นายพรพิพัฒน์ ประสิทธิ์ศุภผล รองกรรมการผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ และกรรมการ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า จากแผนการพัฒนาธุรกิจและมองหาโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจและผลิตภัณฑ์จากปาล์มนั้น ทำให้ในปัจจุบันบริษัทมีโครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาการลงทุนในการเพิ่มมูลค่าสินค้าโดยเฉพาะกลุ่ม High Margin
โดยมีความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรม "โอเลโอเคมิคัล" มองรูปแบบการสกัดน้ำมันเมล็ดในปาล์ม (CPKO) เพื่อแยกกรดไขมันตั้งแต่ C8-C12 ออกมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเครื่องสำอาง สารทดแทนคาเคาในการผลิตช็อกโกแลต รวมถึงเป็นส่วนสำคัญที่ใช้เป็นสารผสมในการผลิตเครื่องสำอาง
ปัจจุบันมีศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนกับพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่นไว้แล้ว 1 ราย คาดว่าไม่เกินปลายปี 2568 จะเห็นความชัดเจน และอาจใช้เวลาในการก่อสร้างโรงงานใหม่ราว 2 ปี ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าในการลงทุนเฟสแรกส่วนการสกัด CPKO จะใช้เงินประมาณ 1,500 ล้านบาท แหล่งเงินทุนจะมาจากกระแสเงินสดในมือ และการกู้ยืมสถาบันการเงิน
การสกัดน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อแยกกรดไขมันตั้งแต่ C14-18 ออกมาเป็นวัตถุดิบรองรับสำหรับการผลิตยางสังเคราะห์และหนังสังเคราะห์ รวมถึงนำมาพัฒนาเป็นสารใช้เป็นส่วนผสมในการทำยา ซึ่งในส่วนนี้ก็มีการเจรจากับพันธมิตรจากประเทศจีนไว้แล้ว แต่คาดว่าอาจต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาดูใจอีกราว 2-3 ปี จึงจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน อย่างไรก็ดี การลงทุนในส่วนนี้ประเมินว่าจะใช้เงินลงทุนเพิ่มอีกราว 2,500-3,500 ล้านบาท
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2568 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท หรือเติบโต 15-20% ต่อเนื่องจากปีก่อน โดยบริษัทวางแผนใช้เทคโนโลยีเพื่อขยายกำลังการผลิต ควบคู่กับการเพิ่มมูลค่าสินค้าในธุรกิจการสกัดและการกลั่นน้ำมันปาล์ม
ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนขยายเป็น Bio Complex เช่น ลดของเสียและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการบริหารจัดการน้ำเสีย รวมถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย
ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าและบริการทางออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองอัตราการอุปโภคบริโภคน้ำมันปาล์มที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อน 3% (ข้อมูลจากกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์) ซึ่งคาดว่าจะเข้ามาเป็นอีกปัจจัยขับเคลื่อนให้การเติบโตของรายได้ในปี 2568 นี้ทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
"ในปี 2568 บริษัทประเมินว่าการส่งออกน้ำมันปาล์มไปยังประเทศจีน รวมถึงประเทศอินเดีย ยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี การที่เราลงทุนขยายกำลังการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ขยายช่องทางจำหน่ายใหม่ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเดินหน้าขยายตลาดใหม่ๆ ของบริษัทได้ ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ยิ่งช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับบริษัทได้มากขึ้นอีกด้วย สะท้อนแต่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีในอนาคต มองไปในอนาคตอีก 5-10 ปี ผลผลิตของปาล์มเติบโตขึ้นทุกปี 5% ดังนั้นหากบริษัทเตรียมไว้การส่งออกน้ำมันปาล์มในอนาคตจะได้มากขึ้น"
บริษัทยังประเมินราคาน้ำมันปาล์มในปี 2568 โดยมองว่ายังมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในวันที่ 20 ม.ค.นี้ มองว่าด้วยนโยบาย America First และจากสถิติในอดีต ทรัมป์ 1.0 ที่จุดประกายสงครามการค้า ส่งผลให้ราคาปาล์มปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสให้กับ PCE
ESG เป็นที่ตั้งของความยั่งยืน
พร้อมกันนี้ บริษัทยังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญด้าน ESG ที่มีโครงการส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยการนำน้ำมันเก่า 2 ขวดมาแลกเป็นน้ำมันใหม่ 1 ขวด ที่ผ่านมาได้มีการเปิด
รวมถึงโครงการรวมพลังสร้างปาล์มน้ำมันไทยเพื่อก้าวไกลสู่มาตรฐาน RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) ซึ่ง RSPO เป็นมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนที่ปัจจุบันได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากที่สุด โดยเป็นการร่วมลงนาม (MOU) กับหน่วยงานภาครัฐ
ขณะเดียวกันนั้น กลุ่มบริษัทยังคงยึดนโยบายขยายขอบเขตธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และสร้างผลตอบแทนระยะยาวผ่านการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ และพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการควบคุมความเสี่ยงในธุรกิจสกัดและกลั่นน้ำมันปาล์ม ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจเทรดดิ้งเป็นพิเศษ
ด้วยการพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงที่ซับซ้อนจากราคาพลังงาน กฎระเบียบ สิ่งแวดล้อม และการเคลื่อนไหวน้ำมันปาล์มในตลาดโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน อีกทั้งยังช่วยเพื่อศักยภาพให้กับเกษตรกรไทย เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นแนวทางในการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ
ผลการดำเนินงาน 9 เดือนปี 2567
ผลการดำเนินงานปี 66
PCE ประกอบธุรกิจโดยการเข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลัก 4 ธุรกิจ ดังนี้
ปัจจุบันมีมูลค่าตามราคาตลาด ณ วันที่ 17 ม.ค. 68 อยู่ที่ 8,470.00 ล้านบาท
ผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรก