ยุ่งกันใหญ่!เมื่อตัวเต็งเลขาก.ล.ต.ส่อขาดคุณสมบัติ

05 เม.ย. 2566 | 18:09 น.
อัปเดตล่าสุด :05 เม.ย. 2566 | 18:33 น.
1.1 k

ยุ่งไปกันใหญ่! 1ใน2ตัวเต็งที่ คณะกรรมการ ก.ล.ต.คัดเลือก เพื่อเสนอให้ขุนคลังพิจารณาเพื่อเสนอต่อ ครม.เห็นชอบแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต.ส่อขาดคุณสมบัติ “เป็นหัวหน้าภาควิชา-บอร์ดกฟภ.”ไม่ใช่รอง-ผู้บริหารสูงสุด

การคัดเลือกเลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)แทน น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล ที่กำลังจะหมดวาระลงในวันที่ 30 เมษายนนี้ กำลังกลายเป็นที่จับตาอย่างมากในแวดวงตลาดทุน

  • ประเด็นแรกเป็นเรื่องของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่าง น.ส.รื่นวดี กับกรรมการ ก.ล.ต.บางคน จนคณะกรรมการมีมติด้วยเสียง 6 ต่อ 4 ไม่ต่อวาระการดำรงตำแหน่งของ น.ส.รื่นวดี อีกวาระหนึ่ง
  • ประเด็นที่สอง หลังจากปิดรับสมัครและเปิดให้แสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครแล้ว รายงานข่าวจากสำนักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยถึงผลการพิจารณาผู้ที่สมัครเข้ามาเป็น เลขาธิการ ก.ล.ต. คนที่ 13 ถัดไปจาก นางสาวรื่นวดี ที่ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 และกำลังจะหมดวาระลงในวันที่ 30 เมษายน 2566 นี้ ปรากฏว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่มี นายพิชิต อัคราทิตย์ ประธานกรรมการ ได้มีมติคัดเลือกผู้เหมาะสมเหลือ 2 รายชื่อ
  1. นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ รองเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต.ดูแลกำกับธุรกิจจัดการลงทุนและตัวกลาง กับสายกำกับตลาดและความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. นางพรอนงค์ บุษราตระกูล หัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน / ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการกำกับดูแลกิจการ อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขณะที่นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต.คนปัจจุบัน ไม่ปรากฏอยู่ในชื่อติดโผผู้ที่ได้รับการคัดเลือก

  • ประเด็นสุดท้ายนั้น คือเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครชิงตำแหน่ง เลขาธิการ ก.ล.ต. 1 คน ยังมีปัญหาให้พิจารณาในข้อกฏหมายนั่นคือ นางพรอนงค์ บุษราตระกูล หัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน ว่าไม่เข้าข่ายคุณสมบัติตามประกาศในข้อ 3.  ข้อมูลเพิ่มเติมของผู้สมัครซึ่งระบุว่า ในการยื่นแบบแสดงข้อมูลของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นเลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ผู้สมัครแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้ด้วย

3.1  มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการองค์กรในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • (ก) กรณีเป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารส่วนราชการ ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองของผู้บริหารสูงสุดของส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ามาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี  หรือ
  • (ข) กรณีเป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองของผู้บริหารสูงสุดหรือผู้บริหารระดับสูงที่รายงานตรงต่อผู้บริหารสูงสุดมาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี  หรือ
  • (ค) กรณีเป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในองค์กรภาคเอกชน ต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และดำรงตำแหน่งกรรมการหรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองของผู้บริหารสูงสุดหรือผู้บริหารระดับสูงที่รายงานตรงต่อผู้บริหารสูงสุดมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน โดยองค์กรนั้นจะต้องมีขนาดสินทรัพย์ของตนเองมากกว่า 1 หมื่นล้านบาทหรือมีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารหรือที่เก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้ามากกว่า 1 แสนล้านบาท

คำว่า “ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุน"  หมายความว่า   ประสบการณ์ปฏิบัติงานในตลาดเงินหรือตลาดทุน หรือดำเนินงานด้านนโยบายของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในตลาดเงินหรือตลาดทุน

คำว่า “ตลาดเงิน"  หมายความว่า   กิจการหนึ่งกิจการใดดังต่อไปนี้

  • (ก) ผู้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  • (ข) ผู้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือ
  • (ค) ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย

คำว่า “ตลาดทุน"  หมายความว่า   กิจการหนึ่งกิจการใดดังต่อไปนี้

  • (ก) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์หรือกองทุนรวม ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • (ข) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  • (ค) ทรัสตีหรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายให้จัดการกองทรัสต์ตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
  • (ง) ผู้สอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีของกิจการตาม (ก) (ข) หรือ (ค)
  • (จ) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและบริษัทในกลุ่ม หรือ
  • (ฉ) สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือสมาคมอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตลาดทุน

ขณะที่นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เป็นหัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน / ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการกำกับดูแลกิจการ อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดังนั้นจึงน่าจะขัดกับประกาศ เรื่อง การรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเป็นบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งผู้สมัครต้องระบุประสบการณ์ด้านบริหารจัดการองค์กรว่า มีอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ข้อหรือไม่

กรณี นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เป็นหัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน จึงไม่น่าจะมีคุณสมบัติ เพราะสังกัด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งเป็นแค่หัวหน้าภาควิชา ไม่ใช่คุณสมบัติในข้อ (ก) ที่ระบุว่า “เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารส่วนราชการ ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองของผู้บริหารสูงสุดของส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ามาไม่น้อยกว่า 1 ปี” เพราะในเชิงโครงสร้างการบริหาร ยังมีระดับคณบดี อธิการบดี อีก 2 ชั้น

 ขณะที่การระบุคุณสมบัติว่า การเป็นกรรมการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ก็ไม่น่าจะใช่คุณสมบัติใน (ข) ที่ระบุว่า “เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองของผู้บริหารสูงสุดหรือผู้บริหารระดับสูงที่รายงานตรงต่อผู้บริหารสูงสุดมาไม่น้อยกว่า 1 ปี

“ ครั้นจะไปพิจารณาจากข้อ (ค) ที่ระบุว่า เป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในองค์กรภาคเอกชน ต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินหรือตลาดทุนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และดำรงตำแหน่งกรรมการหรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองของผู้บริหารสูงสุดหรือผู้บริหารระดับสูงที่รายงานตรงต่อผู้บริหารสูงสุดมาไม่น้อยกว่า 1 ปี