22 คำตอบที่จะทำให้ “คุณเข้าใจอนาคตเศรษฐกิจการเงินไทย”

02 ก.พ. 2565 | 16:05 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.พ. 2565 | 00:55 น.
1.4 k

3ความท้าทาย “ ดิจิทัล สิ่งแวดล้อม และผู้เล่นหน้าใหม่” เร่งภาคการเงินไทยตอบโจทย์อนาคต 3องค์ประกอบ “เปิดกว้างให้เกิดการแข่งขัน ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และรับมือความเสี่ยงรูปแบบใหม่อย่างเท่าทัน”

กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งเรื่องดิจิทัล    เรื่องสิ่งแวดล้อม และผู้เล่นหน้าใหม่ที่ เกิดขึ้นเร็วและรุนแรงขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จึงได้จัดทำแนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน (consultation paper) 

22 คำตอบที่จะทำให้ “คุณเข้าใจอนาคตเศรษฐกิจการเงินไทย”

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ    ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า  ทิศทางที่เราจะไปนั้น หลักการสำคัญอันหนึ่ง คือ การรักษาสมดุลระหว่างนวัตกรรมกับความเสี่ยง อะไรที่เสี่ยงเยอะก็กำกับเยอะ อะไรที่ไม่ค่อยเสี่ยงก็ไม่ไปกำกับมากมายอะไร และอะไรที่จำเป็นต้องดูให้เข้ม ก็ต้องดูให้เข้ม

 เช่น การดูแลผู้ฝากเงิน เพราะไม่ว่าจะเป็นรูปใดๆก็ตาม หัวใจสำคัญของการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินไทย คือ ต้องดูแลผู้ฝากเงิน ทำให้ผู้ฝากเงินมั่นใจ และมั่นคง  

 

22 คำตอบที่จะทำให้ “คุณเข้าใจอนาคตเศรษฐกิจการเงินไทย”

แต่อะไรที่ไม่จำเป็นต้องเข้มมาก เพราะความเสี่ยงไม่มาก ก็ผ่อนปรนมากขึ้น เช่น FinTech ถ้าดูแล้ว ความเสี่ยงไม่ได้มาก ก็ผ่อนปรนได้ และสุดท้ายอาจมีบางอย่าง ซึ่งตอนนี้ประเมินความเสี่ยงลำบาก ดูไม่ค่อยออกว่ามีความเสี่ยงแค่ไหน ดูไม่ออกว่าผลกระทบในวงกว้างจะมีมากแค่ไหน เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล เราจะใส่สิ่งที่เรียกว่าราวกั้น หรือ guard rail เพื่อจำกัดความเสี่ยง แต่พวกนี้อาจมีความยืดหยุ่น หากผ่านไปแล้ว ความเสี่ยงไม่ได้มากมายอะไร

“ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงใน 3 กระแส ( เรื่องดิจิทัล เรื่องสิ่งแวดล้อม และผู้เล่นหน้าใหม่) เหล่านี้  มีผลกระทบต่อภาคการเงินไทยอย่างเห็นได้ชัด   ทำให้เกิดคำถามที่ ธปท. ต้องไปหาคำตอบ”

22 คำตอบที่จะทำให้ “คุณเข้าใจอนาคตเศรษฐกิจการเงินไทย”

22 คำตอบที่จะทำให้ “คุณเข้าใจอนาคตเศรษฐกิจการเงินไทย”

(จากรายงานภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน)

 

:: แผนที่นำทางสู่อนาคตเศรษฐกิจการเงินไทย ::

 

Q0: รายงานเรื่อง “ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน”  (‘Consultation Paper’) คืออะไร และเกี่ยวข้องอะไรกับอนาคตเศรษฐกิจการเงินไทย

 

รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารการมองภาพภาคการเงินไทยท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงในอนาคต  รวมทั้งทิศทางหรือแนวนโยบายที่จะปรับโครงสร้างของภาคการเงินไทยให้เข้มแข็ง และสามารถรับมือกับ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้ดีโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้นำมุมมอง การวิเคราะห์ และทิศทาง นโยบายที่จะนำมาใช้ ไปหารือในเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ตัวแทนจากภาครัฐ  ภาคเอกชน และผู้กำกับดูแล เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะแนวนโยบายที่ดีที่สุดเพื่อรับมือกับโอกาสและความท้าทาย ใหม่

 

‘Consultation Paper’ ฉบับนี้จึงเป็นเสมือนแผนที่นำทางที่คอยบอกหลักการและทิศทางของภาคการเงินไทย ในอนาคต รวมทั้งสิ่งที่ ธปท. ตั้งใจจะดำเนินการต่อไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มา ประกอบการวางแผนการเดินทางไปในอนาคตได้ชัดเจนและเห็นภาพครบถ้วน

 

Q1: อะไรคือความท้าทายสำคัญของเศรษฐกิจการเงินไทย

ระบบเศรษฐกิจการเงินในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยต้องเผชิญกับความท้าทายที่จะกระทบ อนาคตของภาคการเงินไทย อย่างน้อย 3 ประการ 

 

ประการแรก การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (digital transformation) ด้วยอัตราเร่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นทั้ง ‘โอกาส’ และ ‘ความเสี่ยง’ ต่อภาคการเงินไทย ในด้านโอกาส เทคโนโลยีดิจิทัลไม่เพียงแต่ช่วยทำให้ ‘คุณภาพ’  ของบริการทางการเงินดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้คนส่วนใหญ่สามารถ ‘เข้าถึง’ บริการทางการเงินได้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังเปิดโอกาสให้มี ‘ผู้ให้บริการหน้าใหม่’ ทั้งที่อยู่ในและนอกภาค การเงิน เข้ามาแข่งขันกันได้มากขึ้น เกิดการพัฒนาหรือปรับปรุงบริการทางการเงินให้สะดวก รวดเร็ว ตอบ โจทย์ และเข้าถึงลูกค้าได้ดีขึ้น 

ในด้านความเสี่ยง การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วนี้อาจทำให้คนที่ปรับตัวไม่ทันต้องตกขบวน ซึ่งใน ระยะยาวจะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจ และซ้ำเติมให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำยิ่งรุนแรงขึ้น อีกทั้งการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ก็ย่อมตามมาด้วยความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ อาทิ การโจรกรรมข้อมูลรูปแบบใหม่ การคุกคามและภัยไซเบอร์ในหลายรูปแบบ หรือความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลหากไม่ รู้เท่าทัน เป็นต้น

 

ประการที่สอง ความยั่งยืน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเริ่มส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจรวดเร็วและรุนแรงขึ้นกว่าที่เคยคาดไว้ เห็นได้จากภัยแล้งและอุทกภัยที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น อีกทั้งสินค้า และบริการที่ผลิตโดยไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังจะแข่งขันในตลาดโลกได้ลำบาก เพราะหลายประเทศเริ่ม มี ‘มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ สถานการณ์เช่นนี้จึงกลายเป็นแรงกดดันที่ทำให้สังคม เศรษฐกิจไทย และภาคการเงิน ต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด

 

ประการที่สาม ความเหลื่อมล้ำ ภาคเศรษฐกิจการเงินไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำสูงมานาน จากข้อมูลพบว่า ผู้ประกอบการ SMEs มากกว่าร้อยละ 60 เข้าไม่ถึงสินเชื่อ เนื่องจากไม่มีข้อมูลในระบบหรือมีประวัติทาง การเงินไม่มากพอ (information asymmetry) ในขณะเดียวกัน สังคมไทยยังต้องเจอกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ ล่าสุดสูงถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ หรือ GDP ซึ่งนอกจากจะเป็นอัตราที่สูงที่สุดเป็น ประวัติการณ์แล้ว ข้อมูลยังชี้ด้วยว่าผู้มีภาระหนี้สูงส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย

 

Q2: การระบาดของโควิด 19 ส่งผลอย่างไรกับความท้าทายข้างต้น

วิกฤตโควิด 19 ทำให้ความท้าทายทั้ง 3 ด้านชัดเจนและเร่งด่วนมากขึ้น เพราะเป็นตัวเร่งให้ภาคการเงินเปลี่ยน ผ่านไปสู่ดิจิทัลเร็วขึ้นมาก เห็นได้จากมูลค่าและจำนวนผู้ใช้ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์เร่งขึ้นในช่วง 5 ปีที่ ผ่านมา โดยคนไทยมีจำนวนบัญชีInternet และ Mobile banking เพิ่มกว่า 3 เท่า และโอนเงินผ่านบัญชี ดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่า 18 เท่าตัว โควิด 19 ยังส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาคธุรกิจและแรงงาน ส่งผลซ้ำเติม ปัญหาความเหลื่อมล้ำของ SMEs และครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้น้อย และสร้างความกังวลในความไม่แน่นอน และปัจจัยภายนอก เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

Q3: ภาคการเงินในอนาคตมีหน้าตาเป็นอย่างไร

ภาคการเงินในอนาคตจะต้อง ‘เปิดกว้าง’ มากขึ้น โดยการกำกับดูแลจะต้องเพิ่มความ ‘ยืดหยุ่น’ เพื่อไม่ให้เป็น อุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมและการปรับตัวของทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการทางการเงิน ในขณะเดียวกัน ก็ต้องวิ่งตามให้ทันความเสี่ยงใหม่ ๆ ด้วย ที่สำคัญคือ ภาคการเงินต้องสามารถสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริง (Real sector) ให้ได้มากขึ้นและช่วยให้เศรษฐกิจและภาคธุรกิจสามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้

โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สิ่งที่เราต้องการเห็นจากภาคการเงินในอนาคต มีอยู่ 3 เรื่อง

 

  1. ภาคการเงินนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ ความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม
  2. ภาคการเงินช่วยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนสามารถปรับตัวสู่ระบบเศรษฐกิจการเงินดิจิทัล และรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
  3. ภาคการเงินสามารถรับมือกับความเสี่ยงสำคัญ รวมถึงความเสี่ยงในรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างเท่าทัน และเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง โดยการกำกับดูแลต้องยืดหยุ่นขึ้น  และไม่สร้างภาระแก่ผู้ให้บริการทางการเงินมากจนเกินจำเป็น

 

Q4: ภาคการเงินไทยควรต้องปรับอย่างไร เพื่อให้พร้อมเดินหน้าสู่อนาคต

ารปรับตัวของภาคการเงินไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่

  1. การพัฒนานวัตกรรมทางการเงินในระบบ การเงินที่เปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและการใช้เทคโนโลยีและข้อมูล
  2. การให้ความสำคัญกับความยั่งยืน  โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและความเหลื่อมล้ำ และ
  3. การกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น และสร้างสมดุล ระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและการป้องกันความเสี่ยง

 

:: พัฒนานวัตกรรมทางการเงินในระบบการเงินที่เปิดกว้าง :: 

22 คำตอบที่จะทำให้ “คุณเข้าใจอนาคตเศรษฐกิจการเงินไทย”

Q5: โจทย์สำคัญของการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินคืออะไรบ้าง

ธปท. มองว่า ภาคการเงินจะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเงินและ ลดช่องว่างการเหลื่อมล้ำได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่ออยู่ภายใต้‘ระบบการเงินที่เปิดกว้าง’ ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ด้าน  ได้แก่ เปิดกว้างในการแข่งขัน (Open Competition) เปิดกว้างให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน (Open  Infrastructure) และเปิดกว้างให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Open Data) 

 

Q6: ‘การเปิดกว้างในการแข่งขัน’ คืออะไร และมีนโยบายที่เป็นรูปธรรมอย่างไร

การเปิดกว้างในการแข่งขัน คือ การส่งเสริมให้ผู้ให้บริการทั้งรายเดิมและรายใหม่เข้ามาแข่งขันให้บริการและ พัฒนานวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเข้าถึงคนในวงกว้างขึ้น โดยหัวใจของการเปิดกว้างใน การแข่งขัน คือ การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินที่ทำธุรกิจแบบเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอื้อให้เกิด การผูกขาดหรือการใช้อำนาจตลาดอย่างไม่เป็นธรรม และต้องคำนึงถึงความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน  ผู้ฝากเงิน หรือผู้บริโภคในวงกว้าง

 

นโยบายที่เป็นรูปธรรมสำหรับการเปิดกว้างในการแข่งขัน อาทิ

  1. การเปิดให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนิน ธุรกิจบนช่องทางดิจิทัล (virtual bank) ที่คล่องตัวกว่าและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำกว่าธนาคาร พาณิชย์แบบดั้งเดิม (traditional bank)
  2. การอนุญาตให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร พาณิชย์ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่ไม่รวมสินทรัพย์ดิจิทัล ได้ไม่จำกัด เพื่อเพิ่ม ความคล่องตัวให้ธนาคารพาณิชย์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ แต่ต้องไม่กระทบผู้ฝากเงินและต้องมีการคุ้มครอง ผู้บริโภคอย่างเหมาะสม
  3. การสนับสนุนการเรียนรู้ ทดสอบ และลงทุนในเทคโนโลยีใหม่เพื่อพัฒนาบริการ ทางการเงิน อาทิ การนำสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (เช่น blockchain)  มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการในภาคการเงินและภาคธุรกิจ และ
  4. การให้ non-bank  ทำธุรกิจได้หลากหลายขึ้นและสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินด้วยต้นทุนที่เหมาะสม เพื่อให้ เข้ามาแข่งขันได้เต็มที่ ภายใต้การกำกับดูแลตามระดับความเสี่ยง เพื่อให้เท่าเทียมกับผู้เล่นอื่น

 

Q7: ทำไม ‘การเปิดกว้างให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน’ จึงเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญของระบบการเงิน

 

การเปิดให้ผู้ให้บริการหลากหลายสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อใช้ประโยชน์ด้วยราคาที่ เหมาะสม นอกจากจะช่วยส่งเสริมการแข่งขันกันในการให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจและประชาชนแล้ว ยัง ช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมทางการเงินโดยเฉลี่ยมีต้นทุนต่ำลง เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และช่วยเร่งให้ ภาคการเงินไทยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัลได้เร็วขึ้น 

 

ในทางตรงข้าม หากการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินกระจุกตัวอยู่ที่คนบางกลุ่ม ทำให้ต้นทุนการเข้าถึง ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง จะลดทอนประสิทธิภาพการให้บริการและสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อ การแข่งขันเพื่อพัฒนานวัตกรรมและการให้บริการทางการเงิน ทำให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคธุรกิจและประชาชนเสีย ประโยชน์

 

ดังนั้น ในการเปิดกว้างให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานจะรวมถึง (1) การให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมี ส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและนำไปใช้ต่อ ยอดการพัฒนาเป็นวงกว้างขึ้น (2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลและช่วย เพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยต้นทุนที่สะท้อนความเสี่ยงตามจริงมากขึ้น เช่น โครงสร้างพื้นฐานรองรับ ธุรกรรมการค้าและการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจ (Smart Financial and Payment Infrastructure for Business) การพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชนที่ออกโดยธนาคารกลาง (Retail CBDC) และกลไก การค้ำประกันความเสี่ยงที่รองรับความต้องการเงินทุนหลากหลายรูปแบบ เป็นต้น และ (3) การเร่งลดการใช้ เงินสดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งลดการใช้เช็คกระดาษ และทบทวนการตั้งราคาสำหรับบริการชำระเงินให้ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

 

Q8: ‘การเปิดกว้างให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล’ จะช่วยทำให้เกิดระบบการเงินที่เปิดกว้างได้อย่างไร

การเปิดกว้างให้เกิดการเชื่อมต่อของข้อมูล จะช่วยให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไป พัฒนาต่อยอดบริการทางการเงินได้เต็มที่ยิ่งขึ้น แข่งขันได้เท่าเทียมขึ้น ในขณะที่ผู้ใช้บริการทางการเงินจะมี โอกาสเลือกใช้บริการหรือเลือกผู้ให้บริการได้หลากหลาย และมีโอกาสได้รับบริการที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ได้ดี กว่าเดิมด้วยต้นทุนที่ถูกลง

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญมีอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือ การผลักดันกลไกเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการทางการเงิน โดยหากผู้ให้บริการ (ในฐานะผู้ถือข้อมูล) สามารถเชื่อมต่อเพื่อแบ่งปัน ข้อมูลระหว่างกันได้ ผู้ใช้บริการ (ในฐานะเจ้าของข้อมูล) ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของตัวเองได้อย่าง เต็มที่ และยังสามารถเลือกผู้ให้บริการต่าง ๆ ได้โดยสะดวกด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ประการที่สองคือ การมีหลัก ธรรมาภิบาลการใช้ข้อมูลให้เหมาะสม ปกป้องสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล มีกลไกป้องกัน การรั่วไหลของข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้โดยมิชอบ ที่สำคัญ การเปิดเผยข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจาก เจ้าของข้อมูลก่อนเสมอ

การเปิดกว้างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลจะสามารถดำเนินการได้ผ่าน

1.การผลักดันนโยบาย Open  Banking ที่เอื้อให้ผู้ใช้บริการสามารถส่งข้อมูลของตนให้แก่ผู้ให้บริการต่าง ๆ ได้สะดวกและมีต้นทุนที่ เหมาะสม โดยสร้างกลไกให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิอนุญาตให้ผู้ให้บริการทางการเงิน เปิดเผยและส่งข้อมูลของตน แก่ผู้ให้บริการบุคคลที่สาม (consent management) และผลักดันให้มีมาตรฐาน API (Application  Programming Interface) และมาตรฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูลระหว่าง ผู้ให้บริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน

2.การสนับสนุนการเชื่อมต่อและนำฐานข้อมูลระดับธุรกรรม หรือระดับ จุลภาค (micro-level data) ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีด ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ลึกซึ้งและแม่นยำกว่าการใช้ข้อมูลภาพรวม (high-level data) 

 

:: สู่ระบบการเงินที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง :: 

Q9: ทำไมภาคการเงินต้องใส่ใจกับความยั่งยืน

 

บทบาทสำคัญของภาคการเงิน คือ การทำหน้าที่จัดสรรเงินทุนในระบบเศรษฐกิจจากผู้ฝากกระจายไปยังผู้กู้ โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังนั้น การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากภาคการเงินไม่ มีนโยบายที่จะขยับเงินทุนไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

 

นอกจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ภาคการเงินต้องตระหนักและปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงทั้งกับธุรกิจในภาค การเงินเองและภาคเศรษฐกิจจริงแล้ว ภาคการเงินยังมีศักยภาพที่จะช่วยบรรเทา หรือกระทั่งลดปัญหา ความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่กำลังกัดกินสังคมไทย โดยโจทย์ที่ท้าทายของภาคการเงินไทยใน

เรื่องนี้คือ การช่วยให้ครัวเรือนหรือกลุ่มเปราะบางอยู่รอด สามารถจัดการหนี้สินและปรับตัวสู่โลกใหม่ได้อย่าง ยั่งยืน

 

Q10: ภาคการเงินที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มี หน้าตาเป็นอย่างไร

 

ธปท. พยายามผลักดันให้ภาคการเงินไทยนำเอาโอกาสและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ การดำเนินงานและการตัดสินใจทางธุรกิจ เพื่อช่วยสนับสนุน หรือกระตุ้นให้ภาคเศรษฐกิจจริงเปลี่ยนผ่านไปสู่ เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น โดยที่ไม่สร้างภาระหรือต้นทุนแก่ภาคธุรกิจเกินไป

 

หรืออาจกล่าวได้ว่า ภาคการเงินที่คำนึงถึงความยั่งยืน ก็จะมองเห็นโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการ ทางการเงินที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจปรับตัวและเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ ในขณะเดียวกัน  ภาคการเงินก็จะต้องระวัง และไม่ประเมินโอกาสและความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมสูงเกินไป จนทำให้ เกิดฟองสบู่สีเขียว (green bubble) เพราะไปส่งเสริมธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบางประเภทมาก จนเกินไป โดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานหรือข้อจำกัดทางเศรษฐกิจที่มีขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ตัดขาดธุรกิจที่ อยู่ระหว่างการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่าน จนทำให้ธุรกิจปรับตัวไม่ทัน

 

Q11: ธปท. มีแนวนโยบายอย่างไร ที่จะสนับสนุนให้ภาคการเงินไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น

 

ธปท. ให้ความสำคัญกับการวางรากฐานให้กับระบบนิเวศของเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสนับสนุนบทบาทของภาค การเงินด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ โดยมีแนวนโยบายที่สำคัญ ได้แก่

  1. การกำหนดนิยามและจัดกลุ่ม กิจกรรมที่นับอยู่ในเศรษฐกิจสีเขียว (taxonomy) ให้เป็นระบบ เหมาะกับบริบทของไทย และสอดคล้องกับ มาตรฐานสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงในการจัดสรรเงินทุนไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียวได้ชัดเจน
  2. การกำหนดมาตรฐานในการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน (disclosure) เพื่อแสดงความมุ่งมั่นใน การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมได้ชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  3. การผลักดันให้มีบริการและ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ภาคธุรกิจปรับตัวและลดกิจกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการประเมิน และบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในการทำธุรกิจอย่างจริงจังและเป็นระบบ และสามารถออกแบบ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียวที่สะท้อนความเสี่ยงดังกล่าว
  4. สร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม (incentive structure) ให้สถาบันการเงินและภาคธุรกิจ เพื่อเร่งให้เกิดการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มโอกาสให้  SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และ
  5. การสร้างองค์ความรู้และ ศักยภาพบุคลากรภาคการเงิน เพื่อให้บุคลากรในภาคการเงินสามารถประเมินความเสี่ยงและโอกาสจาก ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำไปออกแบบผลิตภัณฑ์และการให้บริการได้อย่างเหมาะสม

 

Q12: อะไรเป็นจุดแข็งของภาคการเงินในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพื่อสร้างภาคการเงินที่ยั่งยืน 

 

หากครัวเรือนไทยสามารถเข้าถึงบริการภาคการเงินได้อย่างทั่วถึง ภายใต้ต้นทุนทางการเงินที่ไม่สูงนักและ สอดคล้องกับความเสี่ยงของตน รวมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับการเงินที่เพียงพอ ก็จะสามารถปรับตัวและอยู่รอดใน โลกใหม่ได้ในส่วนของครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ภาคการเงินก็สามารถออกแบบกลไกช่วยให้ปรับตัว ได้โดยไม่กลับมาเป็นหนี้อีก

แนวนโยบายสำคัญที่จะช่วยให้ภาคการเงินมีส่วนในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ได้แก่

  1. การยกระดับการ ให้ความรู้และทักษะทางการเงินและการเงินดิจิทัล (financial/digital literacy) ทั้งในด้านการสื่อสาร ความรู้ให้เข้าถึงง่าย เท่าทันต่อภัยคุกคามใหม่ ๆ และด้านการเพิ่มบทบาทและเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการทาง การเงินได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้เกิดพฤติกรรมการเงินที่ดี (เช่น การออมเพื่อเกษียณ)
  2. การผลักดัน การให้สินเชื่อรายย่อยอย่างรับผิดชอบ (responsible lending) โดยต้องเหมาะสมกับความสามารถใน การชำระหนี้ เพื่อให้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่ออย่างเหมาะสมและป้องกันการก่อหนี้จนเกินตัว
  3. การผลักดัน กลไกการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างครบวงจรจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ครัวเรือนที่มีหนี้ล้นพ้นตัว ปรับตัวได้โดยไม่กลับมามีหนี้ล้นพ้นตัวอีก และ
  4. การจัดเก็บข้อมูลภาระหนี้ครัวเรือนอย่างครอบคลุมเป็น ระบบ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนให้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างเหมาะสมด้วยราคาที่สอดคล้องกับความเสี่ยง และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาหนี้ระยะยาวได้

 

:: ปรับการกำกับดูแลให้มีความยืดหยุ่น หาสมดุลระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและการป้องกันความเสี่ยง ::

Q13: ทำไมความยืดหยุ่นของการกำกับดูแลจึงสำคัญกับภาคการเงินและ ธปท. เป็นพิเศษ

ธนาคารกลางทั่วโลกมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพ ลดความเสี่ยงของระบบการเงิน และกำกับดูแลผู้ให้ บริการทางการเงินอย่างเข้มงวด ในหลายครั้ง ธนาคารกลางจึงถูกมองว่าเป็น ‘ผู้คุมกฎ’ มากกว่าที่จะเป็น ‘ผู้ อำนวยความสะดวก’ 

 

ในภาวะแวดล้อมที่ภาคการเงินต้องปรับตัว ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อแข่งขันและตอบ โจทย์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทิศทางการกำกับดูแลจึงต้องยืดหยุ่นมาก ขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อผู้ให้บริการทางการเงินในการพัฒนานวัตกรรม ขณะที่สามารถดูแลให้ภาคการเงิน รับมือกับความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างเท่าทัน 

 

การปรับการดูแลจากการรักษาเสถียรภาพให้ภาคการเงินมีความมั่นคง ไม่ผันผวน มาเป็นการดูแลอย่างยืดหยุ่น มากขึ้น เพื่อสร้าง ‘ความทนทาน’ ของภาคการเงินต่อความเสี่ยง ในภาษาอังกฤษ เราใช้คำว่า ‘From  Stability’ to Resiliency’ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดและวิธีทำงานในการกำกับดูแลได้ ค่อนข้างชัดเจน

 

Q14: ในการพัฒนานวัตกรรมและการป้องกันความเสี่ยง เราจะสร้างสมดุลอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

 

ในเบื้องต้น ธปท. ได้ปรับแนวทางกำกับดูแล 2 ด้าน ด้านแรก คือ การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินที่มี หลากหลายขึ้นให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มผู้ให้บริการ รวมทั้งทบทวนและปรับลดกฎเกณฑ์ที่เป็น อุปสรรคต่อผู้ให้บริการทางการเงินกลุ่มต่าง ๆ ด้านที่สอง คือ การยกระดับการกำกับดูแลความเสี่ยงสำคัญภายใต้ โลกการเงินใหม่ เพื่อลดโอกาสการเกิดความเสียหายที่จะลุกลามส่งผลต่อเศรษฐกิจผู้ฝากเงิน และผู้บริโภคเป็น วงกว้าง

 

อาจกล่าวได้ว่า การวางแนวทางกำกับดูแลของ ธปท. มีทั้งมิติของการผ่อนปรนและเข้มงวดขึ้นควบคู่กันไปเพื่อให้ ภาคการเงินสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจในโลกใหม่ได้

 

Q15: ในการปรับทิศทางการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินให้‘เหมาะสม’ และ ‘ยืดหยุ่น’ ธปท. มีหลัก อย่างไร

 

การปรับให้การกำกับดูแลมีความยืดหยุ่น ยิ่งทำให้การกำกับดูแลต้องอยู่บนหลักการที่ชัดเจน เข้าใจ ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของการกำกับดูแล เพื่อที่จะลดอุปสรรคให้เหลือเฉพาะแต่การกำกับเท่าที่จำเป็น 

 

ตัวอย่างเช่น การกำกับดูแลผู้ให้บริการโดยใช้หลักการเป็นที่ตั้ง หรือ principle-based และกำกับตาม ระดับความเสี่ยง ผสมผสานด้วยมาตรฐานหรือเกณฑ์ขั้นต่ำที่บังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน โดยให้ผู้ให้บริการ ทางการเงินสามารถใช้แนวทางหรือวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับลักษณะและระดับความเสี่ยงของตนได้ 

 

นอกจากนี้ ธปท. ยังมีกลไกให้ผู้ให้บริการทางการเงินที่ประสบปัญหาและไม่สามารถปรับตัว เลิกประกอบ กิจการได้ โดยไม่ทำให้ระบบการเงินหยุดชะงัก โดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้เลิกกิจการได้อย่างราบรื่นและไม่ ส่งผลกระทบรุนแรงต่อลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง

 

ในส่วนของการทบทวนกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคของผู้ให้บริการทางการเงิน ธปท. จะผลักดันการทบทวนการ กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้คิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของผู้กู้ หรือ risk-based pricing ซึ่งจะช่วย ให้กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าเพดานได้รับดอกเบี้ยต่ำลง และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าเพดานมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อ มากขึ้น นอกจากนี้ ธปท. ยังปรับปรุงกระบวนการทำ Regulatory Sandbox เพื่อเพิ่มความชัดเจน ความรวดเร็ว  และลดภาระของผู้ให้บริการ

 

Q16: ในการยกระดับการกำกับดูแลความเสี่ยงในโลกการเงินใหม่ มีตัวอย่างในการดำเนินการอย่างไร 

 

ในการดูแลความเสี่ยงในโลกใหม่ ธปท. ยังคงให้ความสำคัญกับ ‘ความเสี่ยงเชิงระบบ’ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ปัญหาหรือความเสียหายที่ลุกลาม ไปยังระบบเศรษฐกิจการเงิน ส่งผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน และผู้บริโภคใน วงกว้าง 

 

ตัวอย่างที่สะท้อนวิธีคิด เช่น การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการแทนเงินบาท (Means of Payment: MOP) จะส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจการเงินภาพรวม หรือการปรับการ กำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป

 

ดยเฉพาะ การขยายไปสู่ธุรกิจ FinTech และ E-Commerce ที่เป็นรูปแบบใหม่ของการให้บริการทางการเงินที่ส่งผล กระทบต่อประชาชนในวงที่กว้างขึ้น หรือการยกระดับการกำกับดูแลการให้บริการทางการเงินของกลุ่มที่ ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank FI) ทั้งในด้านขนาดและความเชื่อมโยงที่จะส่งผ่านความเสี่ยงไปยังส่วน อื่น ๆ ของระบบการเงิน ซึ่งล้วนแต่เป็นการปรับทิศทางการกำกับดูแลภายใต้กรอบและทิศทางที่ได้กล่าวไป แล้วทั้งสิ้น

 

Q17: อะไรคือความเสี่ยงของการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็น MOP

 

ประการแรก สินทรัพย์ดิจิทัลยังมีปัญหาด้านต้นทุนและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เนื่องจากราคาสินทรัพย์ ดิจิทัลมีความผันผวนสูง และยังไม่มีผู้ดูแลมาตรฐานความปลอดภัย รวมถึงอาจถูกใช้เป็นช่องทางในการฟอก เงิน

ประการที่สอง การใช้สื่อกลางในการชำระเงินรูปแบบอื่น อาจทำให้เกิดระบบการชำระเงินที่กระจายตัว  (fragmentation) และซ้ำซ้อน ทำให้ต้องแลกเปลี่ยนไป-มา ซึ่งจะลดทอนประสิทธิภาพของระบบและทำให้ ต้นทุนการชำระเงินของประเทศสูงขึ้น 

ประการที่สาม การใช้เงินดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ หากแพร่หลาย จะกระทบเสถียรภาพการเงิน และความสามารถในการดูแลภาวะการเงินในประเทศ เช่น ยังไม่มีองค์กรที่จะปล่อยสภาพคล่องในรูปสกุลเงิน ดิจิทัลให้กับระบบการเงินหากเกิดวิกฤต หรือนโยบายการเงินไม่สามารถดูแลกำลังซื้อของประชาชนในภาพรวม ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจได้หากประชาชนไม่ได้ใช้เพียงเงินบาทเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนสินค้าและ บริการ เป็นต้น

 

Q18: สามารถพูดได้ไหมว่า ธปท. ปฏิเสธสินทรัพย์ดิจิทัลโดยสิ้นเชิงเลย

ธปท. ไม่ได้ปฏิเสธสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมด โดยสินทรัพย์ดิจิทัลยังสามารถใช้เพื่อการลงทุนได้ ขณะที่กรณี การนำมาใช้เป็น MOP หากมีสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงิน และการต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน ธปท. ก็พร้อมจะพิจารณาแนวทางการกำกับดูแลการให้บริการที่ เหมาะสม เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการและป้องกันความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบการชำระเงิน

 

ตัวอย่างของบริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะพิจารณากำกับดูแล อาทิ การออกและใช้สินทรัพย์ดิจิทัลที่หนุนหลัง ด้วยเงินบาท (Thai Baht-backed stablecoin) โดยจะดูแลขอบเขตการให้บริการ และความมั่นคงปลอดภัย ของระบบและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น 

Q19: ธปท. มองการเข้าไปลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์อย่างไร และจะมีแนวทางใน การกำกับดูแลหรือไม่ อย่างไร

 

ธปท. เปิดกว้างให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีด้วยเห็นประโยชน์ในการเพิ่มความยืดหยุ่นของ ธนาคารพาณิชย์ในการพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงิน เช่น ธุรกิจ Fintech  หรือ e-commerce platform สิ่งสำคัญ คือ ธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่าง เท่าทัน โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาหรือความเสียหายต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ผู้ฝากเงิน และผู้บริโภคใน วงกว้าง 

 

ในการนี้ ธปท. จะยกระดับการกำกับดูแลด้านธรรมาภิบาล การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน และ การบริหารความเสี่ยง ให้สอดคล้องตามความสำคัญที่มีต่อกลุ่มธุรกิจฯ โดยเฉพาะความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ ที่ อาจเกิดจากเทคโนโลยีหรือภัยไซเบอร์ รวมถึงจะกำกับดูแลธุรกรรมที่มีความเชื่อมโยงกันในกลุ่มธุรกิจฯ เช่น  การให้กู้ยืมระหว่างกัน การใช้ช่องทางให้บริการ หรือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลลูกค้าร่วมกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการส่งผ่านความเสี่ยงระหว่างกันในกลุ่มธุรกิจฯ จนอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของธนาคาร พาณิชย์ที่รับฝากเงินจากประชาชนและฐานะการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจฯ ในภาพรวมได้ในอนาคต

 

Q20: ธปท. มีแนวทางในการกำกับดูแลกลุ่ม non-bank FI ที่กำลังเข้ามาให้บริการทางการเงินมากขึ้น ต่อเนื่องอย่างไร

 

ธปท. จะเพิ่มการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินกลุ่ม non-bank FI โดยจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงและ ความสำคัญเชิงระบบของ non-bank FI และกลุ่มธุรกิจ non-bank FI ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นขนาด การส่งผ่าน ความเสี่ยงไปยังระบบ การใช้อำนาจตลาดอย่างไม่เป็นธรรม ฯลฯ ทั้งนี้ การกำกับดูแล non-bank FI ที่มี ความสำคัญเชิงระบบจะเข้มขึ้น โดยเฉพาะในมิติความมั่นคง อาทิ ธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยงและการดำรงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง รวมทั้งแนวทางป้องกันและเตรียมการรองรับกรณีเกิดปัญหา เพื่อ ลดโอกาสที่จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบการเงินและผู้บริโภค

 

Q21: ถึงที่สุดแล้ว โลกการเงินก็คงจะเปลี่ยนและวิวัฒน์ต่อไปอีกในอนาคต การกำกับดูแลของ ธปท. ก็ อาจจะต้องเปลี่ยนไปอีกหรือไม่

 

ธปท. ตระหนักดีว่า การกำกับดูแลภายใต้โลกการเงินใหม่ ไม่มีนโยบายใดที่เป็นสูตรสำเร็จ และจะใช้ได้ ตลอดไป ในฐานะธนาคารกลาง ธปท. จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เมื่อใดที่สถานการณ์เปลี่ยน  ความรู้เปลี่ยน และข้อมูลเปลี่ยน การกำกับดูแลก็ต้องปรับให้เหมาะสมตามบริบทที่เปลี่ยนไป

ดังนั้น นอกจากงานด้านนโยบายการเงินแล้ว ในการเตรียมความพร้อมรับมือพัฒนาการด้านเทคโนโลยี ธปท.  ยังส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้าน IT/cyber ของประเทศด้วย โดยต่อยอดความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ภาคการเงินที่สำคัญ อาทิ ศูนย์ประสานงานความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร  (Thailand Banking Sector CERT: TB-CERT) สำนักงาน ก.ล.ต. คปภ. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการสร้างความตระหนักรู้เรื่อง IT/cyber  risk แก่คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน และขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงาน ระดับประเทศ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ใน การยกระดับความรู้ความสามารถเชิงลึกด้าน IT/cyber แก่เจ้าหน้าที่ภาคการเงิน และการรับพนักงานใหม่ด้าน  IT/cyber เข้าสู่ภาคการเงินของประเทศ

 

Q22: ประชาชนทั่วไปจะมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางภาคการเงิน ไทยแห่งอนาคตหรือไม่

 

ธปท. พร้อมเปิดกว้างให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะ เพื่อให้มั่นใจว่านโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาจะตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการทางการเงินได้ตรงจุดที่สุด

ธปท. จึงขอเชิญชวนท่านที่สนใจอ่านรายงาน เรื่อง “ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและ การเติบโตอย่างยั่งยืน” (‘Consultation Paper’) ฉบับเต็ม และร่วมเสนอแนะเกี่ยวกับแนวนโยบายการปรับ ภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย ทั้งในส่วนของเนื้อหาโดยทั่วไปและประเด็นเฉพาะเรื่องที่ระบุเป็นคำถามไว้ในส่วนท้าย ของแต่ละหัวข้อ โดยท่านสามารถส่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปยัง ธปท. ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 28  กุมภาพันธ์ 2565 ผ่าน 2 ช่องทาง คือ

 

1. ผ่านทาง website ธปท. (www.bot.or.th/landscape) หรือ

2. ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ([email protected])