นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า สืบเนื่องจาก ศ.ดร. นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 1/2568 ภายหลังการพบการใช้สาร Basic Yellow 2 ในทุเรียน ซึ่ง รมว.เกษตร ได้สั่ง Set Zero สารปนเปื้อนในผลไม้ พร้อมวางมาตรการใหม่ภายใน 10 วัน ลุยตรวจเข้ม ยกระดับคุณภาพ และความปลอดภัยผักผลไม้ไทย สร้างความมั่นใจตลาดส่งออก
“ในการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ห้ามใช้ในทุเรียน วันที่ 14 มกราคม 2568 จึงได้เรียกประชุมคณะกรรมการตรวจสอบจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรทางสื่อออนไลน์ เพื่อยกระดับการควบคุม/ติตตาม การขายวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ผิดกฎหมาย ทางสื่อออนไลน์ รวมถึงความเข้มข้น ในการควบคุมวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่นำเช้ามาจากต่างประเทศ มาขายในสื่อออนไลน์ และร้านค้าทั่วไป”
นายรพีภัทร์ กล่าวถึงการขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ผิดกฎหมาย ห้ามใช้งานในประเทศ ซึ่งตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร และสารวัตรเกษตร ตรวจตราร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างเข้มงวดทั้งออนไลน์และร้านค้าทั่วไป หากพบผู้กระทำความผิดให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
“เนื่องจากในปัจจุบันการจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรมีการโฆษณาและขายในสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง เป็นปัญหาในการควบคุม กำกับ เนื่องจากส่วนมากมีการระบุตัวตนหรือสถานที่ตั้งไม่ชัดเจน การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อทำการสืบสวนข้อมูลเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร กรมวิชาการเกษตร”
เพื่อให้การควบคุมกำกับปัจจัยการผลิตทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวนทางกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายโดยตรง ได้แก่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือกองคดีคุ้มครองผู้บริโภคกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และ
ตลอดจน การประสานงานกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเพื่อควบคุมการโฆษณาขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรทางสื่อออนไลน์ ไม่ให้มีการกระทำผิดตามกฎหมาย จนทำให้เกิดความเสียหายกับเกษตรกรจึงได้จัดการประชุมประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรทางสื่อออนไลน์ เพื่อกำหนดแนวทางการบูรณาการ การทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากการบังคับใช้ กฎหมายการควบคุม กำกับปัจจัยการผลิตทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและจะนำระบบ AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจควบคุมการจำหน่ายปัจจัยผลิตทางการเกษตรออนไลน์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่ากรมวิชาการเกษตร ได้แจ้ง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือกองคดีคุ้มครองผู้บริโภคกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และการประสานงานกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหน่วยเฉพาะกิจพญานาคราชร่วมแรงร่วมใจกันควบคุม/กำกับดูแล ในการงดใช้สารชุบเติมแต่งสีในกระบวนการผลิตทุเรียนในการส่งออกไปยังประเทศจีน
ตามเงื่อนไข ที่ประเทศจีนกำหนด และร่วมเป็นหูเป็นตา ช่วยกันสอดส่อง แจ้งเบาะแส ผู้กระทำความผิด ทั้งโรงงานที่ลักลอบผลิตเถื่อน รวมถึงร้านค้าที่ลักลอบขายปัจจัยการผลิตที่ผิดกฎหมายทั้งร้านค้าที่มีแหล่งที่ตั้งชัดเจน และร้านค้าออนไลน์ มายังสายตรงกรมวิชาการเกษตร 085-826-3561 เพื่อกรมวิชาการเกษตร จะได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัดต่อไป