกิดขึ้นจริง ที่ประชุมคณะกรรมการจึงมีมติให้ตักเตือนหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เนื่องจากพบว่า การลงโฆษณาในลักษณะดังกล่าวเป็น การละเมิดข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ข้อ 28 หนังสือพิมพ์ต้องแสดงให้เห็นชัดว่า ข้อความที่เป็นบทความซื้อพื้นที่คือประกาศโฆษณา จะแอบแฝงเป็นการเสนอข่าวหรือความคิดเห็นมิได้

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเรื่องร้องเรียนทั้ง 3 เรื่องดังกล่าว ได้ดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับว่า ด้วยการพิจารณาเรื่องร้องเรียนด้านจริยธรรมแห่งวิชาชีพภายในองค์กรสมาชิก พ.ศ. 2559โ ดยได้ส่งเรื่องไปให้ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนภายในองค์กรของแต่ละองค์กรแล้ว และดำเนินตามขั้นตอน และกระบวนการอย่างถูกต้อง

รองประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณารับรองคุณสมบัติหนังสือพิมพ์ส่องใต้ รายปักษ์ จ.สตูล เป็นสมาชิกใหม่อย่างเป็นทางการ เนื่องจากเห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอข่าวสารที่ เป็นประโยชน์ ต่อสังคม และสาธารณชน อีกทั้งยังต้องการสนับสนุนสื่อที่มีคุณภาพในสังคมเพิ่มขึ้น

ส่วนความคืบหน้าการทบทวนและปรับแก้ร่างแนวปฏิบัติสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ. 2553 มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทั้งฝ่ายองค์กรสื่อ นักวิชาการ ผู้แทนองค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไข และจะนำกลับมาเสนอคณะกรรมการจริยธรรมอีกครั้ง ก่อนจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการสภาฯ พิจารณาต่อไป

นางสาวนาตยากล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังมีมติรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงาน ของคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ โดยมีเรื่องการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สื่อท้องถิ่นกับการรับมือข่าวลวง และด้านมืดยุคดิจิทัล” ที่จังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 26-27 ต.ค. 2562 และการเตรียมจัดสัมมนาเชิง ปฏิบัติการ “สื่อท้องถิ่นกับการรับมือข่าวลวงและด้านมืดยุคดิจิทัล” ที่จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 2-3 พ.ย. 2562 พร้อมกันนี้ ยังนำเสนอต่อที่ประชุมว่าจะมีการจัดเวทีเสวนา Media Forum # 10 เรื่อง “การนาเสนอ ข่าวเกี่ยวกับพริตตี้ดัง ลัลลาเบล” ในวันที่ 13 พ.ย. 2562

ในส่วนของความคืบหน้าการดาเนินงานของคณะอนุกรรมการฝ่ายกิจการระหว่างประเทศนั้น นางสาวนาตยากล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการต้อนรับคณะสภาสื่อมวลชนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 23-27 ก.ย. 2562 โดยการต้อนรับเป็นไปอย่างราบรื่น โดยผลการหารือ ได้ข้อมูลว่าประเทศอินโดนีเซียนั้น องค์กรกำกับดูแลด้านสื่อมวลชนมีการแยกกันอย่างชัดเจนระหว่างสื่อมืออาชีพ และสื่อที่ไม่เป็นมืออาชีพ โดยจัดทำเกณฑ์สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามาอยู่ในวิชาชีพสื่อ จะต้องมีการสอบเพื่อให้ได้ใบประกาศว่า มีความรู้ในเรื่องการเป็นสื่อมวลชน ของกองบรรณาธิการ ทั้งหมด และผู้ที่มีใบประกาศเท่านั้น ถึงจะประกอบอาชีพในธุรกิจสื่อเป็นสื่อมวลชนได้ ซึ่งจากการหารือ สภาฯ อินโดนีเซีย ยินดีที่จะให้ทีมงานของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ไปศึกษาเก็บ ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ทั้งรูปแบบ เนื้อหาในการสอบ ผลกระทบทุกมิติ ซึ่งจะมีผู้แทนของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ 3 คนเดินทางไป ตามโครงการนี้

ส่วนผลการประชุมร่วม 4 ฝ่าย (ไทย อินโดนีเซีย เมียนมา และติมอร์ เลสเต) เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2562 ที่ประชุมร่วม 4 ฝ่ายเห็นชอบให้จัดตั้งเครือข่ายสภาการหนังสือพิมพ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะมีการ พบปะหารือกันอีกครั้งที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้