ลงทุนตราสารหนี้ให้ "ปัง" ต้องรู้อะไรก่อน ?

03 เม.ย. 2566 | 03:09 น.
อัปเดตล่าสุด :03 เม.ย. 2566 | 12:34 น.

ในสภาวะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน นักลงทุนส่วนมากก็อยากจะโยกย้ายเงินลงทุนมาไว้ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และยังให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากออมทรัพย์ ซึ่งนักลงทุนก็อาจมองหาการลงทุนในตราสารหนี้

แต่ถึงแม้การลงทุนในตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น นั่นไม่ได้หมายความว่าการลงทุนในตราสารหนี้จะไม่มีการขาดทุน นักลงทุนต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อควรรู้เกี่ยวกับตราสารหนี้ให้ดีและถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของนักลงทุนเอง

 

ตราสารหนี้คือ ? 

  • ตราสารทางการเงินที่ผู้ถือ (นักลงทุน) มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกตราสาร มีสถานะเป็นลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดอายุ
  • ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล เช่น พันธบัตรรัฐบาล (อายุมากกว่า 1 ปี), ตั๋วเงินคลัง (อายุน้อยกว่า 1ปี) เป็นต้น
  • ตราสารหนี้ที่ออกโดยเอกชน เช่น หุ้นกู้ ( อายุมากกว่า 1 ปี) เป็นต้น

 

ข้อควรรู้ก่อนการลงทุนในตราสารหนี้

1.ความผันผวนของราคาตราสารหนี้

  • อัตราดอกเบี้ย (Yield) สูงขึ้น ราคาตราสารหนี้จะลดลง เนื่องจากถูกเทขาย เพื่อไปซื้อตราสารหนี้ตัวใหม่ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า
  • อัตราดอกเบี้ย (Yield) ต่ำลง ราคาตราสารหนี้จะสูงขึ้น

2. ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้,ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านราคา

3. อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating)

  • กลุ่มระดับลงทุน (Investment Grade) ระดับ AAA ถึง BBB
  • กลุ่มต่ำกว่าระดับลงทุน (Non-Investment Grade) ระดับ BB ลงไปจนถึง D
  • กลุ่มไม่มีการจัดอันดับเครดิต (Unrated Bond) 

4. อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว

  • อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกตราสารจะต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารตามเวลาที่กำหนดตลอดอายุของตราสารหนี้

5.งวดการจ่ายดอกเบี้ย

  • จำนวนครั้งของการจ่ายดอกเบี้ยต่อปี ขึ้นอยู่กับผู้ออกตราสารหนี้

6.วันครบกำหนดไถ่ถอน

  • วันหมดอายุของตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารจะต้องจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้ายให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้

 

การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้เหมาะกับใคร?

  • ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ และไม่คาดหวังผลตอบแทนที่สูงเหมือนกับหุ้น
  • ผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากออมทรัพย์
  • กองทุนตราสารหนี้ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าลงทุนตราสารหนี้รายตัว

 

ที่มา : หลักทรัพย์กสิกรไทย ( KS )