นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) ในฐานะโฆษกกระทรวงดีอี เปิดเผยผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 10 – 16 มกราคม 2568 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 837,172 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 510 ข้อความ
ทั้งนี้ ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 474 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 30 ข้อความ ช่องทาง Website จำนวน 3 ข้อความ และช่องทาง Facebook จำนวน 3 ข้อความ
รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 207 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 64 เรื่อง โดยในจำนวนนี้เป็นข่าวปลอมเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ประกอบด้วย
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุด จาก 10 อันดับข้างต้น พบว่าเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับโครงการสวัสดิการของรัฐบาล โครงการสินเชื่อของธนาคารรัฐ การชักชวนให้ลงทุนร่วมกับหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ โดยอาจส่งผลให้ประชาชนที่สนใจเกิดความเข้าใจผิด
ซึ่งมีผลกระทบต่อทั้งตัวบุคคลที่เชื่อ และแชร์ข้อมูลส่งต่อกันไป อาจส่งผลกระทบต่อเป็นวงกว้าง เกิดความสับสน และอาจทำให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ สร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและข้อมูลส่วนบุคคลได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับประชาชนทั่วประเทศเป็นวงกว้าง หากมีการแชร์ส่งต่อกันไปในสังคม
สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “ทางรัฐ เปิด TikTok thangratnew สำหรับแจ้งข่าวสวัสดิการแห่งรัฐ” กระทรวงดีอี ได้ประสานงานตรวจสอบร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) หรือ DGA สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า บัญชี Tiktok ดังกล่าว ไม่ใช่บัญชีของ DGA