มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ลงทะเบียนที่ไหน เงื่อนไขอย่างไร เช็กเลยที่นี่

27 ก.ย. 2565 | 08:05 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.ย. 2565 | 15:05 น.
956

มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ลงทะเบียนที่ไหน เงื่อนไขอย่างไร เช็กเลยที่นี่มีคำตอบ กลุ่มไหนได้รับสิทธิ์ เจ้าหนี้มีที่ใดบ้าง

มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ลงทะเบียนที่ไหน  เป็นคำถามที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

 

"ฐานเศรษฐกิจ" สืบค้นข้อมูลเพื่อไขคำตอบ คลายข้อสงสัย ประกอบด้วย

 

ลงทะเบียนแก้หนี้ออนไลน์ "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้" เริ่ม 26 ก.ย.-30 พ.ย. 65 เริ่ม 14.00 น. เป็นต้นไป ผ่านเว็บไซต์ www.bot.or.th/debtfair คลิกที่นี่

 

ขั้นตอนและเงื่อนไขการแก้หนี้

 

หลังจากลูกหนี้ลงทะเบียนในช่วงวันที่ 26 ก.ย. – 30 พ.ย. 65 แล้ว เจ้าหนี้จะติดต่อกลับภายใน 18 วัน โดยเจ้าหนี้จะพิจารณาตามสถานะหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
 

กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมจัดงาน "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้" : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน" เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยมีเจ้าหนี้เข้าร่วมกว่า 60 ราย

 

ระยะที่ 1 : มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เวลา 14.00 น. - 30 พ.ย. 65

 

ระยะที่ 2 : มหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และธนาคารกรุงไทย ช่วงเดือน พ.ย. 65 - ม.ค. 66 โดยลูกหนี้สามารถลงทะเบียนล่วงหน้า ได้ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เพื่อรอรับบริการในงานแก้หนี้สัญจร เดือน พ.ย. 65 เป็นต้นไป
 

ประเภทหนี้ที่เข้าร่วม "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้"

  • หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
  • เช่าซื้อรถ จำนำทะเบียนรถ
  • นาโนไฟแนนซ์
  • หนี้ที่โอนไป บบส.
  • สินเชื่อของ SFls

 

ขั้นตอนก่อนลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้

  • เช็กว่ามีหนี้ประเภทไหน
  • เช็กว่ามีหนี้กับผู้ให้บริการทางการเงินรายไหนบ้าง
  • ตรวจสอบรายได้ รายจ่ายว่าสามารถชำระหนี้ได้เท่าไร

 

ลูกหนี้ที่เข้าร่วมมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ออนไลน์

  • ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ รายได้ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบ ของโควิด 19 และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือมาก่อน
  • ลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ จากผลกระทบที่รายได้ยังไม่กลับมา เพราะสถานการณ์โควิด หรือค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น


เจ้าหนี้ที่เข้าร่วมมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ออนไลน์

สถาบันการเงิน/ผู้ให้บริการทางการเงิน ภาคเอกชนและภาครัฐ (SFIs) กว่า 60 แห่ง ครอบคลุม หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ จำนำทะเบียนรถ ที่อยู่อาศัย นาโนไฟแนนซ์ สินเชื่อการเกษตร สินเชื่อธุรกิจ หนี้ค่าประกันชดเชย บสย. หนี้ที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) และสินเชื่อของผู้ให้บริการทางการเงินภาครัฐ