อีสานคึกคัก “อลงกรณ์” ประกาศยกระดับโคราชเป็นฮับอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร

23 ก.ย. 2565 | 14:30 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ย. 2565 | 21:30 น.

“อลงกรณ์” ประกาศยกระดับโคราชเป็นฮับอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร กลุ่ม”นครชัยบุรินทร์”ควบคู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนทุกตำบลพร้อมเดินหน้านโยบาย “ประกันรายได้เกษตรกร” ปีที่4 ผนึกท้องถิ่นเร่งแก้ไขปัญหาที่ดินพัฒนาแหล่งน้ำและการประกอบอาชีพเกษตร

อีสานคึกคัก “อลงกรณ์” ประกาศยกระดับโคราชเป็นฮับอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เผยหลังจากลงพื้นติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ถึงโอกาสการยกระดับศักยภาพของจังหวัดนครราชสีมาและกลุ่มจังหวัด”นครชัยบุรินทร์”(นครราชสีมา-ชัยภูมิ-บุรีรัมย์-สุรินทร์)ยสนับสนุนให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเกษตรอาหารภายใต้การขับเคลื่อนโครงการ”1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร”

 

 

โดยคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ.กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)ซึ่งวางเป้าหมายสนับสนุนส่งเสริมให้ครบ18กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศเพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ของการแปรรูปสู่เกษตรมูลค่าสูงกระจายการลงทุนการะจายโอกาสกระจายรายได้ลดความเหลื่อมล้ำแก้ปัญหาหนี้สินความยากจนมุ่งพัฒนาทุกจังหวัดทุกภูมิภาคอย่างเท่าเทียม

 

อีสานคึกคัก “อลงกรณ์” ประกาศยกระดับโคราชเป็นฮับอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร

 

พร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล7,255ตำบลทั่วประเทศรวมถึง289ตำบลใน32อำเภอของจังหวัดนครราชสีมาเป็นกลไกการปฏิรูปภาคเกษตรเชิงลึกของกระทรวงเกษตรฯ.เป็นครั้งแรกของประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน และเพื่อชุมชน”บูรณาการทำงานร่วมกับ อบต. กำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครเกษตร สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาพลเมืองเศรษฐกิจพอเพียงแห่งชาติ ศพก. เกษตรแปลงใหญ่สหกรณ์ เกษตรกรรุ่นใหม่

 

 

กลุ่มแม่บ้านเกษตร วิสาหกิจชุมชน ปลัดอำเภอ เกษตรตำบลผนึกพลังภาครัฐภาคเอกชนและทุกภาคส่วนในตำบลหมู่บ้านประสานกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโดยมีคณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล ทำหน้าที่จัดทำและขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรแบบยั่งยืนระดับตำบล

 

 

โดยนายอลงกรณ์ได้ยกตัวอย่างและแสดงความชื่นชม ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร(ศพก.)อำเภอห้วยแถลง มีนายสุบรร อันอินทา เป็นประธานศูนย์ฯเป็นศูนย์ที่ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (ข้าวและพืชผัก) มีจุดเด่นในด้านการลดต้นทุนการผลิตเช่นใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพในการแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีแพงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรึกษารัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า รัฐบาลโดยพรรคประชาธิปัตย์ยังเดินหน้านโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี2562เป็นต้นมาจนเข้าปีที่4ในปีนี้ซึ่งมีเกษตรกรหลายล้านคนได้รับเงินหลายแสนล้านบาทจากโครงการดังกล่าว

 

นอกจากนี้ นายอลงกรณ์และคณะยังได้เปิดเวทีรับฟังปัญหาการผลิตการตลาดและข้อเสนอแนะจากเกษตรกรหลายกลุ่มเช่นกลุ่มปศุสัตว์ได้แก่ เกษตรแปลงใหญ่โคเนื้อโคขุน กลุ่มเลี้ยงแพะ กลุ่มไก่เนื้อโคราช อำเภอห้วยแถลง ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา มีโคเนื้อ จำนวน 247,242 ตัว โคนม จำนวน  53,352 ตัว กระบือ จำนวน  70,542 ตัว  โดยอำเภอห้วยแถลง นั้น มีโคเนื้อ จำนวน 34,261 ตัว กระบือ จำนวน 6,970 ตัว รวมทั้งกลุ่มปัญหาที่ดินทำกิน

 

 

 

จากนั้น ในช่วงบ่ายนายอลงกรณ์และคณะได้เดินทางไปยังอ่างเก็บน้ำลำฉมวก อำเภอจักราช เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยมี นายธงชัย โอฬารพัฒนะชัย นายอำเภอจักราชกล่าวรายงานสถานการณ์ในพื้นที่ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญบ้าน อสม. ประชาชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ โครงการอ่างเก็บน้ำลำฉมวก มีความจุของอ่าง ที่ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 29.594 ล้าน ลบ.ม. ความจุของอ่าง ที่ระดับน้ำเก็บกัก อยู่ที่ 23.445 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทาน 11,969 ไร่ จากการลงพื้นที่พบว่าอ่างเก็บน้ำมีความตื้นเขิน ควรมีการขุดลอกอ่างเพิ่มปริมาณความจุเพื่อเก็บกักน้ำช่วงฤดูฝนและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

 

อีสานคึกคัก “อลงกรณ์” ประกาศยกระดับโคราชเป็นฮับอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร

 โดยได้ประสานงานกับสำนักงานชลประทานที่8และชลประทานจังหวัดอนุมัติการขอใช้น้ำจากอ่างลำฉมวกสำหรับระบบประปาของอำเภอจักราชตามที่นายอำเถอจักราช ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านโดยการประสานของกำนันสมศักดิ์ พานิชกุล ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน 3 อำเภอ(ห้วยแถลง จักราช เฉลิมพระเกียรติ)เป็นผู้ประสานงาน พร้อมทั้งมอบหมายให้ประมงอำเภอจักราชดำเนินการหาพันธ์ุปลาพันธ์ุกุ้งมาปล่อยในอ่างลำฉมวกตามที่ราษฎรร้องขอรวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งสั่งการให้กรมชลประทานศึกษาโครงการแก้มลิงพื้นที่กว่า 600 ไร่ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มเติมโดยเร็วอีกด้วยทำให้ประชาชนและผู้นำท้องถิ่นปรบมือและขอบคุณด้วยความพอใจอย่างมาก.