จากกรณีที่ แบงก์ชาติ ร่วมกับกระทรวงการคลัง และ สมาคมสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน เพื่อลดภาระลูกหนี้ (ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง) ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการของทางการ
ความคืบหน้าล่าสุด ธนาคารกรุงไทย ได้มาตรการเร่งด่วนช่วยลูกค้า SME และรายย่อย ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมฯ ของทางการ พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ยนาน 2 เดือน สำหรับลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการเริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไปแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อ
โดย ธนาคารกรุงไทย ได้ออก 7 มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด ดังนี้
ลูกค้าบุคคล
มาตรการที่ 1
สินเชื่อที่อยู่อาศัย และ สินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน
- ลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาชำระหนี้ สูงสุด 12 เดือน หรือ
- พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ
- พักชำระ เงินต้นและชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน
มาตรการที่ 2
สินเชื่อบุคคล แบบกำหนดระยะเวลา
ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม สูงสุด 6 เดือน
มาตรการที่ 3
สินเชื่อบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียน เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้ แบบกำหนดระยะเวลา 48 งวด
ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการลูกค้าบุคคล
มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู
ลูกค้าธุรกิจ
มาตรการที่ 4
เฉลี่ย 2 ปี ไม่เกิน 2% ต่อปี
สูงสุด 10 ปี
โดย บสย. สูงสุด 10 ปี
จุดเด่น
- ดอกเบี้ย 2% 2 ปีแรก (ดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปีแรก ≤ 5% ต่อปี)
- ยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก
- วงเงินสูงสุด 150 ล้านบาท
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายเดิมของธนาคาร : วงเงินสูงสุด 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกรุงไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดสูงกว่า แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท (รวมวงเงินสินเชื่อ Soft Loan เดิม)
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายใหม่ของธนาคาร : วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
- ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี
คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ
- เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- กรณีเป็นลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายเดิมของธนาคาร
- มีวงเงินสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจกับธนาคารไม่เกิน 500 ลบ. ณ 28 ก.พ.64 (ไม่รวมถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค)
- ไม่เป็นลูกหนี้ NPL ณ 31 ธ.ค.62
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายใหม่ของธนาคาร ต้องไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่ง ณ 28 ก.พ. 64 (ไม่รวมถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค)
- ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI
- ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
หลักประกัน
- ค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
- ค่าธรรมเนียม บสย. สูงสุด 1.75% ต่อปี โดยรัฐบาลจ่ายให้ไม่เกิน 3.5% ตลอดการค้ำประกัน
- สามารถใช้หลักประกันอื่นตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนดร่วมด้วยได้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียมที่ได้รับการยกเว้น
- ยกเว้น การเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยผิดนัด, ค่าประเมินราคา, ค่าธรรมเนียม Front End Fee, Management Fee, Prepayment Fee, Cancellation Fee และ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในช่วง 5 แรกตามที่ พรก. กำหนด
- หลักประกันอื่นขั้นต่ำตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
มาตรการที่5
มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ
สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท
- สินเชื่อ Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน หรือ ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 24 เดือน
- สินเชื่อ P/N และ Trade Finance ขยายเวลาชำระหนี้ สูงสุด 6 เดือน
สำหรับวงเงินกู้ 20-500 ล้านบาท
- สินเชื่อ Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 12 เดือน
- สินเชื่อ P/N และ Trade Finance ขยายเวลาชำระหนี้ สูงสุด 6 เดือน
มาตรการที่6
มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้
หลักการพิจารณารับโอนทรัพย์ชำระหนี้ และให้สิทธิซื้อทรัพย์คืนในอนาคต*
ราคาซื้อคืน = ราคารับโอน + ต้นทุนการถือครองทรัพย์ (Carrying Cost) 1 % ต่อปี + ค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง -ค่าเช่าทรัพย์หลังตีโอนที่ลูกค้าชำระมาแล้ว
มาตรการที่ 7
โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจธุรกิจไทยมั่นคง
ลดการผ่อนชำระ
ตามความสามารถของลูกค้า
ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้
ตามความเหมาะสม
เสริม
สภาพคล่อง
ตามศักยภาพของลูกค้า
ที่มา: ธนาคารกรุงไทย