ผู้ถือหุ้นกู้ JKN ต้องรู้ : 28 คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ

23 พ.ย. 2566 | 09:59 น.
อัปเดตล่าสุด :23 พ.ย. 2566 | 10:11 น.
558

ก.ล.ต.จัดให้ "28 คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ" จากกรณี บมจ.เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ( JKN) ยื่นเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ จนผู้ถือหุ้นกู้กว่า 500 ราย ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้เข้าใจถึงสิทธิตนเอง และกระบวนการดังกล่าว

จากการที่บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางขอฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2566 จากการขาดสภาพคล่องอย่างหนัก หนี้สินมากกว่าสินทรัพย์กว่า 4.2 พันล้านบาท  และในเวลาต่อมาศาลฯ มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท และเป็นเหตุให้บริษัทฯ เกิดสภาวะการ "พักชำระหนี้" ( Automatic Stay) รวมไปถึงการพักชำระหนี้หุ้นกู้ทั้ง 7 รุ่น มูลหนี้ 3,212.15 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นกู้กว่า 500 คนถ้วนหน้า

ทั้งนี้ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ออกแถลงการณภายหลังการหารือร่วมระหว่าง ThaiBMA กับบริษัทหลักทรัพย์ คือ บล.ดาโอ และ บล.เอเซียพลัส ซึ่งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และผู้จัดการการจำหน่ายหุ้นกู้จำนวน 15 รายของ JKN ทั้ง  7 รุ่น มูลหนี้รวม 3,212.15 ล้านบาท เกี่ยวกับกรณีที่บริษัท JKN เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ  

โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า  จะดำเนินการจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ JKN ภายในต้นเดือนธันวาคม 2566 เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้ถือหุ้นกู้เกี่ยวกับกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และสิทธิหน้าที่ของผู้ถือหุ้นกู้ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ รวมถึงแนวทางในการดูแลผู้ถือหุ้นในการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ในการกระบวนการฟื้นฟูกิจการ


 

ขณะเดียวกัน ก.ล.ต. ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ได้จัดให้มีบรรยายผ่านช่องทาง Facebook Live “สำนักงาน กลต.” ในเรื่อง “กระบวนการฟื้นฟูกิจการและล้มละลาย และ สิทธิของเจ้าหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการและล้มละลาย” โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบจากการฟื้นฟูกิจการ พร้อมกันนี้ยัวได้เผยแพร่ ข้อมูล  " คำถาม - คำตอบ เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ " เพื่อให้ผู้ถือหุ้นกู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของตนและกระบวนการดังกล่าว ถือเป็นการศึกษาทำความเข้าใจก่อนจะมีข้อซักถามเพิ่มจากวิทยากร  ดังนี้

การฟื้นฟูกิจการ

1. ความแตกต่างของการฟื้นฟูกิจการและการล้มละลาย

ตอบ 

ผู้ถือหุ้นกู้ JKN ต้องรู้  :  28 คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ

2. ขั้นตอนของศาลฯ ในกระบวนการขอฟื้นฟูกิจการเป็นอย่างไร และกำหนดการโดยประมาณของการทำแผน และปฏิบัติตามแผน

ตอบ
ขั้นตอน กระบวนการขอฟื้นฟูกิจการ และกำหนดการโดยประมาณของการทำแผน และปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการ เป็นดังต่อไปนี้

 

ผู้ถือหุ้นกู้ JKN ต้องรู้  :  28 คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ

3. สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ที่ควรทราบมีอะไรบ้าง

ตอบ :

สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ มีดังต่อไปนี้

1) เมื่อศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว แต่ยังไม่ถึงวันนัดไต่สวน

  • เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาล โดยจะต้องยื่นคำคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่า 3 วัน
  • เจ้าหนี้สามารถเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผน โดยการเสนอชื่อดังกล่าวจะต้องเสนอหนังสือยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทำแผนด้วย (จะต้องยื่นก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่า 3 วัน)

2) กรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและไม่มีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน

  •  เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติเลือกผู้ทำแผน
  •  เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคําขอแสดงความประสงคจะเขาประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือก

ผู้ทำแผน

  • เจ้าหนี้มีสิทธิเขาประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนน
  • เจ้าหนี้มีสิทธิตรวจหลักฐานแห่งหนี้และคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายอื่น
  • เจ้าหนี้มีสิทธิเสนอชื่อผู้ทำแผน

3) กรณีที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน

  • เจ้าหนี้จะต้องยื่นคําขอรับชําระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตอเจาพนักงานพิทักษ์ทรัพยภายใน 1 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน (ในราชกิจจานุเบกษา และเว็บไซตกรมบังคับคดี)
  • เจ้าหนี้มีสิทธิขอตรวจและโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายอื่นได้ภายใน 14 วันนับแต่วันที่พนกำหนดเวลายื่นคําขอรับชําระหนี้
  • เจ้าหนี้ตองไปใหการสอบสวนและส่งพยานหลักฐานตอเจาพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เว้นแต่เจ้าหนี้นำส่งหลักฐานครบถ้วนและไม่มีผู้โต้แย้ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ได้เลยโดยไม่ต้องสอบสวน
  • เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคํารองคัดค้านคำสั่งคําขอรับชําระหนี้ของเจาพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลภายใน 14 วันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง
  • เจ้าหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งคําขอรับชําระหนี้ของศาลลมละลายกลางต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษได้ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคำสั่งศาลลมละลายกลางนั้น
  • เจ้าหนี้มีสิทธิขออนุญาตฎีกาคำสั่งคําขอรับชําระหนี้ของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษต่อฎีกาภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษนั้น
  • เจ้าหนี้มีสิทธิเขาประชุมเจ้าหนี้ และออกเสียงลงคะแนน
  • เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการจัดกลุ่มเจ้าหนี้และยื่นคําขอแก้ไขแผน
  • เจ้าหนี้ที่ลงมติไม่ยอมรับแผน หรืองดออกเสียงลงมติ หรือไม่มาร่วมประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนยอมมีสิทธิคัดค้านแผนตอศาล

4. หากศาลฯ พิจารณาไม่รับแผนฟื้นฟู แต่ละฝ่ายจะต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ :

หากศาลมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผน สามารถแบ่งได้ 2 กรณี ดังนี้

  • 1) ลูกหนี้ไม่ได้ถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายไว้ก่อนแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โดยเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการฟ้องร้องเรียกรับชำระหนี้จากลูกหนี้ตามมูลหนี้ของตน
  • 2) ลูกหนี้ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายไว้ก่อน หากศาลเห็นสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายให้ยกคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ และให้ดำเนินคดีล้มละลายที่งดการพิจารณาไว้นั้นต่อไป

5. จะมีการเปิดเผยร่างแผนฟื้นฟูและความคืบหน้าต่อสาธารณะหรือไม่ ผู้ถือหุ้นกู้จะสามารถติดตามได้จากช่องทางใดบ้าง


ตอบ :

เจ้าหนี้ทุกรายจะได้รับร่างแผนฟื้นฟูกิจการก่อนการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนดังกล่าวและแผนฟื้นฟูกิจการเป็นข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ทำแผนและลูกหนี้ จึงไม่จำต้องมีการรายงานความคืบหน้าต่อสาธารณะแต่อย่างใด

6. หากผู้ถือหุ้นกู้ไม่เห็นด้วยกับแผนฟื้นฟูจะต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ :
เจ้าหนี้มีสิทธิขอแก้ไขแผนได้ไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนวันนัดประชุมเจ้าหนี้ โดยให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่หากเป็นกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้สามารถยื่นต่อศาลได้ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทราบการจัดกลุ่ม และในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน ต้องลงมติไม่รับแผนจึงจะมีสิทธิคัดค้านได้ที่ศาลล้มละลายกลาง อย่างไรก็ตาม แม้เจ้าหนี้จะลงมติไม่รับแผนแต่แผนผ่านมติที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลเห็นชอบด้วยแผน เจ้าหนี้ที่ไม่ยอมรับแผนก็จะต้องผูกพันตามแผนด้วย

7. การออกหุ้นกู้แต่ละครั้งได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น และข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ เป็นสัญญามหาชนกล่าวคือ ระหว่างผู้ออกหุ้นกู้กับผู้ลงทุน ซึ่งมิได้ผูกพันเฉพาะบุคคลเหมือนสัญญาเงินกู้ ที่ทำเป็นลักษณะเฉพาะ นอกจากนี้ ยังเป็นไปตามเกณฑ์ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ซึ่งข้อกำหนดสิทธิได้รับการพิจารณาแล้วจาก ก.ล.ต. การพิจารณาหนี้สินที่เกิดจากการออกหุ้นกู้ตามกฎหมายมหาชน และพ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาแตกต่างหรือเหมือนกับเจ้าหนี้ที่มีหนี้สินทางการเงินปกติหรือไม่

ตอบ :

ในการพิจารณาเรื่องสิทธิในการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แต่ละประเภท รวมถึงเจ้าหนี้หุ้นกู้และเจ้าหนี้เงินกู้ จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจัดกลุ่มเจ้าหนี้ของผู้ทำแผน ซึ่งจะพิจารณาจากหลายปัจจัยเช่น การมีทรัพย์สินเป็นประกัน และความด้อยสิทธิ เป็นต้น ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าหนี้หุ้นกู้และเจ้าหนี้เงินกู้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ประเภทเดียวกัน ก็จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน แต่หากถูกจัดอยู่คนละกลุ่ม การจะได้รับปฏิบัติต่างกันหรือไม่จะขึ้นอยู่กับแผน

8. เจ้าหนี้ที่เกิดจากการรับซื้อหุ้นกู้ในตลาดรอง จะได้รับการดูแลเหมือน หรือแตกต่างกับเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ตั้งแต่เสนอขายครั้งแรก

ตอบ :

มีสิทธิและจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากเป็นเจ้าหนี้ประเภทเดียวกัน

9. การมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ให้ตัวแทนดำเนินการทางคดี สามารถมอบอำนาจครั้งเดียวให้ดำเนินการจนจบขั้นตอนฟื้นฟูได้หรือไม่ เพราะการมอบอำนาจหลายครั้งอาจมีความไม่สะดวกในการตามเจ้าหนี้รายย่อยหลายครั้ง

ตอบ :

ในหนังสือมอบอำนาจ ผู้มอบอำนาจสามารถกำหนดขอบเขตได้ว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการอะไรแทนตนได้บ้าง เช่น การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ การลงคะแนนเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ เป็นต้น ดังนั้น หากเจ้าหนี้ต้องการให้ตัวแทนดำเนินการแทนตนจนจบกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ให้ระบุไว้ให้ชัดเจน จึงสามารถมอบอำนาจครั้งเดียวให้ดำเนินการจนจบขั้นตอนการฟื้นฟูฯ ได้สัญญาแต่งตั้งนายทะเบียน ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ของกิจการที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

10. เมื่อศาลฯ รับแผนฟื้นฟูฯ ข้อกำหนดสิทธิ (สัญญาเงินกู้ระหว่างผู้ลงทุนกับลูกหนี้) ยังมีผลบังคับอยู่หรือไม่ และยังมีข้อใดบ้างที่ยังผูกพันอยู่

ตอบ :

ข้อกำหนดสิทธิเดิมจะไม่ถูกยกเลิกไป เพียงแต่ในระหว่างที่ผู้ออกหุ้นกู้อยู่ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ ข้อกำหนดสิทธิดังกล่าวจะไม่ถูกนำมาบังคับใช้โดยการจ่ายชำระหนี้จะเป็นไปตามข้อกำหนดของแผนฟื้นฟูกิจการ อย่างไรก็ดีหากศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของผู้ออกหุ้นกู้ข้อกำหนดสิทธิดังกล่าวจะถูกนำกลับมาใช้บังคับตามเดิม และผู้ถือหุ้นกู้สามารถฟ้องร้องเรียกรับชำระหนี้จากผู้ออกหุ้นกู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิได้  

:  คลิกอ่านเพิ่มที่นี่