ลดค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2568 จากกรณีที่เมื่อวันอังคารที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ที่ประชุม ครม.ได้มีมติลดค่าธรรมเนียม 2 ประเภทดังนี้
- ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ จากเดิมอัตรา 2% ลดลงเหลือ 0.01%
- ค่าจดทะเบียนการจำนวนจากเดิม 1% เหลือเพียง 0.01%
มาตรการลดค่าธรรมเนียมครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทใดบ้าง
- บ้านเดี่ยว
- บ้านแฝด
- บ้านแถว
- อาคารพาณิชย์
- ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
- ห้องชุดในอาคารชุด ที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท พร้อมทั้งวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อสัญญา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีขายเฉพาะส่วน
มาตรการลดค่าธรรมเนียม โอน - จดจำนอง บ้าน – คอนโด มีผลบังคับเมื่อไหร่
- มาตรการค่าธรรมเนียม โอน - จดจำนอง มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่กฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569
ค่าธรรมเนียมในการโอนมีค่าอะไรบ้าง
รัฐบาลมีนโยบายปรับลดค่าธรรมเนียมเหลือเพียง 0.01% เพื่อกระตุ้นการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ และคอนโด
- ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมิน และวงเงินจำนอง จะต้องไม่เกิน 7 ล้านบาท ต่อสัญญา (ไม่รวมกรณีการซื้อ-ขายเฉพาะส่วน)
- ผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
- จะต้องโอนและจดจำนองในครั้งเดียวกัน เพื่อให้ได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียมการจดจำนอง
- จะต้องโอนและจดจำนอง ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2569 เท่านั้น
ลดค่าธรรมเนียม 0.01 กรมที่ดิน 2568
แต่หากราคาซื้อ-ขายมีมูลค่ามากกว่า 7 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมในการโอนจะถูกคิดเป็น 2% ของราคาประเมินเช่นเดิม
ค่าจดจำนอง
สำหรับการซื้อ-ขายแบบจดจำนอง ตามปกติจะถูกคิดค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่า แต่ในปี 2568 ค่าจดจำนองถูกปรับลดลงเหลือเพียง 0.01% โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ และคอนโด
- ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมิน และวงเงินจำนอง จะต้องไม่เกิน 7 ล้านบาท ต่อสัญญา (ไม่รวมกรณีการซื้อ-ขายเฉพาะส่วน)
- ผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
- จะต้องโอนและจดจำนองในครั้งเดียวกัน เพื่อให้ได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียมการโอน
- จะต้องโอนและจดจำนอง ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2569 เท่านั้น
แต่หากราคาซื้อ-ขายมีมูลค่ามากกว่า 7 ล้านบาท ค่าจดจำนองจะถูกคิดเป็น 1% ของราราคาประเมินเช่นเดิม
ตัวอย่างการคำนวณค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง
กรณีบ้านพร้อมที่ดินมูลค่า 7 ล้านบาท และ วงเงินจำนอง 7 ล้านบาท
ค่าจดทะเบียน
- การโอน : ปกติ 140,000 (2%) ตามมาตรการ 700 (0.01%)
- การจำนอง : ปกติ 70,000 (1%) ตามมาตรการ 700 (0.01%)
- รวม : ปกติ 210,00 บาท ตามมาตรการ 1,400 บาท
ลดค่าธรรมเนียมจดจำนอง 2568 กรมที่ดิน
ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได
- โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาที่ถือครอง ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
ค่าอากรแสตมป์ คิดเป็น 0.5% ของราคาขายหรือราคาประเมิน
- โดยเลือกใช้ราคาที่สูงกว่าในการคำนวณ
- ทั้งนี้ หากมีการเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ คิดเป็น 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมิน
- โดยเลือกใช้ราคาที่สูงกว่าในการคำนวณ
- อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถือครองที่ดินเกิน 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะได้รับการยกเว้น แต่ต้องชำระค่าอากรแสตมป์แทน
ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ได้แก่
- ค่าคำขอ 5 บาท
- ค่าอากรคู่ฉบับ 5 บาท
- ค่าพยาน 20 บาท
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ต้นฉบับ
- โฉนดที่ดิน, น.ส.3., น.ส. 3 ก., น.ส.3 ข. หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด, หลักฐานการเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง
- หลักฐานการได้มาซึ่งที่ดิน เช่น คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (ในกรณีดำเนินการทางศาล) และมีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองสำเนา หลักฐานสำหรับบุคคลธรรมดา เช่นบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว -ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- ใบมรณบัตรของคู่สมรส (ถ้ามี)
- ทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกหลังทะเบียนการหย่า (ถ้ามี)
- หนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรสให้ทำนิดิกรรม (ถ้ามี)
- พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
หลักฐานสำหรับนิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนได้แก่
- รายงานการประชุมของนิติบุคคล พร้อมสำเนารับรองความถูกต้อง
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
- หลักฐานสำหรับนิติบุคคลอื่น ๆ เช่น สมาคม มูลนิธิ สหกรณ์ เป็นต้น ที่ไม่ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้แก่
- หนังสือรับรองนิติบุคคล
- เอกสารการจัดตั้งนิติบุคคล
- ข้อบังคับของนิติบุคคล
- บัญชีรายชื่อสมาชิก
- รายงานการประชุมของนิติบุคคล พร้อมสำเนารับรองถูกต้อง
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
- กรณีมอบอำนาจ
- หนังสีอมอบอำนาจ (ต้นฉบับ)
- บัตรประจำตัวบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ผู้มอบอำนาจรับรองความถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ถ่ายเอกสาร) ที่ผู้มอบอำนาจรับรองความถูกต้อง
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ต้นฉบับ)
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (ต้นฉบับ)
3 ขั้นตอนเมื่อไปถึงสำนักงานที่ดิน
ขั้นตอนที่1
- ติดต่อ "เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์" ของสำนักงานที่ดิน
- เพื่อขอคำแนะนำ
- ตรวจสอบหลักฐานเอกสารต่าง ๆ รับบัตรคิวตามลำดับก่อนหลัง
ขั้นตอนที่ 2
- ยื่นเอกสารหลักฐานสารต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนตามช่องทางต่างๆที่ระบุไว้ในบัตรคิว
- รับคำขอและสอบสวนคู่กรณีตามลำดับในบัตรคิว
- ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน สารบบที่ดิน และ หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรือหนังสือกรรมสิทธิห้องชุด
- ตรวจอายัด
- ประเมินราคาทุนทรัพย์สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
- ทำสัญญาหรีอบันทึกข้อตกลง และ แก้ทะเบียนในโฉนดที่ดิน
- คู่กรณีลงนามในสัญญาหรือบันทึกข้อตกลง
ขั้นตอนที่ 3
- คำนวณค่าธรรมเนียมภาษีอากรต่าง ๆ
- ชำระค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่าง ๆ
- เรียกคู่กรณีสอบสวนก่อนจดทะเบียน
- ตรวจสอบเรื่องทั้งหมด
- เจ้าพนักงานที่ดินลงนามจดทะเบียนในสัญญาหรือบันทึกข้อตกลง และ ลงนามในโฉนดที่ดิน
- ประทับตรา
- แจกโฉนดที่ดิน, น.ส.3, น.ส. 3ก., น.ส. 3ข.หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด และ สัญญา
- ผู้ขอตรวจสอบความถูกต้องในโฉนดที่ดิน น.ส.3, น.ส.3 ก.,น.ส.3 ข. หนังสือกรรมสิทธิห้องชุดและสัญญาว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น ชื่อตัว-ชื่อสกุล อายุ ชื่อบิดา มารดา ที่อยู่ ก่อนกลับ ฯลฯ ถ้าชำระเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค ในกรุงเทพมหานครสั่งจ่าย"กระทรวงการคลัง" ในจังหวัดอื่นสั่งจ่าย "กระทรวงการคลังผ่านสำนักงานคลัง.........." และนำส่งเช็คให้เจ้าหน้าที่การเงินตรวจสอบก่อน.
ที่มา: