“ดร.ประสาร” ชี้แบงก์ชาติเป็นสถาบัน ฝากการบ้านยึด 3 เสาหลัก

04 เม.ย. 2565 | 19:51 น.
อัปเดตล่าสุด :05 เม.ย. 2565 | 14:57 น.

ดร.ประสาร ชี้แบงก์ชาติเป็นสถาบัน แนะยึด 3 เสาหลัก กรอบนโยบายยืดหยุ่น ธรรมภิบาล บุคลากรและระบบงานองค์การ และประวัติศาสตร์แห่งความดีงาม

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล   อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.)  กล่าวในงานเสวนา "เหลียวหลัง แลหน้า กับผู้ว่าการ ธปท.” ว่า การได้เป็นผู้ว่าแบงก์ชาติเป็นไฮไลต์หนึ่งในชีวิตส่วนตัว  มีสตอรี่  มีดราม่า ซึ่งจะเปรียบเทียบ 5 เป็นกับ 80 ปี แบงก์ชาติ  5 ปี ในฐานะผู้ว่าแบงก์ชาติ  เราเป็นจุดเล็กๆ จุดหนึ่ง  ความเป็นสถาบันแบงก์ชาติ ประกอบด้วยอะไร  ความเป็นสถาบันแบงก์ชาติประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา 

“ดร.ประสาร” ชี้แบงก์ชาติเป็นสถาบัน ฝากการบ้านยึด 3 เสาหลัก

เสาแรก คือ กรอบนโยบายยืดหยุ่น ธรรมภิบาล   มีเครืองมีเพียงพอ โปร่งใส สำหรับการแก้ไขปัญหา   เสาที่ 2 มีบุคลากรที่มีความสามารถ มีระบบงานองค์การที่มีประสิทธิและ เสาที่ 3  ประวัติศาสตร์แห่งความดีงาม  หมายถึงมีค่านิยมดี ปรับตัวให้เหมาะกับบริษัทของสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลง

 

ส่วนที่ 4 ความสำเร็จของสถาบันนี้จะสามารรถบริหารจัดการ 3 เสา  ในสัดส่วนที่เหมาะกับภาวะ  กาลเทศะ  ส่วนที่ 4 หมายถึง   คือ รีดเดอร์ชิป   เราทำได้ดีแค่ไหน

ในเสาหนึ่ง  เมื่อ ปี 53-58 มีความท้าทายมาก   ภาวะเศรษฐกิจมีปัญหารุมเร้า เศรษฐกิจโลกไม่ดี เพิ่งผ่านวิกฤตการเงินโลก   การเงินผันผวนมาก   ส่วนในไทยอาการชัดเจนขึ้นเรื่อย   เรามีปัญหาเชิงโครงสร้าง ขาดการลงทุนในเศรษฐกิจ  ขาดการพัฒนาเทคโนโลยี  ขาดแรงงาน  ขาดความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ  ทำให้การบริโภคการลงทุนของภาคเอกชนอ่อนแอ

 

ในส่วนที่แบงก์ชาติดำเนินการนโยบายการเงินมุ่งดูแลการเงินของประเทศขณะนั้นคือ การมุ่งดูการเงินผ่อนปรนและมีความคล่องตัวเพียงพอ  สนับสนุนการฟื้นตัว บางส่วนที่ทำได้ที่ทำได้และไม่ผิดหลักการ คือเข้าไปประคับประครอง   ผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นพิเศษ โดยเฉพาะครัวเรือนฐานราก เพราะพวกเขาอ่อนแอ  เช่น เอสเอ็มอี   และพยายามรักษาสมดุลเศรษฐกิจการเงิน

 

โดยรวมค่อนข้างโชคดี   เพราะว่าพื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคอยู่ในเกณฑ์ที่มั่นคง ส่วนหนึ่งมาจากการทำงานหนักของผู้ว่าแบงก์ชาติในอดีตที่แก้ไขปัญหา และแก้ไขจุดอ่อน  มาตั้งแต่วิกฤตปี 40  ถึงปี 53  ทำให้เศรษฐกิจมหภาคมีความมั่นคง   ที่มีความท้าทายคืออัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน สาเหตุสำคัญปี 53  สดๆ ร้อนๆ  จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 51 ทางสหรัฐ ยุโรป  ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ได้รับผลกระทบ  หลังจากนั้นแม้ว่าจะมีฟื้นตัวบาง    ในสมัยนั้นเรียก  มัลติ สปีด รีคัฟเวอรี   โดยเฉพาะเศรษฐกิจใหม่   ในเอเชีย   อาเซียน รวมทั้งไทยการฟื่นตัว  หรือ ได้รับผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจไม่เท่ากับยุโรป  เพราะฉะนั้นนโยบายเงินเรียกว่า  Policy divergence  เกิดขึ้น  โดยอัตราดอกเบี้ยของเราจะสูงกว่าอเมริกา  และยุโรป  มีเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศค่อนข้างมาก  ความท้าทายหนึ่งคือค่าเงินบาทแข็งค่ามาก

ขณะนั้นกรอบการบริหารจัดการยืนหยุ่นพอสมควร   เราไม่ได้ปล่อยค่าเงินลอยตัวแบบสุดๆ  พยายามทำให้ภาวะต่างประเทศเกิดความสมดุล  ทั้ง Current Account  บัญชีกระแสรายวัน   พยายามเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือ  ในกระเป๋ามีเครื่องมือที่เรียกว่าแคปิตอล โฟว์  มาเนจเม้นท์   ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่าง  กนง.ให้ความสนใจ อัตราแลกเปลี่ยน

 

ตัวอย่าง  2 ในเสาหลักแรก   ไฟแนนซ์เชียล อินสเตเบิลลิตี้ เป็นเรื่องท้าทายเชิงความคิด เราก็พยายามติดตาม  และถ้าจะพูดไปถึงเรื่องการป้องกันก็ยากพอสมควร   ขณะนั้นมีการพูดคุยกัน จะเข้าใจเรื่องนี้อย่างไร   จะฟอร์มทีมหรือไม่ จะจัดตั้งส่วนงานใหม่ หรือไม่   จะกล้าออกรายงานหรือไม่    ก็มีการเก็บข้อมูลหลายด้าน  เพราะดูแค่อัตราเงินเฟ้ออย่างเดียวไม่พอมีการเก็บข้อมูลหนี้สินภาคครัวเรือน  ทั้งเรื่องเอฟเอสไอ พวกสถาบันเฉพาะกิจของรัฐ   ตลาดสิ้นทรัพย์  ตลาดหุ้น ตลาดอสังหาริมทรัพย์   ซึ่งขณะนี้เรามีความเข้าใจ เวลาแก้ปัญหาโจทย์นโยบาย ต้องมีเครื่องมือเพียงพอ มีการพูดถึงเครื่องมือที่ในอดีตเราดูแลเฉพาะไมโครอย่างเดียว   เริ่มมีเครื่องมีเครื่องดูแลนโยบายมหภาค

 

นำไปสู่ความท้าทาย  การพัฒนาแนวทางระบบการเงินที่เหมาะสม   ซึ่งยังเหมือนเดิม เราพัฒนาระบบการเงิน ต้องการให้เป็นแห่งระดมทุน ที่กว้างลึก คล่องตัว  เราดูการดูแลสถาบันการเงินให้มีการแข่งขัน  เข้าถึงง่าย และเชื่อมโยง  เราดูแล   ระบบชำระเงินง่ายถูกปลอดภัย  แต่ขณะนี้เริ่มมีโจทย์ที่เราต้องคิดแบบละเอียด  จากการเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่พวกไอที  ถามว่าโครงสร้างอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร  โครงสร้างพื้นฐานจะเป็นอย่างไร  มาตรฐานกลางควรมีหรือไม่  ระบบอิเล็กทรอนิกส์จะก้าวหน้าไปแค่ไหน  ระบบกฎหมายและการควบคุมดูแลมีแค่ไหน  เป็นโจทย์ที่ท้าทายแบงก์ชาติ

 

มาถึงเรื่องเสาที่  2 เรื่องบุคลากร กับองค์กร เป็นความท้าทาย   เป็นส่วนสำคัญกับการสถาบันของแบงก์ชาติ  มีความชัดเจนวิสัยทัศน์องค์กร  ซึ่งเราอยากได้รับความเชื่อใจจากผู้เกี่ยวข้อง  เราอยากสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ  เราอยากให้การเกิดการร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ     และเสา 2 นั้นต้องมองภาพกว้าง ไม่ใช่เฉพาะภัยในองค์กร แบงก์ชาติ  เป็นพับบิคออฟฟิศ  เวลาพูดถึงแบงก์ชาติ ต้องมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆด้วย   เพราะฉะนั้นคุณสมบัติเรื่อง ความเชื่อใจ  การเข้ามามีส่วนร่วม  เป็นคุณสมบัติที่อยากให้เกิดขึ้นทั้งภายใน ภายนอกองค์กร

 

สุดท้ายก็ตัดสินใจออก  ไฟแนนซ์เชียล อินสเตเบิลลิตี้   เพื่อสื่อให้ประชาชน รับรู้ว่า ไม่ได้ดูแคบๆ เฉพาะเงินเฟ้อ  แต่ดูหลายอย่างในวงกว้าง    มีการทำงานร่วม กนง. กับ กนส.  ปรึกษาหารือกัน  มีการทำงานร่วมกับ กลต. กพพ.มากขึ้น

 

มีอีกเรื่องที่พยายามทำคือ ทาเล้นท์ เมเนจเม้นท์  เราพยายามรักษามตรฐานองค์กร  แต่โลกภายนอกเปลี่ยนแปลงไปมาก    แต่ไม่เหมาะสมจะไปปิดกั้นการไล่ล่าความฝันหรือ เรื่องกล้าทำเรื่องที่แตกต่าง    เรื่อง ทาเล้นท์ เป็นความท้าทายเสาหักที่ 2  ไม่ว่าจะเป็นการให้ทุนไปเรียนเพื่อให้ได้คนเก่งมาทำงาน

 

เสาที่  3  ประวัติศาสตร์ดีงาม   เป็นเรื่องสำคัญองค์กร  80 ปี ค่านิยมบางอย่างมีการตกผนึก  บางอย่างเป็นรากฝัง ก็ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร     ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการนำพาสมาชิกประพฤติปฎิบัติ   ค่านิยมมีส่วนต่อความเชื่อใจของพับบิคออฟฟิศ    ในสายตาคนนอก คน ธปท.มีหลักการ รอบคอบ สื่อสัตย์สุจริต   ก็ไม่ผิด    แต่หนีไม่พ้นวิพากวิจาษณ์   การทำงานอยู่บนหอคอยงาช้าง  สะท้อน 2 อย่าง  อยู่สูงก็ไม่ติดดิน    ค่านิยมที่ดีส่งเสริม  ส่วนบางจุดที่เป็นจุดอ่อนเป็นความท้าทาย  เราจะมีจุดกระตุ้นหรือรณรงค์หรือไม่  เกิดการรณรงค์สร้างค่านิยม    ยี่นมือ กับ  ติดดิน   หรือ บางช่วงบางตอน   มีเงินทุนสำรองตั้งเยอะ  ทำไมไม่ตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ  พวกนี้เหมือนปู่โสมเฝ้าทรัพย์แห่งบางขุนพรม  เป็นความท้าทายของเสาที่ 3

 

แต่ในเสาที่ 3  มีบางอันที่เราพยายามยกระดับ  อย่างเช่น  การประเมินภาวะเศรษฐกิจ  ตอนนั้นลงทุนเยอะ   แทนจะบอกข้อมูลภาวะเศรษฐกิจ  เรามีการลงพื้นที่  ประเมินภาวะเศรษฐกิจแบบลงพื้นที่ จากสเกลเล็กก็มีสเกลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ  สาขาภาคมีบทบาทสำคัญ   ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นนอกจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ  เรามีการลงพื้นที่สอบถามผู้ประกอบการ คุยกับชาวบ้าน

 

เรามีการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)  ฮอตไลน์ 1213  บอกว่าเราดูแต่ความมั่นคงธนาคารพาณิชย์  ชาวบ้านถูกโกง ถูกลอก ไม่มีดูแล  เราเริ่มต้นจากสเกลเล็กๆ  ขยายจากดูแลเรื่องการถูกหลอกถูกโกง มาดูแลเรื่อง   ความสัมพันธ์ลูกหนี้เจ้าหนี้   ที่พอจะยื่นมือเข้าไปทำในบางเรื่อง

 

มีความพยายามอย่างมากในการทำเรื่องการให้ความรู้เท่าทันการเงิน  มีการสร้างความพร้อมประสานงานผู้อื่นผ่านช่องทางต่างๆ   หรือแม้กระทั่ง ตั้งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ้งภากร   นอกจากระลึกถึงการชาตะ 100 ปี เปิดสร้างความรู้ ชุดความคิดเกี่ยวกับนโยบายการทำงานของแบงก์ชาติ  สร้างรายงานวิจัยทางเศรษฐกิจ  สามารถออกมาเป็นข้อเสนอแนะ   หรือ แนะนำ  ที่แตกต่างจากที่ข้อมูลแบงก์ชาติทำก็ได้

 

ใน 3 เสาหลัก สิ่งที่สำคัญในแต่ละช่วงนั้นเราสามารถบริหารจัดการได้ดีแค่ไหน   ส่วนหนึ่งคุณสมบัติทางเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจโดยตัวบุคคล  หรือตัดสินใจร่วมกัน ก็ต้องฉายภาพได้ว่าข้างหน้าเป็นอย่างไร   สามารถผลักดันเป็นนโยบายได้หรือไม่ ถ้านำไปสู่การปฎิบัติได้ก็ดี

 

ส่วนความสัมพันธ์รัฐบาล  ตลอด  5 ปี  พยายามเลี่ยงคำว่าอิสระ เพราะธนาคาร จะเลี่ยงรัฐบาลที่มาจากเสียงประชาชนไม่ได้   ต้องให้เครดิตอดีตผู้ว่า สร้างโปโตตอลที่ชัดเจนกว่าในอดีต  กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นอำนาจรัฐบาล   แต่การเลือกเครื่องมือ หรือ เวลา  แบงก์ชาติ  ความมีออิสระในการดำเนินการ      สิ่งที่สำคัญโปรโตคอล ต้องความโปร่งใสกับความรับผิดชอบ

 

ดร.ประสาร  กล่าวต่อไปอีกว่าฝากการบ้านแบงก์ชาติ  แบงก์ชาติเป็นสถาบัน   ต้องดำเนินการ   3 เสาหลักกรอบนโยบายยืดหยุ่น ธรรมภิบาล  ความโปรงใส มีเครื่องมือทำนโยบายเพียงพอ เข้าใจข้อจำกัด   เรื่องบุคลากร ระบบทำงานในองค์กรและประวัติความดีงามของค์กร ค่านิยม แต่สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับบริบทในบางเวลา คนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการให้เหมาะสมสถานการณ์