ดีเดย์โครงการ “คุณสู้เราช่วย”ประคองลูกหนี้ 1.9ล้านราย

11 ธ.ค. 2567 | 15:56 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ธ.ค. 2567 | 08:28 น.

โครงการ “คุณสู้เราช่วย” เปิดให้ลูกหนี้ 1.9ล้านรายมูลหนี้ 8.9แสนล้านบาท ลงทะเบียนวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เดินหน้าแน่วแน่แก้หนี้ 2มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์ และ “จ่าย ปิด จบ” สำหรับบุคคลธรรมดาหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท

โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดย กระทรวงการคลัง หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สภาพัฒน์ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs และมาตรการช่วยเหลือ ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามแนวทางการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยครอบคลุมลูกหนี้1.9 ล้านราย  2.1ล้านบัญชีมูลหนี้คงค้างรวม  8.9แสนล้านบาท ประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่

โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่

มาตรการที่ 1 “จ่ายตรง คงทรัพย์” เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบ้าน รถ และ SMEs ขนาดเล็กที่มีวงเงินไม่สูงมาก ให้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้แบบลดค่างวดและพักภาระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยค่างวดที่จ่ายจะนำไปตัดชำระเงินต้นทั้งหมด ขณะที่ดอกเบี้ยที่พักไว้ตลอดระยะเวลา 3 ปี จะได้รับการยกเว้น หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดระยะเวลาของมาตรการ (ชำระเงินตรงเวลาและไม่ทำสัญญาสินเชื่อเพิ่มเติมในช่วง 12 เดือนแรกของการเข้าโครงการฯ)

มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” มีวัตถุประสงค์หลักในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่วงเงินไม่สูงมาก ให้สามารถรักษาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันทั้งบ้าน รถ และสถานประกอบการไว้ได้ โดยจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตให้กับลูกหนี้ โดยค่างวดที่ลดลงจะทำให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเหลือสำหรับดำรงชีพเพิ่มเติมระหว่างอยู่ในมาตรการ ขณะที่ดอกเบี้ยที่ได้รับยกเว้นจะช่วยให้ภาระหนี้โดยรวมของลูกหนี้ลดลง

 

ดีเดย์โครงการ “คุณสู้เราช่วย”ประคองลูกหนี้ 1.9ล้านราย

ดีเดย์โครงการ “คุณสู้เราช่วย”ประคองลูกหนี้ 1.9ล้านราย

ดีเดย์โครงการ “คุณสู้เราช่วย”ประคองลูกหนี้ 1.9ล้านราย

ดีเดย์โครงการ “คุณสู้เราช่วย”ประคองลูกหนี้ 1.9ล้านราย

 

มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” เป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เสีย (สถานะ NPL) แต่มียอดคงค้างหนี้ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท) โดยลูกหนี้จะต้องเข้ามาเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้บางส่วน

ซึ่งมาตรการ “จ่าย ปิด จบ” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียและยอดหนี้ไม่สูง สามารถเปลี่ยนสถานะการเป็นหนี้ จาก “หนี้เสีย” เป็น “ปิดจบหนี้” และเริ่มต้นใหม่ได้เร็วขึ้น ในช่วงเริ่มต้น โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” จะครอบคลุมลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์

ดีเดย์โครงการ “คุณสู้เราช่วย”ประคองลูกหนี้ 1.9ล้านราย

ในระยะต่อไป ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่ม Non-bank อื่น ๆ จะมีความช่วยเหลือออกมาเพิ่มเติม ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างไป เพื่อร่วมกันผลักดันให้การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเดินหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้างและครอบคลุมลูกหนี้ได้มากขึ้น

โดยลูกหนี้จะต้องลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการและชำระหนี้ตามเงื่อนไข ขณะที่ภาครัฐและสถาบันการเงินจะร่วมสนับสนุนเม็ดเงินในการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง (50%) เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ร่วมโครงการ ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.2567-28 ก.พ.2568

ดีเดย์โครงการ “คุณสู้เราช่วย”ประคองลูกหนี้ 1.9ล้านราย ดีเดย์โครงการ “คุณสู้เราช่วย”ประคองลูกหนี้ 1.9ล้านราย

 

 

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเปิดงาน โครงการ “คุณสู้ เราช่วย”  โดยระบุว่า โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ขนาดเล็ก ครอบคลุมลูกหนี้รวมจำนวน 2.1 ล้านบัญชี เป็นลูกหนี้ 1.9 ล้านราย และมียอดหนี้รวมประมาณ 8.9 แสนล้านบาท ทั้งนี้ การแก้หนี้ที่ยั่งยืนต้องควบคู่ไปกับการเพิ่มทักษะ (upskill/reskill) และเสริมสร้างรายได้ให้กับลูกหนี้ ซึ่งเป็นอีกด้านที่รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาและยกระดับรายได้ของครัวเรือนให้ดียิ่งขึ้น

โครงการ “คุณสู้เราช่วย” สิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงการคลังให้ความช่วยเหลือคือ ลดเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF) เหลือครึ่งเดียว 0.23% ในหลักการ 3ปีโดยทดลองทำเรื่องนี้เป็นรายปี เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 39,000ล้านบาท

และในส่วนของสถาบันการเงินอีกในสัดส่วนใกล้เคียงกัน หรือเท่ากัน โดยรวมจะมีเงินสมทบช่วยเหลือ 78,000ล้านบาทต่อปีรวมเป็นเม็ดเงินกว่า 2แสนล้านบาทภายในระยะเวลา 3ปี  แม้จะขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่จะมาลงทะเบียน

สำหรับในส่วนของสถาบันการเงินของรัฐนั้น จะใช้เงินล่วงหน้า (ม.28) โดยหักเงินครึ่งหนึ่ง 0.125% จากปกติ 0.25% ต่อปีที่จัดเก็บจากเงินฝากไว้ที่ กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (กองทุนSFIF)  โดยจะขอต่อมาตรการทุกปีเพื่อนำมช่วยเหลือลูกหนี้(ลดดอกเบี้ยหรือหยุดพักดอกเบี้ยชั่วคราว)

 ส่วนตัวคาดหวังว่าจะมีคนมาลงทะเบียนเยอะ  โดยจะเห็นเงินต้นที่ลดลง เป็นคนที่สู้ หนี้NPLและSpecial mentionจะปรับลดลงตามมาตรฐานแต่ละสถาบัน ที่สำคัญโครงการนี้เราไม่ละเว้นในสิ่งที่จะเป็น Moral Hazard โดยคำนึงถึงวินัยการเงินการคลังทั้งภาครัฐ  สถาบันการเงิน และภาคประชาชนต้องจ่ายคืนหนี้  ซึ่งการช่วยเหลือครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นจิ๊กซอร์ตัวที่ 1ที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างความมั่นใจว่า ภาครัฐจะทำต่อไปข้างหน้ามีโอกาสจะสำเร็วได้สูง ซึ่งหวังว่าจะได้ข้อยุติเกี่ยวกับบางกลุ่มที่ปล่อยสินเชื่อดิจิทัลพีโลน นาโนไฟแนนซ์

“เราเห็นแสงสว่าง  จีดีพีไตรมาส3 เห็นตัวเลข 3 คิดว่าไตรมาส4จะเห็นใกล้ สี่หรือสี่บวกลบ รวมแล้วทั้งปีน่าจะเห็นจีดีพี 2.8% เมื่อเทียบ 1.9%ในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นตั้ง 40-50% ส่วนปีหน้าจีดีพีน่าจะเพิ่มได้อีก ถ้าถามตัวเลขพยากรณ์น่าจะเห็นตัวเลข 3ต้นๆ แต่ส่วนตัวผมฝันไกลถึง  3.5% ส่วนจะบวกหรือน้อยกว่า 3.5%นั้น ขึ้นอยู่ความเชื่อมั่นว่า  เมื่อจะก้าวไปข้างหน้าแล้ว สิ่งแรกคือแก้ปัญหาหนี้ที่มีอยู่เดิมให้นิ่งเท่าเดิม แต่ภาระการจ่ายหนี้ลดลง  เมื่อเขาสามารถกลับเข้ามาคิดทำอะไรต่อไป เราอยากจะมีช่วยภาค2ในการเติมเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจที่เรามั่นใจว่าจะเพิ่มขึ้น จากตัวเลขหลายๆตัวซึ่งเป็นจังหวะดีที่จะใส่เม็ดเงินเข้าไปกับคนที่ดีอยู่และกำลังเริ่มจะดีเป็นเฟสที่2”

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจภาพรวมมีแนวโน้มทยอยกลับมาค่อยเป็นค่อยไป  แต่ลูกหนี้บางกลุ่มยังประสบปัญหาการชำระหนี้ และต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมเพื่อให้ไปต่อได้ 

โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและSMEที่รายได้ยังไม่กลับมาเต็มที่  ธปท. กระทรวงการคลัง และสภาพัฒน์ฯ และสง.จึงร่วมมือผลักดันโครงการ “คุณสู้ เราช่วย”  ผ่าน  2มาตรการ คือ  มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์”  และมาตรการ “จ่าย ปิด จบ”

ซึ่งทั้ง 2เป็นมาตรการชั่วครายวระยะเวลา 3ปี มีเป้าหมายหลักในการช่วยกลุ่มลูกหนี้ขนาดเล็กผ่อนไหวมีโอกาสกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติและคงรักษาทรัพย์สินที่สำคัญไว้ได้ และปิดจบหนี้ได้เร็ว 

“โครงการคุณสู้ เราช่วย” ยึดหลักการแก้หนี้ยั่งยืน แบบครบวงจร ถูกหลักการ  ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน  ความต่างของโครงการนี้กับมาตรการอื่นคือ 

1. การปรับโครงสร้างหนี้เน้นตัดเงินต้นและลดภาระผ่อนชำระใน 3ปี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้

2. ภาครัฐและสถาบันการเงินร่วมสมทบเงิน โดยภาครัฐปรับลดเงินนำส่งFIDF และสถาบันการเงินสมทบเงินอีกส่วนเพื่อลดภาระจ่ายของลูกหนี้ซึ่งเป็นความร่วมมือที่แสดงความตั้งใจในการช่วยเหลือลูกหนี้และแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศไทย

“ ความตั้งใจและความช่วยเหลือทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นชื่อโครงการคุณสู้สะท้อนถึงลูกหนี้ที่พยายามสู้กับปัญหาหนี้ที่มีมาโดยตลอดและพร้อมที่จะสู้ต่อโดยจะได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐและสถาบันการเงินที่ร่วมกันผลักดันความช่วยเหลือในครั้งนี้  เป็นมาตรการชั่วคราว 3ปีซึ่งสอดคล้องกับรายได้ของลูกหนี้ที่คาดว่าจะทยอยกลับเข้ามามาในช่วงเวลาข้างหน้า   หวังว่าโครงการนี้จะเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพราะเมื่อลูกหนี้พร้อมที่จะสู้ต่อเราทุกคนก็พร้อมจะช่วยกัน” 

3.เน้นให้ได้ผลจริง ธปท.จะติดตามสถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขและต้องการเข้าร่วมในโครงการ  โดยให้สถาบันการเงินรายงานการให้ความช่วยเหลือกลับมาที่ธปท.พร้อมทั้งมีการสุ่มตรวจการให้ความช่วยเหลือให้มั่นใจว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการคุณสู้เราช่วยจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย (TBA)กล่าวว่า โครงการคุณสู้ เราช่วยอย่างเต็มที่บนความร่วมมือของภาครัฐ สถาบันการเงิน ในการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบธุรกิจรายเล็กที่มีวงเงินสินเชื่อไม่สูงแต่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานและความมั่นคงของชีวิตและ

ยังประสบปัญหาชำระหนี้จากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวได้ช้าและไม่ทั่วถึงให้ยังสามารถประคองตัว รักษาสินทรัพย์ที่สำคัญกับความมั่นคงกับชีวิตและครอบครัว รวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากินทั้งที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ  สถานประกอบการและกิจการธุรกิจครัวเรือนเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาสังคมและความเหลื่อมล้ำทวีความรุนแรงไปมากกว่านี้

และยังช่วยให้ลูกหนี้ที่ตั้งใจแน่วแน่ในการลดหนี้มีโอกาสที่จะกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติในระยะข้างหน้าเมื่อรายได้ฟื้นขึ้น โดยคาดว่าภายใต้โครงการคุณสู้เราช่วยจะสามารถให้การช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์กับบริษัทลูกในกลุ่มได้ราว 1.5ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้คงค้างกว่า 4แสนล้านบาท การช่วยเหลือลูกหนี้ภายใต้โครงการนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสมาคมธนาคารไทยในด้านความยั่งยืน

โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการกับปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนซึ่งตั้งอยู่บน 5หลักการคือ

1.การมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ยืม ให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมของลูกหนี้ให้มีวินัยทางการเงินและใช้สินเชื่อที่เหมาะสมวัตถุประสงค์และไม่เกินกำลัง

2.การแข่งขันแบบเสรี ไม่ผูกขาด

3.ความโปร่งใส ความเท่าเทียมระหว่างผู้ให้สินเชื่อของทุกกลุ่มเจ้าหนี้ทั้งธนาคาร นอนแบงก์  สหกรณ์  ที่อยู่บนกติกาที่เท่าเทียมกัน  

4.ความยุติธรรมของอัตราดอกเบี้ยที่สะท้อนความเสี่ยงที่เป็นจริงลดภาระของลูกหนี้ที่ดีที่ต้องแบกภาระของลูกหนี้ที่ไม่ดี 

5.ความครอบคลุมและการเข้าถึงที่ทุกฝ่ายมองเห็นประโยชน์ร่วมกัน ทั้งลูกหนี้  เจ้าหนี้  ผู้กำกับและภาครัฐ โดยไม่ทำให้ใครต้องตกไปอยู่นอกระบบจากโครงสร้างหรือข้อจำกัดของระบบและทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจร่วมแชร์ความเสี่ยงอย่างเป็นธรรมในการแก้ปัญหาหนี้

โครงการ “คุณสู้เราช่วย” จะเป็นจุดตั้งต้นของก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมสอดประสานกับมาตรการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม(RL)ของธปท. ที่มุ่งเน้นต้นตอของปัญหาและกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นให้ได้รับความช่วยเหลือด้วยทรัพยากรสาธารณะ

เป็นมาตรการชั่วคราวที่ยาวถึง 3ปีซึ่งเชื่อว่าเพียงพอในการสนับสนุน และรองรับกับมาตรการระยะถัดไปของภาครัฐทั้งในมิติของการมีสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นต่อครัวเรือนและการปฎิรูปด้านอื่นๆ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้ามาทลายข้อจำกัดและปัญหาในเชิงโครงสร้าง

ทั้งการยกระดับข้อมูลหนี้สินที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลเครดิตแห่งชาติให้ครอบคลุมโดยกำหนดให้ผู้ให้บริการสินเชื่อทั้งระบบเข้าเป็นสมาชิกของNCBให้ครบถ้วน ลดความเหลื่อมล้ำของการได้มาซึ่งบุริมสิทธิด้วยโครงสร้างของกฎหมายที่กระตุ้นให้เกิดการก่อหนี้เกินความจำเป็น

รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลหนี้นอกระบบเพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถทราบและเข้าใจถึงศักยภาพของลูกหนี้ที่แท้จริง ส่งเสริมการมีหนี้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมกับรายได้ไม่เกินกำลังในการชำระคืน รวมถึงให้มีรายได้ขั้นต่ำที่เพียงพอในการดำรงชีพ

นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องสร้างความสามรรถในการแข่งขันและยกระดับรายได้ให้กับภาคครัวเรือนและSMEอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ส่งเสริมการยกระดับและรับรองระดับฝีมือแรงงาน เพื่อนำไปสู่ระดับค่าจ้างที่สูงขึ้น

ขณะที่ธุรกิจรายใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และหรือเป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยควรมีบทบาทในการดูแลคู่ค้าที่เป็นSMEในห่วงโซ่อุปทานให้ได้รับความเป็นธรรมในการทำการค้าและมีความโปร่งใสในเรื่องเทอมทางการค้า ปรับตัวและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันไปพร้อมกัน

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า กล่าวว่า  สถาบันการเงินของรัฐทั้ง 7แห่งพร้อมให้ความร่วมมือโครงการนี้  นอกจากช่วยแก้ปํญหาหนี้ทั้งSME สินเชื่อบ้านบางส่วนแล้วยังทำให้เกิดการประคับประคองธุรกิจและประวัติลูกหนี้จะดีขึ้น ด้วยมาตรการเหลือที่เหือนกับธยาคารพาณิชย์ คือ

1. ปรับโครงสร้างหนี้เน้นตัดเงินต้น ดูแลเรื่องดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3ปีทำให้ลดภาระลงอย่างชัดเจน 

2.สำหรับบัญชีที่มีวงเงินหนี้น้อยจะปรับโครงสร้างแบบลึก สามารถช่วยลูกหนี้กลุ่มนี้ได้มากขึ้น โดยทั้ง 2ส่วนของลูกหนี้แบงก์รัฐรวมมูลหนี้ 6แสนบัญชี มูลหนี้ 4.5แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณช่วยภายใต้มาตรา28 

สิ่งที่ธนาคารออมสินเพิ่มเติมจากโครงการดัวกล่าวนี้ คือ ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟท์โลน)ให้กับนอนแบงก์เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ซึ่งอยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลัง ธปท.กำลังหารือผู้ประกอบการเกี่ยวกับเงื่อนไข ซึ่งคาดว่าจะช่วยลูกค้าได้จำนวนมาก

นอกจากนี้แบงก์รัฐ 4แห่งจาก 7แห่งได้ดำเนินมาตรการเสริม  เป็นโครงการลดเงินนำส่งกองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจเหลือ 0.125% ต่อปีเป็นเวลา 1ปี จากปกติต้องนำส่ง 0.25%ต่อปี โดยจะช่วยลูกหนี้อีกกลุ่ม(ไม่อยู่ในโครงการแรก) เช่นลูกหนี้มีประวัติดี ธนาคารจะลดดอกเบี้ยให้หรือให้ลูกหนี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้

“แบงก์รัฐร่วมกับรัฐบาลแก้ไขหนี้ครัวเรือนใน 1ปีที่ผ่านมา โดยรวม 7แห่งสามารถช่วยลูกหนี้ได้เกิน 10ล้านคนด้วยมาตรการต่างๆและเชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยลูกหนี้และเศรษฐกิจให้ดีขึ้น”