ก่อนวันพิพากษาจำนำข้าว

28 ก.ค. 2560 | 14:51 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2560 | 21:51 น.
ก่อนวันพิพากษาจำนำข้าว

"โจรสลัดอันดามัน" คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐ สื่อในเครือสปริง กรุ๊ปเขียนบทความเรื่อง ก่อนวันพิพากษา#2 ซึ่งบทความนี้ได้เขียนเป็นตอนที่ 2 แล้ว มีใจความว่า

355272

ก่อนไปฟังคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ ปล่อยปละละเลยไม่ระงับยับยั้งก่อให้เกิดความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว 25 สิงหาคม 2560 นี้ มาลองย้อนหลังไปเมื่อ 7ต.ค.2554 ที่เริ่มโครงการรับจำนำข้าวเกวียนละ1.5 หมื่นบาทข้าวขาว

ก่อนหน้านั้นในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ จากเพื่อไทย ประกาศจำนำข้าวเปลือก1.5 หมื่นบาทต่อเกวียน จากราคาตลาดข้าวเปลือกที่ขายกันอยู่ที่ 5-7 พันบาทต่อเกวียน จึงเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ 4 ล้านครัวเรือนหรือประชาชน 16 ล้านคน ที่ประกอบอาชีพทำนา เทเสียงให้พรรคเพื่อไทยอย่างถล่มทลาย

1f1d7d5aac19ef7eaaa7e5a1277d5141701bb65b9bbfd9bab661da26f1d1e653

เมื่อเริ่มโครงการมีเสียงเตือนออกมาเป็นระยะๆ เริ่มต้นจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ นำโดยดร.อัมมาร สยามวาลา ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ออกมาชี้จุดและฟันธงก่อนใครเพื่อนว่าโครงการสุ่มเสี่ยงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางต่องบประมาณของรัฐ บิดเบือนตลาดโดยใช้เงินจำนวนมากซื้อข้าวในราคาสูงกว่าตลาดเกือบเท่าตัว ทั้งหมดทำให้ข้าวไหลเข้าสู่โครงการรับจำนำทุกเม็ด โดยตรรกะเป็นไปไม่ได้ที่ข้าวจะซื้อขายกันในระบบปกติเมื่อรัฐจำนำ(ซื้อขาด)ในราคาสูงกว่าตลาด และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการไถ่ถอนจำนำเมื่อราคาที่รัฐตั้งให้สูงกว่าตลาดมหาศาล

หลังจากนั้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือปปช. สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงบประมาณ แม้กระทั่งธนาคารโลก ได้ออกมาส่งเสียงเตือนเป็นระยะๆ หลังจากที่โครงการผ่านพ้นไปช่วงหนึ่ง มีข้าวเข้าสู่สต็อกของรัฐบาลมากขึ้นและมีความจำเป็นที่ต้องขายเพื่อหมุนเวียนมาทำโครงการใหม่ เมื่อซื้อราคาแพงใช่ว่าจะขายออกได้ง่ายๆเพราะขายราคาถูก จะขาดทุนสูงและเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าไปทำโครงการต่อจะลดลง เพราะในคราวทำโครงการเริ่มต้น จะมีการกำหนดเพดานวงเงินไว้ ต้องขายข้าวมาหมุน เมื่อขายไม่ออกย่อมไม่มีเงินหมุน จึงมีข่าวเกิดขึ้นเนืองๆว่าถังแตก ธกส.ที่เป็นไฟแนนซ์ใหญ่ให้ขาดสภาพคล่องอย่างหนักเพราะเงินถูกใช้ไปกับโครงการจำนำข้าวแทบทั้งสิ้น

13734314011373431445l

ระหว่างการจำนำ 2-3 รอบการผลิตแรก มีปริมาณข้าวเข้าสู่โครงการมากมายมหาศาล มีการทักท้วงว่าผิดปกติจากระบบการผลิตข้าวของไทยที่ปกติผลิตกันที่ปีละ 27-28 ล้านตันข้าวเปลือกทั้งนาปี นาปรัง ส่วนหนึ่งมีการเก็บไว้บริโภคเอง มีเสียงทักท้วงว่ามีการนำเข้าข้าวเพื่อนบ้านทั้งเขมร พม่า มาสวมสิทธิ์เพื่อรับเงินจากโครงการจำนำ

ปราสาททรายที่ก่อไว้เริ่มแสดงอาการพังทลายมาตั้งแต่ปี 2556 อาการที่แสดงให้เห็นว่าเข็นไม่ไหว คือ การเสนอปรับลดราคารับจำนำจาก 1.5 หมื่นบาทเหลือ 1.2 หมื่นบาท ที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.)เห็นชอบไปแล้ว แต่ถูกตีกลับกระทันหันจากครม.รวมไปถึงการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีพาณิชย์จากบุญทรง เตริยาภิรมย์ไปเป็นนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ราคาถูกถีบขึ้นไปยันไว้ที่ 1.5 หมื่นบาทอีกครั้งในเวลาไม่กี่วัน ช่วงนั้นถกเถียงกันอย่างหนัก เรียกว่าพีคที่สุดของการดำเนินโครงการ

การจำนำข้าวยังเดินต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง ปีแล้ว ปีเล่า ก่อนจะ………………ฝีแตก

20448988_1745597315455282_4997971759917352561_o