นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หนึ่งในมาตรการที่กระทรวงฯกำลังจะดำเนินการเพื่อเซฟ (Save) ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) คือการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ เพื่อตรวจจับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย โดยคาดว่าจะสามารถนำมาใช้อย่างเป็นทางการได้ในอีกไม่นาน
อย่างไรก็ดี ล่าสุดกระทรวงฯ ได้ดำเนินการยกระดับการเข้มงวดบังคับใช้กฎหมายกับการจัดระเบียบอุตสาหกรรมไทย กับโรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกติกา
โดยได้ดำเนินการร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาทราฟฟี่ฟองดูว์ (Traffy Fondue) ในการจัดทำช่องทางร้องเรียนออนไลน์ของกระทรวงอุตสาหกรรมภายใต้ชื่อ แจ้งอุต ที่จะเป็นตัวกลางระหว่างประชาชนกับกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นการเพิ่มช่องทางแจ้งเรื่องและตามติดสถานะของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมแบบทันใจยกระดับการมีส่วนร่วมภาคประชาชน
“การดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้สะอาด โปร่งใส และเพิ่มประสิทธิภาพให้ภาครัฐโดยการใช้เทคโนโลยีที่อำนวยให้ข้าราชการทำงานง่ายขึ้น อย่าง AI ที่ช่วยเจ้าหน้าที่ประเมินสถานการณ์ แนะนำแนวทางการแก้ปัญหาอัตโนมัติ เพื่อลดระยะเวลาทำงาน”
โดยกระทรวงฯเอาจริงกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมทั้งการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้การประกอบกิจการเป็นเรื่องง่าย (Ease of Doing Business) และเพิ่มความคล่องตัวสำหรับประชาชนทั่วไปในการติดต่อกับกระทรวง
อย่างไรก็ดี ช่วงที่ผ่านมากระทรวงฯเข้มงวดบังคับใช้กฎหมายกับการจัดระเบียบอุตสาหกรรมไทย กับโรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกติกา ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 สินค้าไม่ได้มาตรฐานมากมายยังแทรกซึมในตลาด
“ต้องยอมรับว่ากำลังพลของข้าราชการอุตสาหกรรมอาจจะมีไม่เพียงพอ จึงต้องการให้แจ้งอุตซึ่งเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยรับฟังเสียงจากประชาชนที่เดือดร้อน เพื่อแก้ปัญหา อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน ในการต่อสู้เพื่อพังวงจรอุตสาหกรรมสีเทา โรงงานเถื่อน เอาผิดผู้ประกอบการไร้ความรับผิดชอบ ลักลอบฝังขยะอันตราย ปิดตายสินค้าข้ามชาติราคาถูกที่ไร้มาตรฐาน ช่วยกันพลิกฟื้นอุตสาหกรรมไทยให้สะอาด โปร่งใส ไม่ให้มีอะไรซุกใต้พรม“
นายเอกนัฏ กล่าวอีกว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการผลักดันผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีให้โตอย่างน้อย 1% โดยจะเป็นการทำให้โรงงาน หรือผู้ประกอบกิจการแบบโปร่งใสได้ทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี ล่าสุดได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณ 20 ล้านบาทจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เพื่อยกระดับศักยภาพของเอสเอ็มอี (SMEs) ไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และเติบโตอย่างยั่งยืน
โดยดำเนินการผ่านโครงการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี ซึ่งจะประกอบด้วย 4 โครงการย่อย ที่ครอบคลุมความต้องการของ SMEs ประกอบด้วย