virtual bank มาแรง! ธนาคาร-นันแบงก์ สนใจกว่า 10 ราย

12 ม.ค. 2566 | 14:11 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ม.ค. 2566 | 23:37 น.

virtual bank ธปท.เปิดเกณฑ์จัดตั้งธนาคารไร้สาขา ระบุมีผู้สนใจแล้วกว่า 10 ราย ทั้งแบงก์และนันแบงก์ เผย "ต่างชาติ" ร่วมวง 3ราย เล็งประกาศรายชื่อไตรมาส2ปี67

จากกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ออกแนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน (แนวนโยบาย Financial Landscape) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา โดยมุ่งหวังให้ภาคการเงินมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน นั้น

 

ล่าสุด  ธปท. ได้จัดทำเอกสารรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่องการเปิดให้มีผู้ให้บริการประเภทใหม่ คือ ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ แบบไร้สาขา (Virtual Bank) ระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566

 

นอกจากไทม์ไลน์เปิดรับฟังความเห็นดังกล่าวแล้ว ธปท.จะเปิดรับสมัครหลังไตรมสส1และปิดรับสมัครในไตรมาสที่4ปีนี้พร้อมพิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมและประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้ง "Virtual Bank " ประมาณไตรมาส 2 ปี 2567ระหว่างนั้นมีเวลา 1 ปี ที่ผู้ได้รับความเห็นชอบจะเตรียมความพร้อมก่อนเปิดให้บริการในไตรมาส 2 ปี 2568

 

ผ่าคุณสมบัติ 

นายธาริฑธิ์   ปั้นเปี่ยมรัษฎ์  ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรื ธปท. เปิดเผยถึงแนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศรูปแบบไร้สาขา (Virtual Bank) โดยระบุว่า เบื้องต้นขณะนี้มี ผู้แสดงความสนใจแล้ว 10รายในจำนวนนี้เป็นต่างชาติ 3ราย ซึ่งผู้แสดงความสนใจจะมีทั้งธนาคารพาณิชย์เดิม และนอนแบงก์

 

การเปิดรับฟังความเห็นร่างการจัดตั้งและการอนุญาตไลเซนส์ (ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ รูปแบบธนาคารไร้สาขา) หรือ Virtual Bank ตั้งแต่วันนี้ - 12 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและออกหลักเกณฑ์ได้ภายในไตรมาสที่ 1/2566

 

 

นายธาริฑธิ์   ปั้นเปี่ยมรัษฎ์

ภายหลังจากธปท.ออกหลักเกณฑ์จะเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจในการประกอบธุรกิจภายในระยะเวลา 6 เดือน และคาดว่าภายในไตรมาสที่ 4/2566 จะมีการเริ่มพิจารณาแผนธุรกิจของผู้สมัครว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเป้าหมายของธปท.ที่ต้องการเห็นหรือไม่ และกระทรวงการคลังจะใช้เวลาในการพิจารณาอีก 3 เดือน และภายในไตรมาสที่ 2/2567 จะมีการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเพียง 3 รายเท่านั้น 

 

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก 3 ราย จะมีระยะเวลาการเตรียมตัว และการจัดทำระบบทางด้านไอที หรืออื่นๆ ภายในระยะเวลา 1 ปี จึงคาดว่าผู้ประกอบการจะสามารถเปิดให้บริการ Virtual Bank ภายในกลางปี 2568

 

สำหรับคุณสมบัติ 7ข้อในการจัดตั้ง "Virtual Bank" ประกอบด้วย 1. ธุรกิจต้องมี Business Model ที่ตอบโจทย์ ความยั่งยืน( greenline) ขยายฐานลูกค้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์และบริการรายได้ต้นทุนได้อย่างยั่งยืน 2. มีธรรมาภิบาลทั้งผู้ถือหุ้นใหญ่กรรมการผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีธรรมาภิบาล 3. มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการดิจิทัลสามารถออกแบบการให้บริการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า 4. มีการใช้เทคโนโลยีที่ยืดหยุ่นคล่องตัวลดต้นทุนการดำเนินงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างการเงินได้อย่างรวดเร็ว  5. มีความสามารถในการบริหารความเสี่ยงธุรกิจการเงินสามารถดำเนินธุรกิจโดยช่วยแบงก์ได้อย่างยั่งยืนไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบ 6. มีความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่หลากหลายเพื่อนำไปใช้พัฒนาบริการทางการเงิน 7. มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งด้วยทุนจดทะเบียน5,000ล้านบาท(ณ วันเปิดกิจการ)กรณีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ

 

ส่วนรูปแบบของ "Virtual Bank"ของไทยนั้นมี 5คุณลักษณะ ได้แก่ 1. เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในไทย 2. ให้บริการทางการเงินได้เต็มรูปแบบโดยเริ่มเน้นจากรายย่อยไม่มีหลักประกัน   สินเชื่อSME และเงินฝากที่ยังไม่สามารถรับบริการทางการเงินอย่างหมดพอเพียงและเหมาะสม  3. ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก(ไม่มีสาขาของตนเอง)  4. มีความเป็นเลิศทั้งด้านเทคโนโลยีการใช้ข้อมูลที่หลากหลายเพื่อพัฒนาและให้บริการทางการเงิน  5. มีธรรมาภิบาลสามารถบริหารความเสี่ยงและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้

 

ตั้งเงื่อนคุมเสี่ยง3ประเด็น

 

นายธาริฑธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรอบการกำกับดูแลตามความเสี่ยง "Virtual BanK"นั้น ใช้เป็นกรอบเดียวกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป  แต่จะมีความเข้มข้น โดยให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลวัฒนธรรมด้านความเสี่ยงรวมถึง 3 ประเด็นคือความต่อเนื่องในการให้บริการของระบบไอที ต้องมีความมั่นคงมีความเสถียรของระบบไอที  เช่น ระบบขัดข้องไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อปีและถ้าระบบสะดุดต้องกู้ระบบได้ภายใน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง  ประสิทธิภาพการดูแลลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล เชื่อเมื่อเกิดระบบสะดูด ผู้ให้บริการต้องมีแผนดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง(BCP) เพื่อรับมือฉุกเฉินเพื่อให้ลูกค้าใช้ช่องทางอื่นได้ และการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก

"ในช่วงPhasing3-5ปีผู้ให้บริการต้องดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดซึ่งธปท.จะติดตามอย่างใกล้ชิดในช่วงนี้เพื่อให้ดำเนินกิจการอย่างมั่นคงไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบ หากผ่านเงื่อนไขธปท.จะลดความเข้มข้นในการติดตามและให้ออกจากPhasingเป็นธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาสามารถดำเนินการต่อไป  แต่กรณีผู้ให้บริการไม่สามารถดำเนินกิจการภายใต้เงื่อนไขก็ต้องปิดกิจการตามกระบวนการEXIT PLANที่ได้เสนอมาตั้งแต่ขั้นตอนสมัครแล้ว"

 

เอกชนสนใจ Virtual Bank  10 รายเป็นต่างชาติ 3ราย

 นางสาววิภาวิน พรหมบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ที่สนใจเข้ามาสอบถามการจัดตั้ง Virtual Bank แล้วกว่า 10 ราย ซึ่งมีผู้ประกอบการหลายรูปแบบ ทั้งสถาบันการเงิน และไม่ใช่สถาบันการเงิน โดยในจำนวนดังกล่าวจะเป็นต่างชาติจำนวน 3 ราย

 นางสาววิภาวิน พรหมบุญ

สำหรับผู้ที่สามารถขอจัดตั้งVirtual Bankนั้นมีความหลากหลาย ทั้งแบงก์  นอนแบงก์  โดยสามารถขอใบอนุญาตได้ทะงมาขอเดี่ยว  หรือจับมือพันธมิตร และต่างชาติก็สามารถขอจดทะเบียนในประเทศไทยได้  โดยกรณีเป็นต่างชาติจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายของธปท. โดยจะต้องร่วมทุนกับบริษัทไทย เนื่องจากเป็นการจดทะเบียนในไทย โดยต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 25% แต่หากต้องการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นจะต้องเข้ามาขออนุญาตเป็นรายกรณี ซึ่งสามารถผ่อนปรนได้ไม่เกิน 49%

 

ส่วนผู้สนใจที่มีไลเซนส์ธนาคารพาณิชย์อยู่แล้วห้ามใช้แบรนด์และโลโก้เดียวกัน และไม่ทำบัญชีหรือเงินทุนซ้ำกันแต่ต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับกรณีผู้สนใจเป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต้องไม่พึงพาเงินทุนจากบริษัทแม่เกินไป นอกจาดนี้  Virtual Bank สามารถจับมือกับพันธมิตร เช่น ไปรษณีย์ไทย ร้านสะดวกซื้อ และธนาคารใช้เครื่อง ATM และ CDM ได้

   

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถส่งความเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของ ธปท. หรือทางอีเมล [email protected] ซึ่ง ธปท. จะนำความเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาประกอบการจัดทำหลักเกณฑ์การอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank ต่อไป.