CircularEconomy ใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่า ผลิตภัณฑ์สีเขียว

20 พ.ค. 2562 | 10:30 น.
อัปเดตล่าสุด :20 พ.ค. 2562 | 16:26 น.
821

ประเทศไทย กำลังเร่งผลักดัน การนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้อย่างจริงจัง ผ่านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศ เพื่อให้สอดรับกับโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ที่มุ่งสู่ BCG Model โดย B (Bio Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ, C (Circular Economy) หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ G (Green Economy) หรือ เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศระยะยาวหรือ ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจในทุกมิติ เร่งเศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างทั่วถึงบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน CircularEconomy  ใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่า  ผลิตภัณฑ์สีเขียว CircularEconomy  ใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่า  ผลิตภัณฑ์สีเขียว

“นพมาศ ช่วยนุกูล” ผู้อำนวยการกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของรัฐบาล จะมีส่วนสำคัญในการปรับโครงสร้างการผลิต ที่ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ โดยเน้นการผลักดันให้โรงงานก้าวสู่โรงงาน 4.0 ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากของเสีย หรือวัสดุเหลือใช้ในประเทศ รวมไปถึงการส่งเสริมการปรับรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นสตาร์ตอัพด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

แนวทางการขับเคลื่อน ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 6 ด้าน คือ 1. นโยบายและมาตรการที่ชัดเจนจากรัฐ 2.ความตระหนักรู้ของภาคเอกชน 3. การขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องภายใต้การบูรณาการของทุกภาคส่วน 4.เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ในด้านที่เกี่ยวข้อง โดยภาคเอกชนและภาคการศึกษาต้องเข้ามามีบทบาทนำในการพัฒนาด้านต่างๆ 5. เครือข่ายนำร่องที่เป็นต้นแบบพัฒนา 6. การแสวงหาพันธมิตรในการพัฒนาทั้งภายในและนอกประเทศ CircularEconomy  ใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่า  ผลิตภัณฑ์สีเขียว

หลายประเทศได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปใช้ เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเดนมาร์ก คาดการณ์ว่า ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน จะสามารถสร้างอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP สูงขึ้นถึง 0.8-1.4% ได้ในปี 2578(2035) ขณะที่ประเทศไทย ยังไม่มีนโยบายการนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ในขณะที่ภาคธุรกิจรายใหญ่หลายแห่ง ได้นำเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าสู่ระบบการปรับโครงสร้างทางธุรกิจมากขึ้น

หนึ่งในหน่วยงานที่นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับ เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาองค์กร คือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC โดย GC ด้วยแนวทางปฏิบัติ ที่ประกอบด้วย 

1. เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการผลิตภายในโรงงาน ที่มีการนำหลัก 5Rs ได้แก่ Reduce ลดการใช้ Reuse การใช้ซํ้า Recycle การแปรรูปมาใช้ใหม่ Renewable การใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน และ Refuse การปฏิเสธการใช้ มาใช้ในทุกกระบวนการผลิตของโรงงาน ตั้งแต่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ในระบบการผลิต เป็นต้น โดยทุกระบบในองค์กรเป็นไปอย่างบูรณาการ ส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์สามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับกับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. การเป็นผู้ริเริ่มทำโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand โดยการนำขยะขวดพลาสติก จากท้องทะเลและชายฝั่งมาผ่านกระบวนการอัพไซลิ่ง (Upcycling) ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผสมผสานการออกแบบและดีไซน์ มาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นสินค้า กลุ่มแฟชั่น ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า และ อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ CircularEconomy  ใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่า  ผลิตภัณฑ์สีเขียว

3. การพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกชีวภาพ หรือไบโอพลาสติกที่ใช้วัตถุดิบจากพืช อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด ให้เป็นพลาสติกทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของ GC มุ่งหวังเพื่อเป็นต้นแบบให้เกิดการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่า และประโยชน์สูงสุด และมุ่งหวังให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง ท้ายที่สุดจะเกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนส่งเสริมระบบเศรษฐกิจประเทศอย่างยั่งยืนในที่สุด

หน้า 23 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,470 วันที่ 16 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

CircularEconomy  ใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่า  ผลิตภัณฑ์สีเขียว