แบงก์กรุงเทพวิเคราะห์ เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีกไม่นาน

24 ส.ค. 2564 | 11:24 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ส.ค. 2564 | 20:07 น.
705

B Bnomics ธนาคารกรุงเทพวิเคราะห์เศรษฐกิจปี2564และแนวโน้มปี 2565 โดยระบุ GDP ของไทยในไตรมาส 2 ขยายตัว 7.5% และคาดว่าจะเข้าสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีกไม่นาน

B Bnomics ธนาคารกรุงเทพวิเคราะห์เศรษฐกิจปี2564และแนวโน้มปี 2565 โดยระบุ GDP ของไทยในไตรมาส 2 ขยายตัว 7.5% และคาดว่าจะเข้าสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีกไม่นาน

แบงก์กรุงเทพวิเคราะห์ เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีกไม่นาน

 

หลังจากที่ GDP ประเทศไทยหดตัว 2.6% ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564

เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ในไตรมาสที่ 2 GDP กลับมาขยายตัวได้ที่ 7.5% เนื่องจากฐานต่ำสืบเนื่องจากการล็อคดาวน์ทั่วประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้ว โดยตัวเลขนี้ถือว่าสูงกว่าผลสำรวจใน Bloomberg (6.6%)  อย่างไรก็ดี GDP ในไตรมาสที่ 2 นี้ยังคงต่ำกว่า GDP ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ราว 4%

 

การฟื้นตัวของการส่งออกที่แข็งแกร่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสนี้ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศคู่ค้าต่าง ๆ เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ด้วยเหตุนี้การส่งออกสินค้าและบริการของไทยจึงปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงที่ 27.5% ดีขึ้นจากที่หดตัวไป 10.5% ในไตรมาสที่ 1 ขณะที่การนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 31.4% สูงขึ้นจากที่ขยายตัว 1.7% ในไตรมาสก่อน

การท่องเที่ยว

ความพยายามที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในประเทศด้วยโครงการ Phuket Sandbox และ Samui Plus คาดว่าจะทำรายได้ให้กับประเทศได้ไม่มากนัก โดยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นมามีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพียงไม่กี่หมื่นคน ซึ่งถือว่าน้อยมากหากเทียบกับช่วงก่อนการระบาด

 

โดยทั้งปีนี้ทางเรามองว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยราว 1 แสนคน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ 1.2 ล้านคนมาก

 

 

การล็อคดาวน์

ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการระบาดระลอกที่ 3 ที่มีผู้ป่วยใหม่เฉลี่ยกว่า 2 หมื่นรายต่อวัน รัฐบาลได้ออกมาตรการล็อคดาวน์ที่เข้มงวดอีกครั้งหนึ่งในเดือนกรกฎาคมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนจำนวนหลายล้านคน

 

ปัจจุบันการล็อคดาวน์พื้นที่ 29 จังหวัดนี้คิดเป็นกว่า 75% ของ GDP ประเทศไทย และครอบคลุมกว่า 40% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ทางเรามองว่ามาตรการดังกล่าวจะยังคงมีผลบังคับใช้ไปจนถึงไตรมาสที่ 3 และจะเริ่มมีการผ่อนคลายตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 เป็นต้นไป

อัตราการขยายตัวของ GDP ประเทศไทย ด้านการใช้จ่าย

 

ค่าเงินบาท

เงินบาทคาดว่าจะยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยจะสามารถควบคุมได้ แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะให้คำมั่นว่าจะเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบในช่วงเดือนพฤศจิกายน แต่เรามองว่ามีไม่น่าจะเป็นไปได้และเราคาดว่าประเทศไทยจะประสบกับการฟื้นตัวรูปแบบ W-shaped ไม่ใช่การฟื้นตัวแบบ V-shaped เหมือนกับประเทศที่ประสบความสำเร็จในการกระจายวัคซีน

GDP ประเทศไทย (Q4 2019 = 100)

แบงก์กรุงเทพวิเคราะห์ เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีกไม่นาน

เนื่องด้วยระบบสาธารณสุขที่ล่มในตอนนี้ เราอาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 – 3 เดือนก่อนที่สถานการณ์การแพร่ระบาดจะเริ่มดีขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยคาดว่าจะยังคงขาดดุลจนกว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเรามองว่าค่าเงินบาทจะยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องไปที่ระดับ 34.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

นโยบายการเงิน

หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา ทางเราคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเดือนกันยายน เนื่องจากในขณะนี้เศรษฐกิจไทยต้องการแรงหนุนอย่างมาก และเราจะจับตาดูต่อไปว่าทางธปท. จะมีนโยบายอะไรออกมาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการลดอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ใกล้ 0% มากแล้ว

ในระยะข้างหน้าเราคาดว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สภาวะถดถอยอีกครั้งโดย GDP ในไตรมาสที่ 3 และ 4 จะหดตัว 3% และ 1.8% ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวเลขการคาดการณ์การดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนและขึ้นอยู่กับแนวโน้มความสำเร็จในการแจกจ่ายวัคซีนและระยะเวลาที่ใช้ในการล็อคดาวน์ ส่วนการฟื้นตัวของ GDP จะเป็นไปได้ช้ากว่าประเทศอื่น ที่มีการจัดสรรวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะฟื้นกลับมาแตะระดับก่อนการระบาดในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2565

สำหรับแนวโน้มปี 2565

เราคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วดังจะสังเกตได้จากประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และยุโรป ที่ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งหลังมีการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง เราคาดว่า GDP จะเพิ่มขึ้น 5% โดยมีแรงสนับสนุนหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชน ส่วนด้านการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวเพียงเล็กน้อย โดยมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาราว 2 ล้านคน แต่ก็อาจจะมากกว่านี้ได้ หากแผนการฉีดวัคซีนประสบความสำเร็จได้ดีกว่าคาด