ASPS คาดกำไรงบQ2 "แบงก์-ท่องเที่ยว-ยานยนต์" ใครรอด – ใครร่วง

11 ก.ค. 2566 | 05:05 น.

ASPS เปิดคาดการณ์งบ Q2/66 คาดกำไรสุทธิกลุ่มธนาคาร 8 แบงก์ อยู่ที่ 5.9 หมื่นล้านบาท (+0.3% QoQ, +15% YoY) กลุ่มท่องเที่ยว ฟื้นตัว QoQ แรงส่งจาก MINT, AOT ขณะที่กลุ่มยานยนต์อ่อนตัว QoQ แต่เพิ่ม YoY

ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด (ASPS) นำเสนอ OUTLOOK ผลประกอบการ Q2/66 แบบรายอุตสาหกรรม ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ,ท่องเที่ยว และกลุ่มยานยนต์ ดังนี้

กลุ่มธนาคาร(+QoQ / +YoY) 

เข้าสู่ช่วงประกาศผลการดำเนินงานงวด Q2/66 เริ่มด้วย TISCO ในวันที่ 12 ก.ค. 66 และปิดท้ายด้วย KBANK และ SCB ในวันที่ 21 ก.ค.66 

โดยกำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) งวด Q2/66 ในมุมมองฝ่ายวิจัยอยู่ที่ 5.9 หมื่นล้านบาท (+0.3% QOQ, +15% YOY) แรงส่งจาก NIM ของ ธ.พ. ใหญ่ ซึ่งคาด KTB รายงานกำไรเด่นสุดในกลุ่มฯ เชิง QOQ ราว 5.7% ส่วน BBL ขยายตัวสูงสุดในกลุ่มฯเทียบ YOY ราว 52% 

ทั้งนี้ หากกำไรสุทธิกลุ่มฯ Q2/66 ตามคาด จะทำให้กำไรสุทธิกลุ่มฯ งวดครึ่งแรกปี66 อยู่ที่ 1.18 แสนล้านบาท (+14% YoY) คิดเป็นสัดส่วน 55.4%ของประมาณการกำไรกลุ่มฯ ปี 2566 ของฝ่ายวิจัยที่ 2.1 แสนล้านบาท (+8.4% YoY) และ 53% ของประมาณการกำไรปี 2566 ของ Bloomberg Consensus ณ 30 มิ.ย.66 

สำหรับการลงทุนหุ้นในกลุ่มฯ ทางพื้นฐาน เรียงตามความชอบดังนี้ KTB(ราคาเป้าหมาย 20.30 บาท ) > BBL (217.40 บาท) > SCB (132.00 บาท ) > KBANK (140.00 บาท) ส่วน ธ.พ. เล็กเลือก TISCO (108.00 บาท) > KKP (73.00 บาท) 

ขณะที่ในเชิงกลยุทธ์ภายใต้การเมืองที่จะเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้นช่วงต้น Q3/66 จึงลุ้นโอกาสการไหลกลับของ Fund Flow ต่างชาติ ทำให้ ธ.พ. ใหญ่ที่ถูก NVDR (NVDR Limit ที่ 25%) ลดน้ำหนัการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาหุ้นยัง Laggard กลุ่มฯ อย่าง KBANK สัดส่วน NVDR จากสิ้นปี 2565 ที่ 18.8% เหลือ 12.5% ณ สิ้น มิ.ย. 66 หรือ SCB สัดส่วน NVDR จากสิ้นปี 2565 ที่ 6.2% เหลือ 6.0% ณ สิ้น มิ.ย. 66 ช่วงสั้นมี Risk to reward น่าสนใจมากกว่า ธ.พ. ที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดช่วงก่อนหน้านี้
 

กลุ่มท่องเที่ยว(+QoQ / oYoY) 

แนวโน้มกำไรกลุ่มฯ Q2/66 ฟื้นตัว QoQ แรงส่งจาก Big cap อย่าง MINT ที่เข้าสู่ High Season ใน EU (สัดส่วนราว 50% ของรายได้รวม) รวมทั้ง AOT ได้ลุ้นจากส่วนลดให้กับคู่ค้าทยอยกลับสู่ระดับปกติ โดยรวมชดเชยการ
อ่อนตัวของกำไรปกติ ERW และ CENTEL ที่เข้าสู่ Low Season ของท่องเที่ยวไทย (CENTEL ถูกกดดันเพิ่มเติมจากมัลดีฟส์ สัดส่วนราว 7% ของรายได้รวม เข้าLow Season เช่นเดียวกับไทย) 

ขณะที่ระยะถัดไป ด้วยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยเบื้องต้น มิ.ย.66 เพิ่ม 9% MoM สะท้อนการท่องเที่ยวไทยที่น่าจะผ่าน Low Season ช่วง พ.ค. แล้ว คาดหนุนกำไรบริษัทที่มีโครงสร้างรายได้จากไทยเป็นหลัก ไต่ระดับ QoQ ต่อเนื่องถึง Q1/67 โดยเฉพาะ Q4/66 และ Q1/67 ซึ่งเป็น High Season ของท่องเที่ยวไทย ภาพดังกล่าวบวกต่อหุ้นกลุ่มที่มีสัดส่วนจากท่องเที่ยวไทยเป็นหลักเรียงตามสัดส่วนรายได้จากไทยดังนี้ AOT > ERW > CENTEL > MINT 

ทั้งนี้ ในเชิงกลยุทธ์ MINT (ราคาเป้าหมาย 38.00 บาท) ที่ราคาหุ้น outperformed กลุ่มฯ ในช่วงก่อนหน้า จาก High Season ใน EU เริ่มมี Risk to reward ลดลง เมื่อเทียบกับหุ้นท่องเที่ยวไทยอย่าง AOT(80.00 บาท ), ERW (5.70 บาท)และ CENTEL (60.00 บาท) ที่ราคาหุ้นปรับฐานจาก Low Season สวนทางทิศทางกำไรรายปีที่ฟื้นตัว น่าจะมี Risk to reward น่าสนใจกว่า 



 

กลุ่มยานยนต์(-QoQ / +YoY) 

แนวโน้มกำไรสุทธิ Q2/66 อ่อนตัว QoQ ตามวันผลิตลดลงจากช่วงวันหยุดยาวช่วง เม.ย. แต่เพิ่ม YoY สะท้อนจากยอดผลิตรถยนต์ไทย เม.ย. ทรงตัว YoY และ พ.ค. เพิ่ม 16% YoY 

โดยฝ่ายวิจัยมองว่า AH จะมีอัตราการเติบโตเชิง YoY สูงกว่า SAT จากยอดขายมีแรงหนุนจากค่ายรถยนต์ FORD (ปีที่ 2 ของการ Model Change) ประกอบกับช่วง 2H65 –1Q66 Gross margin (GPM) มีพัฒนาการ YoY ตรงข้ามกับ GPM ของ SAT ยังลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 

ขณะที่ทิศทางกำไรปกติ Q3/66 ของทั้ง 2 บริษัท เริ่มฟื้นตัว QoQ หลังผ่าน low Season อย่างไรก็ดีราคาหุ้น AH (ราคาเป้าหมาย 35.00 บาท อยู่ในช่วงทบทวนประมาณการและคำแนะนำ)นับตั้งแต่ต้นปี outperformed SET Index พอสมควร สะท้อนการขยายตัวของกำไรในปีนี้บางส่วนแล้ว

ด้าน SAT(23.00 บาท) แม้ราคาหุ้น YTD ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาดและ Laggard AH แต่เพราะตลาดยังติดตามการบริหารจัดการสัดส่วน SG&A/Sales เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของการรุกธุรกิจใหม่ อย่าง E-BUS, Logistic,Smart factory, ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร ตรงข้ามกับยอดขายที่ต้องใช้เวลาในการรับรู้ ภาพรวมจึงมองว่า Risk to reward ของทั้ง 2 ตัว ยังไม่เด่น