ธปท. ชี้ดอลลาร์ "แข็งค่า" กว่า 14% กดสกุลเงินภูมิภาคและบาท "อ่อนค่าลง"

14 ก.ย. 2565 | 19:38 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.ย. 2565 | 02:45 น.

ธปท. เผยดอลลาร์แข็งค่ากว่า 14.6% กดสกุลเงินภูมิภาคและบาทอ่อนค่าลง กระทบเงินสำรองปรับลดลงจาก 2.78 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงต้นปี มาอยู่ที่ระดับ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ ชี้ยังไม่พบสัญญาณเงินทุนเคลื่อนย้ายผิดปกติ

นางสาวดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินผันผวนสูงขึ้น จากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าเดิมในระยะถัดไป โดยนับแต่ต้นปี เงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับแข็งค่าไปแล้วกว่า 14.6% และเป็นปัจจัยหลักที่กดดันให้สกุลเงินภูมิภาครวมทั้งเงินบาทปรับอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา

ธปท. ระบุอีกว่า ยังไม่พบสัญญาณการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปกติ โดยนับตั้งแต่ต้นปี นักลงทุนต่างชาติยังมีฐานะซื้อสุทธิในสินทรัพย์ไทยประมาณ 1.6 แสนล้านบาท (เป็นการซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1.6 แสนล้านบาท และขายสุทธิเล็กน้อยในตลาดพันธบัตร ที่ 700 ล้านบาท)

 

ดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธปท.

นอกจากนี้ การแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ สรอ. ยังส่งผลให้มูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศ (เงินสำรองฯ) ของหลายประเทศปรับลดลงเช่นกัน โดยสำหรับไทย เงินสำรองฯ ปรับลดลงจาก 2.78 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงต้นปี มาอยู่ที่ระดับ 2.4 แสนล้าน

 

ธปท. ชี้ดอลลาร์ \"แข็งค่า\" กว่า 14% กดสกุลเงินภูมิภาคและบาท \"อ่อนค่าลง\"

ธปท. ชี้ดอลลาร์ \"แข็งค่า\" กว่า 14% กดสกุลเงินภูมิภาคและบาท \"อ่อนค่าลง\"

 

ซึ่งการลดลงดังกล่าว เป็นผลจากการตีมูลค่าเงินสำรองฯ ที่อยู่ในสินทรัพย์หลายสกุลเงินให้เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ เป็นสำคัญ โดยเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้สินทรัพย์สกุลอื่นเมื่อตีเป็นรูปดอลลาร์ สหรัฐ มีมูลค่าลดลง  ซึ่งโดยปกติ ในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวผันผวนสูง จะเห็นมูลค่าเงินสำรองฯ ผันผวนสูงขึ้นตามไปด้วย

 

ธปท. ชี้ดอลลาร์ \"แข็งค่า\" กว่า 14% กดสกุลเงินภูมิภาคและบาท \"อ่อนค่าลง\"

 

อย่างไรก็ดี ไทยยังมีฐานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่งจากระดับเงินสำรองฯ ที่อยู่ที่ประมาณ 2.4 แสนล้าน ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 48% ของ GDP ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศ (สูงเป็นอันดับที่ 12 และ 6 ของโลกตามลำดับ) และยังสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยถึงเกือบ 3 เท่า