หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ต่อปี เป็น 1.50% เมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ติดต่อกันมานั้น
ล่าสุด สถาบันการเงินของรัฐเริ่มออกมาประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากในปีที่ผ่านมามีการตรึงดอกเบี้ยช่วยเหลือประชาชนไปแล้ว ซึ่ง “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รวบรวมไทม์ไลน์และรายละเอียดการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์รัฐไว้ ดังนี้
1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
- ประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25% ต่อปี
- มีผลตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.66 เป็นต้นไป
- ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ขึ้นจาก 6.15% ต่อปี เป็น 6.40% ต่อปี
- ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ขึ้นจาก 5.75% เป็น 6.00%
- ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) ขึ้นจาก 5.90% เป็น 6.15% ต่อปี
2. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)
- ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25%
- มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.66 เป็นต้นไป
- ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ไพรม์เรท ปรับเพิ่มจาก 5.75% เป็น 6.00%
3. ธนาคารออมสิน
- ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ทุกชนิดอีก 0.25%
- เริ่มมีผลวันที่ 27 ม.ค.นี้ เป็นต้นไป
- เฉลี่ยยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ย MRR ในตลาด
4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ (SME D BANK)
- ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) 0.25%
- มีผลตั้งแต่ 25 ม.ค.66 ที่ผ่านมา
- ส่งผลให้ MLR ปรับขึ้นจาก 6.75% เป็น 7.00% ต่อปี
- ดอกเบี้ยเงินกู้ชนิดอื่นยังคงไว้ไม่เปลี่ยนแปลง
5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125-0.25%
- มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.66 เป็นต้นไป
- ส่งผลให้ดอกเบี้ย MRR เพิ่ม 0.125% จาก 6.5% เป็น 6.625%
- ดอกเบี้ย MLR เพิ่ม 0.25% จาก 4.875% เป็น 5.125%
- ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เพิ่ม 0.25% จาก 6.25% เป็น 6.50%